ตรวจตา

รพ.เมตตาฯ เผย ควรตรวจตา! อย่างสม่ำเสมอ

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญ การมีดวงตา สายตาที่ปกติทำให้ประกอบภารกิจประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัวและการงานได้อย่างครบถ้วน มีชีวิตที่เป็นสุข สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความสุข อย่างไรก็ตามพบว่าโรคตาหลายชนิดมักเกิดจากโรคซึ่งรักษาได้หากมารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการตรวจตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น…

Home / NEWS / รพ.เมตตาฯ เผย ควรตรวจตา! อย่างสม่ำเสมอ

นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ดวงตาเป็นอวัยวะหนึ่งที่มีความสำคัญ การมีดวงตา สายตาที่ปกติทำให้ประกอบภารกิจประจำวันทั้งเรื่องส่วนตัวและการงานได้อย่างครบถ้วน มีชีวิตที่เป็นสุข สุขภาพจิตดี ครอบครัวมีความสุข

อย่างไรก็ตามพบว่าโรคตาหลายชนิดมักเกิดจากโรคซึ่งรักษาได้หากมารับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นการตรวจตาจึงเป็นสิ่งจำเป็น แม้ยังไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ ได้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ได้รับการวินิจฉัยโรคตาที่ไม่มีอาการเตือนได้แต่เนิ่น ๆ เพื่อการรักษาที่เหมาะสม

แพทย์หญิงสายจินต์ อิสีประดิฐ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้มีอาการผิดปกติทางตา ควรไปพบจักษุแพทย์ทันทีที่มีอาการ สำหรับผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติ ได้แก่ กลุ่มคนปกติกับกลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยงควรได้รับการตรวจเช่นกัน ในกลุ่มคนปกติ คือ เด็กแรกเกิด กุมารแพทย์จะตรวจร่างกายเป็นประจำ ช่วงอายุ แรกเกิดถึง 5 ปี ควรได้รับการตรวจดวงตา สายตา ภาวะตาเข  และป้องกันภาวะตาขี้เกียจ หากตรวจพบการรักษาจะได้ผลดี 

ช่วงอายุ  6 – 20 ปี เป็นช่วงวัยเรียนชั้นประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย มักมีภาวะสายตาผิดปกติอาจสายตาสั้น ยาว หรือเอียง ซึ่งควรได้รับการแก้ไข ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี เป็นวัยเรียนต่อกับวัยทำงาน อาจไม่พบโรคตามากนักนอกจากมีอาชีพที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ ช่วงอายุ 30 – 39 ปี เป็นวัยสายตาเริ่มเปลี่ยนแปลงควรได้รับการตรวจสัก 2 ครั้ง

ส่วนช่วงอายุ 40 – 65 ปี เป็นวัยเริ่มเข้าสู่ผู้สูงอายุ อาจพบโรคตาได้ควรได้รับการตรวจ 1-2 ปีต่อครั้ง และอายุ 65 ปีขึ้นไป มักมีโรคตาที่เสื่อมตามวัยควรตรวจตาปีละครั้ง  กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง ควรตรวจตาอย่างเคร่งครัดตามคำแนะนำ ได้แก่

1.เด็กเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,500 กรัม หรืออายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์

2.ผู้มีปัจจัยเสี่ยงของโรคต้อหิน เช่น สายตาสั้นมาก มีประวัติต้อหินในครอบครัว เคยได้รับการผ่าตัดตามาก่อน

3.ผู้เป็นเบาหวาน  

4.ผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อจอตาฉีกขาดและหลุดลอก ได้แก่ เคยได้รับอุบัติเหตุทางตา สายตาสั้นมาก มีประวัติโรคนี้ในครอบครัว

5.ผู้มีโรคทางกายที่ต้องใช้ยาบางตัวต่อเนื่อง เช่น ยารักษาวัณโรค ยารักษาโรคข้อ เป็นต้น