ชนิด mRNA วัคซีนโควิด-19

ศึกษาพบวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ลดเสี่ยงติดเชื้อ 91% หลังฉีดครบโดส

ผลการศึกษาใหม่พบวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) สามารถลดความเสี่ยงติดเชื้อได้ร้อยละ 91 ในหมู่ผู้ฉีดครบโดส

Home / NEWS / ศึกษาพบวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ลดเสี่ยงติดเชื้อ 91% หลังฉีดครบโดส

ประเด็นน่าสนใจ

  • ผลการศึกษาใหม่พบวัคซีนโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) สามารถลดความเสี่ยงติดเชื้อได้ร้อยละ 91 ในหมู่ผู้ฉีดครบโดส
  • โดย อย. ของทางสหรัฐฯ ให้การอนุมัติ ได้แก่ วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค และของโมเดอร์นา
  • ผลการศึกษาอื่น ๆ ชี้ว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ฉีดวัคซีนครบโดสหรือบางส่วนอาจมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในระดับต่ำกว่าปกติ

ผลการศึกษาใหม่พบวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐฯ (FDA) ให้การอนุมัติ ได้แก่ วัคซีนของไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) และของโมเดอร์นา (Moderna) สามารถลดความเสี่ยงติดเชื้อได้ร้อยละ 91 ในหมู่ผู้ฉีดครบโดส

เมื่อวันจันทร์ (7 มิ.ย.) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ (CDC) ระบุว่านี่เป็นการศึกษาฉบับแรกที่เผยว่าวัคซีนชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคโควิด-19 แม้ฉีดวัคซีนครบโดสหรือหรือบางส่วนแล้ว โดยผู้ฉีดวัคซีนครบโดสคือผู้ฉีดวัคซีนโดสสองครบ 14 วันขึ้นไป ขณะผู้ฉีดวัคซีนบางส่วนครอบคลุมผู้ฉีดวัคซีนโดสแรกครบ 14 วันขึ้นไปจนถึงผู้ฉีดโดสสองครบ 13 วัน

ข้อมูลข้างต้นมาจากการศึกษาฮีโรส์-รีคัฟเวอร์ (HEROES-RECOVER) ซึ่งเก็บข้อมูลเพิ่มเติมนาน 4 สัปดาห์ ครอบคลุมบุคลากรทางการแพทย์ เจ้าหน้าที่ฉุกเฉิน ผู้ปฏิบัติงานในแนวหน้า และบุคลากรในภาคที่จำเป็นอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อสูงเนื่องจากมีหน้าที่การงานที่เสี่ยง

“สิ่งที่ค้นพบจากกรอบเวลากว้างๆ ของการศึกษานี้เป็นหลักฐานเพิ่มเติมที่ชี้ว่าวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิดเอ็มอาร์เอ็นเอมีประสิทธิภาพดีและสามารถป้องกันการติดเชื้อส่วนใหญ่ได้ แม้ผู้ที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วจะป่วยเป็นโรคโควิด-19 แต่พวกเขาจะมีอาการน้อยกว่า หายไวขึ้น และมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในระดับต่ำกว่าปกติ” โรเชลล์ วาเลนสกี ผู้อำนวยการของศูนย์ฯ กล่าว พร้อมเสริมว่านั่นเป็นอีกเหตุผลสำคัญที่ทำให้ประชาชนควรไปฉีดวัคซีน

ศูนย์ฯ ระบุว่าผลการศึกษาอื่น ๆ ชี้ว่าผู้ป่วยโรคโควิด-19 ที่ฉีดวัคซีนครบโดสหรือบางส่วนอาจมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นในระดับต่ำกว่าปกติ

ที่มา : Xinhua