ประเด็นน่าสนใจ
- “นิด้า” ขานรับยุทธศาสตร์ชาติ ลดเหลื่อมล้ำในสังคม จับมือ 2 คอร์ปอเรท ร่วมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชน ชนบทที่ขาดแคลนเงินทุนมีโอกาส เข้าถึงน้ำประปาคุณภาพอาศัยกลไก ซีเอสอาร์ขององค์กรธุรกิจเอกชน
- พร้อมส่งต่อเทคโนโลยีดังกล่าวไปสู่ชนบทห่างไกล
นวัตกรรมระบบผลิตน้ําประปาในชื่อ “ป๊อกแทงค์ (Pog Tanks)” และเอสแทงก์” เป็นนวัตกรรมการกรองที่สามารถติดตั้งร่วม กับระบบประปาเก่า กรองได้ทั้งน้ําบาดาลและ น้ําผิวดิน ช่วยลดค่าบํารุงรักษาและก่อสร้าง 30-40% คิดค้นพัฒนาโดยบริษัท คิดพร้อมทํา จํากัดผ่านการตรวจรับรองความเป็นนวัตกรรม จากสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งชาติ (สวทช.) ให้เข้าสู่รายการบัญชีนวัตกรรม ไทยเรียบร้อยแล้วทั้งสองรายงาน
ผศ.ประดิษฐ์ วิธิศุภกร ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยขีดความสามารถในการแข่งขัน สํานักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) กล่าวในงาน “The Next Water Innovations : นวัตกรรมระบบประปาหมู่บ้านรูปแบบใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชน” ว่าระบบผลิตน้ำประปาป้อนครัวเรือนทั้งประปาในเมืองและประปาชนบท มีจุดอ่อนคือเมื่อผ่านไป 1-2 ปีคุณภาพของน้ำที่ผลิตได้เริ่มด้อยลง มีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์เพราะขาดการดูแลรักษา
อีกทั้งการออกแบบไม่ได้มองถึงการ ใช้งานล่วงหน้าระยะยาว 20-30 ปี ทําให้ต้องซ่อมบํารุงบ่อยรวมเป็นค่าใช้จ่ายหลายล้านบาท แต่หากการคิดค้นนวัตกรรมหรือ ระบบที่ซ่อมบํารุงได้ง่าย ก็จะสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ อีกทั้งส่งผลตอบแทนทางอ้อมในด้านสุขภาพของประชาชนที่ได้ดื่มน้ําสะอาด ที่มีคุณภาพอีกด้วยจึงร่วมกับสมาคมพัฒนา อสังหาริมทรัพย์ไทยดําเนินโครงการแก้ไขปัญหาระบบคุณภาพน้ําประปาชุมชน และมีโอกาสรับรู้ถึงนวัตกรรมป๊อกแทงค์ ที่จะ ตอบโจทย์ปัญหาดังกล่าวได้
ศิวพงศ์ เลือนราม กรรมการผู้จัดการ บริษัท คิดพร้อมทํา จํากัด กล่าวว่า จากการ สํารวจพบว่าครัวเรือนไทยเข้าถึงน้ำสะอาด เพียง 30% จากการประปานครหลวงและ การประปาภูมิภาค ในขณะที่อีก 70% พึ่งพา การประปาหมู่บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่คุณภาพน้ําไม่ได้มาตรฐานมีการปะปนของสนิมเหล็กน้ำขุ่นจากตะกอนไม่สามารถนํามาใช้อุปโภคบริโภค โดยที่ผ่านมาประชากรโลกเสียชีวิตจากการ ดื่มน้ำไม่สะอาดปีละ 5 แสนคน ส่วนไทย พบป่วยปีละกว่า 1 ล้านคนโดยสาเหตุหลักมาจากท้องถิ่นไม่มีบุคลากรในการดูแลรักษาอุปกรณ์และระบบกรองมักเกิดปัญหา ส่งผลให้ชาวบ้านเลิกใช้งานจนทําให้ระบบประปาหมู่บ้านถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาในการคิดค้นนวัตกรรม ป๊อกแทงค์
-
ประปาชุมชนราคาประหยัด
นวัตกรรม ป๊อกแทงค์ ที่ใช้เวลาก่อสร้างเพียง 120 วัน อายุการใช้งานถึง 20 ปี มีระบบระบายตะกอนโดยไม่ต้อง หยุดทํางาน ตรวจสอบได้ 100% เนื่องจาก กระบวนการผลิตอยู่บนดิน โดยมีกําลังการผลิตอยู่ที่ 2.5-10 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อยกว่าระบบเดิม 70%
ฟังก์ชันการใช้งานประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.ถังอเนกประสงค์ ACFS รวมกระบวนการทั้งหมดทั้งเติมอากาศ ตกตะกอน กรอง(แบบ ร่างขึ้นบน) และถังกักเก็บน้ำในตัว ทําให้ ได้น้ำสะอาดภายในถังเดียว 2.โรงสูบน้ำ สําเร็จรูป PnP ซึ่งเป็นโรงควบคุมการทํางาน ของระบบโดยอัตโนมัติโดยสูบน้ำจากแหล่ง น้ำดิบเติมอากาศเบื้องต้นและเติมเคมีปรับ สภาพน้ําในท่อสุญญากาศเพื่อเร่งปฏิกิริยา ในการทําให้น้ําสะอาด อีกทั้งมีเซนเซอร์ ตรวจจับความเสียหายต่างๆ 3.หอถังสูง SFX เป็นหอเก็บน้ําเพื่อเตรียมจ่ายจะมีระบบกรองซ้ําเพื่อตอกย้ําคุณภาพก่อน น้ําจ่ายสู่ประชาชนในลําดับต่อไป
ทั้ง ป๊อกแทงค์และเอสแทงก์ได้ผ่านเกณฑ์ มาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกรมทรัพยากรน้ำ พร้อมทั้งขึ้นทะเบียน บัญชีนวัตกรรมไทยเมื่อ พ.ย. 2560 ในหมวด ครุภัณฑ์ก่อสร้างโดยมีราคาจําหน่ายเริ่มต้นที่ 6 แสนบาท ส่วนใหญ่ฐานลูกค้าเป็นองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นและชุมชน ปัจจุบันติดตั้งในพื้นที่ชุมชนภาคใต้ไปแล้วกว่า 10 ระบบ
-
สะพานเชื่อมอุปสงค์อุปทาน
นิวัฒน์ ตั้งก้องเกียรติ กรรมการ บริหาร บริษัท ยูนิเวอร์ซัล โฮลดิ้ง จํากัด กล่าวว่า บริษัทจะช่วยเติมเต็มในเรื่องของ การเข้าถึงนวัตกรรมระบบประปาให้กับกลุ่ม เป้าหมายที่มีความจําเป็นแต่ติดปัญหาด้าน งบสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็น องค์การบริหาร ส่วนตําบลหรือชุมชน โดยจะทําหน้าที่เป็น คนกลางเชื่อมโยงความต้องการของชุมชน กับองค์กรธุรกิจเอกชนที่มีนโยบายด้าน ซีเอสอาร์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับ องค์กร นับเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต ของชาวบ้านได้เป็นอย่างดี โดยไม่ต้องรอการจัดสรรงบประมาณจากภาครัฐอีกต่อไป
โครงการความร่วมมือครั้งนี้ จึงเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ในการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคมให้ประชาชนในชนบทมีสิทธิเข้าถึงระบบ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน อย่างน้ำประปาที่ สะอาดและมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน