รายงาน อัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2564 (Salary Report 2021) จาก จ๊อบส์ ดีบี ได้จัดทำใน 4 ระดับตำแหน่งงาน ประกอบด้วย ระดับเจ้าหน้าที่ (Officer Level) ระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level) ระดับผู้จัดการ (Manager Level) ระดับผู้บริหาร (Top Level) โดยพบข้อมูลฐานเงินเดือนต่ำที่สุด-สูงที่สุดแบ่งตามประเภทงาน ดังต่อไปนี้
อัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2564 |ผู้บริหาร, ผู้จัดการ, หัวหน้างาน
10 สายงานที่มีเงินเดือนมากที่สุดในระดับผู้บริหาร (Top Level) ได้แก่
- สายงานบริการเฉพาะทาง มีเงินเดือน ระหว่าง 113,563 – 164,071 บาท
- สายงานอีคอมเมิร์ซ มีเงินเดือนระหว่าง 113,271 – 161,588 บาท
- สายงานธนาคาร มีเงินเดือน ระหว่าง 112,917 – 165,114 บาท
- สายงานวิทยาศาสตร์และงานวิจัยพัฒนา มีเงินเดือน ระหว่าง 109,726 – 160,753 บาท
- สายงานการผลิต มีเงินเดือนระหว่าง 109,566 – 161,045 บาท
- สายงานบริการด้านการแพทย์ มีเงินเดือน ระหว่าง 106,630 – 158,478 บาท
- สายงานไอที มีเงินเดือน ระหว่าง 105,135 – 160,033 บาท
- สายงานบัญชี มีเงินเดือน ระหว่าง 104,978 – 159,970 บาท
- สายงานธุรการและงานทรัพยากรบุคคล มีเงินเดือน ระหว่าง 104,714 – 156,134 บาท
- สายงานวิศวกรรม มีเงินเดือน ระหว่าง 102,298 – 153,763 บาท
10 สายงานที่มีเงินเดือนมากที่สุดในระดับผู้จัดการ (Manager Level) ได้แก่
- สายงานประกันภัย มีเงินเดือน ระหว่าง 55,762 – 90,716 บาท
- สายงานไอที มีเงินเดือน ระหว่าง 54,435 – 93,324 บาท
- สายงานธนาคาร มีเงินเดือน ระหว่าง 52,993 – 94,481 บาท
- สายงานโทรคมนาคม มีเงินเดือน ระหว่าง 52,353 – 94,607 บาท
- สายงานบริการเฉพาะทาง มีเงินเดือน ระหว่าง 52,274 – 90,941 บาท
- สายงานบัญชี มีเงินเดือน ระหว่าง 52,061 – 86,158 บาท
- สายงานธุรการและงานทรัพยากรบุคคล มีเงินเดือน ระหว่าง 51,803 – 85,079 บาท
- สายงานวิทยาศาสตร์และงานวิจัยพัฒนา มีเงินเดือน ระหว่าง 51,615 – 88,427 บาท
- สายงานขนส่ง มีเงินเดือน ระหว่าง 51,302 – 80,680 บาท
- สายงานวิศวกรรม มีเงินเดือน ระหว่าง 51,237 – 84,776 บาท
อย่างไรก็ดีในรายงานอัตราเงินเดือนข้างต้น พบว่า กลุ่มงานสายงานไอที-ดิจิทัล ทุกระดับงานไต่อันดับขึ้นเมื่อเทียบกับผลการสำรวจประจำปี 62 โดยเฉพาะในระดับเจ้าหน้าที่ (Officer Level) ที่ขึ้นแท่นอันดับ 1 จากอันดับ 3 อีกทั้งระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level) และ ระดับผู้บริหาร (Top Level) ที่ติดโผสายงานหน้าใหม่ที่มีเงินเดือนสูง จากที่เคยอยู่ในอันดับ 13 และ 12 ตามลำดับ ในเวลาเพียงสองปี
ตอกย้ำให้เห็นถึงความต้องการในการปฏิรูปที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) นอกจากนี้ยังมีอีกสองสายงานที่น่าจับตามอง ได้แก่ สายงานโทรคมนาคม ที่ขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ในระดับเจ้าหน้าที่ (Officer Level) ระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level) และ ระดับผู้จัดการ (Manager Level)
สายงานธนาคาร ที่ปรับขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 10 ของรายงานในทุกระดับตำแหน่งงานสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของทั้งสองสายงานหลังการปฏิรูปที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) เห็นได้จาก ธนาคารต่าง ๆ ที่หันมาให้ความสำคัญกับ Digital Banking จนมียอดธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และปรับรูปแบบการให้บริการของธนาคารสู่ดิจิทัลเต็มตัว เป็นเหตุให้สายงานธนาคาร มีความต้องการใช้บุคคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านไอทีการวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างบริการใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนาระบบ Digital Banking
และ สายงานโทรคมนาคม ที่พบว่า ไม่ได้มีเพียงแค่องค์กรยักษ์ใหญ่ในสายงานเท่านั้นที่มีสถิติฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น แต่ยังรวมถึง องค์กรขนาดกลางและเล็กที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น และมองหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีมาช่วยพัฒนารากฐานระบบต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อให้พร้อมต่อการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในภาคเศรษฐกิจ ประกอบกับ สถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ที่สร้างปรากฏการณ์นิวนอร์มอล (New Normal) ทำให้หลายองค์กรต้องหันมาปรับตัวพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วย