Tokyo Motor Show 2019 Toyota โตโยต้า

Toyota ชูความก้าวหน้าเพื่อการขับเคลื่อนแห่งอนาคตใน Tokyo Motor Show 2019

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น นำเสนอความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระดับโลก ในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 ปี 2019 ตามแนวความคิดเพื่อมอบ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” (“Mobility for All”) ในคำกล่าวของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร…

Home / AUTO / Toyota ชูความก้าวหน้าเพื่อการขับเคลื่อนแห่งอนาคตใน Tokyo Motor Show 2019

โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น นำเสนอความคืบหน้าเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาทขององค์กร เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระดับโลก ในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 ปี 2019 ตามแนวความคิดเพื่อมอบ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” (“Mobility for All”) ในคำกล่าวของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร การสาธิตและอธิบายผลิตภัณฑ์ ตลอดจนการนำเสนอแผนงานในการจัดเตรียมการขับเคลื่อนรูปแบบต่างๆ ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 ณ กรุงโตเกียว แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ เพื่อการมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่นำเสนอการขับเคลื่อนแบบบูรณาการ

Toyota

มร. มิซึรุ คาวะอิ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวระหว่างให้การต้อนรับสื่อมวลชนและแขกผู้มีเกียรติหลายร้อยท่าน ก่อนการเปิดงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 ปี 2019 อย่างเป็นทางการว่า “กีฬาและการผลิตรถไม่ได้ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพื่อทำให้ตนเองแข็งแกร่งขึ้น นักกีฬาหมั่นฝึกฝนและเพิ่มทักษะทุกวัน นั่นคือ การพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง อันเป็นหลักการขั้นพื้นฐานข้อหนึ่งในวิถีแห่งโตโยต้า (Toyota Way) เรามีความภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้นำเสนอความคืบหน้าและความมุ่งมั่น เพื่อสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่ดียิ่งกว่า”

โตโยต้าประกาศแผนงานในการพลิกโฉมองค์กร gพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระดับโลก ในงาน CES (ConsumerElectronics Show ) 2018 ที่ มร.อากิโอะ โตโยดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ได้เปิดตัวอี-พาเลตต์ (e-Palette) ซึ่งเป็นรูปแบบการขับเคลื่อนพร้อมบริการต้นแบบ ทั้งเผยถึงการมุ่งให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์และบริการที่ออกแบบเพื่อเพิ่มอิสรภาพในการขับเคลื่อนที่สำหรับทุกคน

Toyota

การปรับเปลี่ยนดังกล่าวเป็นไปตามพื้นฐานเกี่ยวกับความเข้าใจแนวโน้มในสังคม ด้านทิศทางของเทคโนโลยี 4 ประการ ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายแบบเชื่อมต่อ (connected networks) ระบบอัตโนมัติ (automation) บริการระบบศูนย์กลางเพื่อกระจายข้อมูล (shared services) และระบบพลังงานไฟฟ้า (electrification) ที่เมื่อทำงานร่วมกัน จะสามารถทำให้เกิดความเป็นไปได้ของการขับเคลื่อนที่ในรูปแบบใหม่ๆ เหนือขอบเขตของยนตรกรรมแบบเดิม

ความคืบหน้าของโตโยต้าในการมุ่งบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ได้มีการนำมาจัดแสดงอย่างเต็มรูปแบบภายในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 ปี 2019 ครั้งนี้ นอกเหนือจากการจัดแสดงยนตรกรรมที่ดีกว่าประเภทรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบสันดาปภายใน เช่น ยาริส ใหม่ โตโยต้ายังนำเสนอสายผลิตภัณฑ์ยานยนต์ขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้า ที่พร้อมทำการแนะนำเพื่อจำหน่าย โดยรวมถึง โตโยต้า มิไร เจเนอเรชั่นที่ 2 ที่จะเป็นยนตรกรรมในการขับเคลื่อนเทคโนโลยีพลังงานเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนที่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น สู่การเป็นคู่แข่งด้านสมรรถนะในตลาดรถยนต์อย่างแท้จริง

Toyota

Ultra-compact BEV (ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ อัลตรา คอมแพกต์) คำตอบของรูปแบบการขับเคลื่อนที่ตอบสนองความต้องการในการเดินทางระยะสั้นของทุกคน ไม่ว่าจะเป็น สำหรับ ผู้สูงอายุ การใช้งานในองค์กรหรือในหน่วยงานรัฐบาลระดับท้องถิ่น และใช้เพื่อเป็นแหล่งจ่ายพลังงานแบตเตอรี่ไปยังสถานีจ่ายพลังงานอุปกรณ์เพื่อ การขับเคลื่อนขนาดเล็กผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นจากความร่วมมือกับผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่เป็นเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และจะช่วยตอบสนองความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นในอนาคต

มร. ชิเกะคิ เทราชิ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า “ประเด็นเกี่ยวกับการใช้พลังานไฟฟ้ากับยานยนต์ (Vehicle electrification) นับเป็นหัวใจหลักของการพลิกโฉมองค์กรของเรา
เพื่อมุ่งสู่การเป็นผู้ทำหน้าที่ขับเคลื่อนระดับโลก และด้วยสายผลิตภัณฑ์ยานยนต์พลังงานไฟฟ้าหลากหลายรูปแบบ จะทำให้โตโยต้า ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทั้งนี้โตโยต้าได้ตั้งเป้าหมายด้านการขายยานยนต์พลังงานไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2573 ที่ค่อนข้างสูง ทั้งยังตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยมลภาวะภายในปีพ.ศ. 2593 ที่สูงยิ่งกว่า สิ่งเหล่านี้ล้วนสะท้อนถึงความเชื่อมั่นของเราที่มีต่อยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ตลอดจนความมุ่งมั่นเพื่อก้าวข้ามทุกอุปสรรคซึ่งมีผลต่อการยอมรับยานยนต์ประเภทดังกล่าว

