Antigen Test Kit CI-Hospitel Community Isolation Home Isolation กักตัวที่บ้าน ตรวจ ATK ผู้ป่วยโควิด-19 โควิด-19

เเนวทางเข้าระบบ CI-Hospitel จากการตรวจ ATK เป็นผลบวก

ผู้มีผลตรวจ ATK เข้าข่ายผลบวก สามารถส่งต่อระบบ Home Isolation โดยไม่จำเป็นต้องทำ RT-PCR ซ้ำ

Home / NEWS / เเนวทางเข้าระบบ CI-Hospitel จากการตรวจ ATK เป็นผลบวก

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • สธ. ระบุ ผู้ติดเชื้อจากการยืนยันผล ATK ต้องการเข้า CI-Hospitel ต้องเซ็นยินยอมควบคู่ตรวจ RT-PCR คู่ขนานทีหลัง
  • สาเหตุจากผลตรวจ ATK อาจให้ผลบวกลวงได้ 3-5 %
  • ผู้มีผลตรวจ ATK เข้าข่ายผลบวก สามารถส่งต่อระบบ Home Isolation โดยไม่จำเป็นต้องทำ RT-PCR ซ้ำ
  • การให้แยกกักที่บ้านก่อนครบ 14 วัน หมอเเละพยาบาลจะคอยติดตามอาการด้วยเทเลเมดิซีน รวมถึงมีอาหาร มียา ให้กับผู้ป่วย

สธ. เผย ผู้ติดเชื้อจากการยืนยันผล ATK ต้องการเข้า CI-Hospitel ต้องเซ็นยินยอมควบคู่ตรวจ RT-PCR คู่ขนานทีหลัง

วันนี้ (6 ส.ค. 64) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวถึงแนวทางปฏิบัติ การตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen test kit (ATK) เพื่อเข้าสู่ระบบ Home Isolation (HI) และ Community Isolation (CI) ว่า พื้นที่ กทม. มีตัวเลขผู้ติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มขึ้น จากการที่กระทรวงสาธารณสุข ส่งทีมค้นหาเชิงรุกในชุมชน

ซึ่งขณะเดียวกันพบปัญหาในหน้างานว่า ผู้ติดเชื้อที่มีผลบวก จากการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK จะต้องมีการตรวจ RT-PCR หรือส่งเข้าสู่ระบบ HI และ CI หรือไม่ จนได้ข้อสรุปแล้ว ว่า ยืนยันว่า ผู้มีผลตรวจ ATK ซึ่งในทางระบาดวิทยาให้เรียกว่าผู้ติดเชื้อเข้าข่าย ผลบวก สามารถส่งต่อระบบ HI โดยไม่จำเป็นต้องทำ RT-PCR ซ้ำ

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า หากจะเข้าไปในสถานที่อื่นๆ เช่น Hospital ,Hospitel รวมทั้ง CI ที่กทม.มีศูนย์พักคอย 50-60 แห่ง จะทำให้ไปปะปนกับกลุ่มที่ได้รับการยืนยันว่า เป็นผู้ติดเชื้อแล้ว เพราะผลจาก ATK ซึ่งอาจให้ผลบวกลวง 3-5 %ได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องตรวจ RT-PCR คู่ขนานด้วย และเพื่อไม่ให้ RT-PCR เป็นตัวหน่วงรั้งการรับรักษา ก็ให้รับเข้าใน Hospital Hospitel รวมทั้ง CI

สาเหตุที่ผู้ติดเชื้อจากการตรวจ ATK ต้องเซ็นยินยอม ก่อนเข้า CI-Hospitel

ผู้ติดเชื้อเข้าข่ายจากการตรวจ ATK จะต้องยินยอม และ เซ็นใบยินยอมรับการรักษา และทำ RT-PCR คู่ขนานกันไปด้วย ทั้งนี้ได้มีการคุยกับทางสำนักอนามัย กทม.แล้วว่าให้รับเข้า CI ได้ พร้อมทั้งเพื่อลดปัญหาได้เตรียมให้ แล็บเอกชนมาทำระบบตรวจ RT-PCR ที่หน้างาน

อีกทั้งยืนยันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ที่มีผลตรวจ ATK เจออุปสรรคต่อการรักษา ต้องไม่ให้ผู้มีผลตรวจไปปะปนกัน จึงจะพยายามแยกผู้ป่วยระหว่างรอผล RT-PCR เพราะผลตรวจ ATK อาจให้ผลบวกลวงได้ 3-5 %

ขั้นตอนการเข้ารับการรักษาทั้ง 3 กรณี

  • สำหรับการตรวจที่โรงพยาบาลจะไม่มีปัญหา เพราะทางโรงพยาบาลจะรับได้เลย
  • ส่วนกรณีการตรวจเชิงรุกในชุมชน จะมีการขึ้นทะเบียนผู้ป่วยไว้แล้ว โดยสปสช.จะข้อมูลผู้ติดเชื้อนำไปจับคู่กับคลินิกชุมชน รพ.สต./รพ.ถ้าทำได้จะทำ HI และ CI
  • ส่วนผู้ติดเชื้อที่เกิดจากการตรวจเอง และต้องตรวจจากเทสก์ที่ได้รับการรับรองจาก อย.แล้วให้ถ่ายรูปผลตรวจ ATK ติดต่อที่ 1330 ซึ่งมี 3,000 คู่สายและแอดไลน์เพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษาเช่นกัน ขณะเดียวกันผู้ว่าฯ กทม.ได้ประสานให้ทั้ง 50 เขตของกทม. ทำเบอร์ติดต่อรองรับเขตละ 20 คู่สาย เพื่อให้ประชาชนติดต่อเข้ารักษา และปรึกษากรณี COVID-19 แต่หากฉุกเฉินเร่งด่วนอาการวิกฤตให้ประสาน 1669

เคลียร์ สปสช. เข้าระบบไม่ให้เกิน 48 ชั่วโมง

นพ.สมศักดิ์ ชี้เเจงว่า ขณะนี้กรมการแพทย์ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนกรณีแนวปฏิบัติรองรับ ATK ไปยังโรงพยาบาลต่าง ๆ ส่วนความล่าช้าที่นานถึง 48 ชั่วโมงหรือ 2 วัน หลังจากแจ้งเข้าระบบ 1330 ของ สปสช.แล้ว เนื่องจากมีตัวเลขผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จึงกำลังพยายามเคลียร์ไม่ให้เกิน 48 ชั่วโมง

การแยกกักที่บ้าน ก่อนครบ 14 วัน

นอกจากนี้ นพ.สมศักดิ์ ยังกล่าวถึงกรณีกระทรวงสาธารณสุขปรับหลักเกณฑ์ให้ผู้ป่วยกลับเร็ว ยังไม่ครบกำหนด 14 วันว่าจะมีปัญหาหรือไม่ โดยยืนยันว่า การให้กลับไปนั้น เป็นการแยกกักที่บ้านเรียกว่าเข้าสู่ระบบ HI มีหมอมีพยาบาลติดตามอาการด้วยเทเลเมดิซีน มีอาหาร มียา มีระบบติดตามตลอด ทั้งนี้ ที่ต้องทำเพราะเราพยายามรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ ซึ่งมีเชื้อมากกว่าคนที่อยู่ในโรงพยาบาลสนาม เเละโอกาสแพร่กระจายเชื้อสูงกว่าผู้ผ่านการรักษาไปแล้ว 7-10 วัน ทังนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