กรมการแพทย์ออกแนวทางให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เร็วที่สุดเมื่อผู้ป่วยมีอาการ

กรมการแพทย์ ได้ออกแนวทางเวชปฏิบัติ ในการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อวานนี้ ( 21 ก.ค. ) โดยเฉพาะประเด็นของการให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิด-19 โดยแนวทางมี 4 กรณีคือ 1.…

Home / โควิด-19 / กรมการแพทย์ออกแนวทางให้ยาฟาวิพิราเวียร์ เร็วที่สุดเมื่อผู้ป่วยมีอาการ

กรมการแพทย์ ได้ออกแนวทางเวชปฏิบัติ ในการวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อของผู้ป่วยโควิด-19 โดยมีการปรับปรุงล่าสุดเมื่อวานนี้ ( 21 ก.ค. ) โดยเฉพาะประเด็นของการให้ยาฟาวิพิราเวียร์กับผู้ป่วยโควิด-19 โดยแนวทางมี 4 กรณีคือ

1. ผู้ติดเชื้อ COVID-19 ไม่มีอาการอื่น ๆ หรือสบายดี (Asymptomatic COVID-19)

ในกลุ่มนี้ จะเน้นให้กักตัว และยังไม่มีการให้ยาต้านไวรัส เนื่องจากผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ จะเป็นกลุ่มที่สามารถหายได้เอง และเพื่อเลี่ยงการได้รับผลข้างเคียงจากยา ซึ่งอาจจะมีการพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจร ในกลุ่มนี้แทน โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเปนโรครุนแรง /โรคร่วมสาคัญ

กลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มที่มีการปรับให้มีการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ โดยเริ่มให้ยาเร็วที่สุด เมื่อมีอาการ ซึ่งหากตรวจพบเชื้อเกิน 7 วัน และไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย อาจจะยังไม่จำเป็นต้องให้ย้าต้านไวรัส เพราะกลุ่มนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

3. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเปนโรคร ็ นแรง ุ หรือมีโรคร่วมสําคัญ

สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการจะเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือมีอาการปอดบวมเล็กน้อย จะแนะนำให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้เร็วที่สุด เป็นระยะเวลา 5วันหรือมากกว่า ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

นอกจากนี้ ยังให้พิจารณาให้ยา corticosteroid ร่วมกับยาฟาวิพิราเวียร์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการและมีผลการเอ็กเรย์ปอดที่แย่ลง

4. ผู้ที่มีอาการรุนแรง

ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดบวม มี hypoxia (resting O2 saturation ≤96 %) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 ≥3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง (exercise-induced hypoxemia) หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

  • แนะนําให้ favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน ขึ้นกับอาการทางคลนิิก
  • อาจพิจารณาให้ lopinavir/ritonavir 5-10 วัน ร่วมด้วย (ตามดุลยพินิจของแพทย์)
  • แนะนําให้ corticosteroid

ผู้ป่วยกักตัวที่บ้าน/กักตัวในชุมชนจะได้ยาเร็วขึ้น

จากการปรับแนวทางดังกล่าว ทำให้คาดว่า กลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการแยกกักตัวที่บ้าน หรือ home isolation และการแยกกักในชุมชน ( Community Isolation) จะสามารถเข้าถึงยาฟาวิพิราเวียร์ ได้เร็วขึ้น ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการ ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น ลดการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลได้มากขึ้น

ที่มา – กรมการแพทย์