Toyota

ทั้งนี้ โตโยต้ายังประสบความสำเร็จในการผสานการทำงานร่วมกันระหว่างระบบส่งกำลังพลังงานไฟฟ้า ระบบขับขี่อัตโนมัติที่อยู่ระหว่างการพัฒนาและระบบขับเคลื่อนแบบเชื่่อมต่อ (connected mobility systems) เพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับบริการระบบศูนย์กลางเพื่อกระจายข้อมูล (shared services) ที่จะมีการทดลองใช้ครั้งสำคัญเป็นครั้งแรก ระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกในปีหน้า

โตโยต้า อี-พาเลตต์ จะมิใช่แค่ยานยนต์ต้นแบบอีกต่อไป หากแต่จะเป็นทางเลือกในการสัญจร ที่มอบ “บริการในการขับเคลื่อน” แบบยานยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ขับเคลื่อนแบบไร้คนขับ สำหรับบรรดานักกีฬาและเจ้าหน้าที่ของงาน ทั้งภายในย่านที่พักของนักกีฬาโอลิมปิกและของนักกีฬาพาราลิมปิก

Toyota

“LQ” (แอลคิว) ยานยนต์ที่โตโยต้าแนะนำในงาน CES เมื่อปี พ.ศ. 2560 ในฐานะยานยนต์ต้นแบบ คอนเซปต์-ไอ (TOYOTA Concept-i) พร้อมทำให้ทุกคนเห็นถึงพลังของความสามารถในการขับขี่อัตโนมัติ ระดับ SAE Level 4 ที่ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างรถกับผู้ขับขี่ได้นวัตกรรมหลักอันล้ำหน้านี้ยังใช้กับผลิตภัณฑ์ที่มีขนาดเล็กกว่า รวมทั้งแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ที่ออกแบบ เพื่อเพิ่มความสามารถของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่ายิ่ง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย

มร. กิลล์ แพรทท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สถาบันวิจัยโตโยต้า (Toyota Research Institute หรือ TRI) ผู้นำทีมพัฒนาการวิจัยระดับโลกของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์และระบบการขับขี่อัตโนมัติ “โตโยต้าตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อเสริมความสามารถให้กับมนุษย์ มิใช่เพื่อทำหน้าที่แทนมนุษย์ ทั้งนี้ หุ่นยนต์ที่มีความสามารถในการช่วยเราทำหน้าที่ หรือยานยนต์ที่ช่วยให้ไม่เกิดการชนขณะขับ จะสร้างประโยชน์ให้กับปัจเจกบุคคลและให้กับสังคม เทคโนโลยีที่ช่วยทำให้ผู้สูงอายุยังสามารถอาศัยในบ้านตนเองได้อย่างมีเกียรติ หรือทำให้เรามีความสุขยิ่งกว่าเคยไปกับการขับเคลื่อนส่วนบุคคล จะก่อให้เกิดคุณประโยชน์ทางด้านอารมณ์ความรู้สึกอย่างใหญ่หลวง ยิ่งไปกว่านั้น หากมีทั้งสองสิ่งผสานกัน ประโยชน์ที่ได้รับทางด้านอารมณ์และทางกายภาค จะช่วยก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเทคโนโลยีที่จะเติมเต็มการใช้ชีวิตของมนุษย์”

Toyota

นอกเหนือจากการจัดแสดงแผนงานด้านผลิตภัณฑ์และบริการในอนาคต โตโยต้าใช้พื้นที่ในงานโตเกียวมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 46 ปี 2019 เพื่อสนับสนุนความเชื่อที่มีต่อพลังแห่งการขับเคลื่อนอันจะทำให้สังคมดีขึ้น ความคิดนี้เป็นแกนหลักของการที่ร่วมเป็นพันธมิตรด้านการขับเคลื่อนที่ของโตโยต้า ในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกระดับสากล อันรวมถึงพันธกิจในการสร้างการขับเคลื่อนที่ปลอดภัย สร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และเหมาะสมกับการใช้งาน และสามารถมอบบริการทันเวลาที่ต้องการ ให้กับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมการแข่งขัน นับพันคน ที่จะเดินทางมาร่วมการแข่งขันโตเกียว 2020 ในปีหน้า หากแต่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกนั้น เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น

โตโยต้ายังคงมุ่งหน้าสู่อนาคต ที่การขับเคลื่อนนั้นบูรณาการเข้าด้วยกันเป็น “เมืองแห่งการเชื่อมต่อ” (connected city) ซึ่งทุกคนสามารถรับการบริการและความช่วยเหลือได้ตามความต้องการ “เราขอเรียนเชิญทุกท่านมาเยี่ยมชมและสัมผัสว่า เมื่อโตโยต้ากลายเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อนแล้วนั้น จะเป็นอย่างไร เรานำเสนอหลากหลายผลิตภัณฑ์และบริการที่แสดงให้เห็นถึงความคิดที่ล้ำหน้า และมีความทันสมัย โดยหวังว่าจะมิใช่เพียงนำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ หากยังช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ยาวนาน และนำมาซึ่งคุณประโยชน์ในสังคมโดยรวม ขอเชิญมาเยี่ยมชมและสัมผัสด้วยตัวท่านเองนะครับ” มร.อากิโอะ โตโยดะกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น กล่าวในที่สุด