Olympic Paralympic Games Tokyo 2020 Toyota โตโยต้า

Toyota สนับสนุนยานยนต์แห่งอนาคตในโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว

โตโยต้า เดินหน้าจัดหายานพาหนะและเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัจฉริยะ เพื่อใช้ในการสนับสนุนขนส่งและบริการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว ครอบคลุมทั้งนักกีฬา บุคลลากร ไปจนถึงผู้ชมการแข่งขันกีฬา โดยยึดสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่ การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน…

Home / AUTO / Toyota สนับสนุนยานยนต์แห่งอนาคตในโอลิมปิกและพาราลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว

โตโยต้า เดินหน้าจัดหายานพาหนะและเทคโนโลยีขับเคลื่อนอัจฉริยะ เพื่อใช้ในการสนับสนุนขนส่งและบริการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว ครอบคลุมทั้งนักกีฬา บุคลลากร ไปจนถึงผู้ชมการแข่งขันกีฬา โดยยึดสำคัญ 3 ข้อ ได้แก่

  1. การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน (Mobility for All) หรือ การส่งเสริมให้ทุกคนมีอิสระในการสัญจร
  2.  ความยั่งยืน (Sustainability) คือการมุ่งส่งเสริมสังคมที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน (เพื่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย)
  3. การสนับสนุนด้านการคมนาคมในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โดยนำเอาระบบการผลิตแบบโตโยต้า (Toyota Production System – TPS) มาปรับใช้

Toyota

ด้วยหลักการทั้ง 3 ข้อข้างต้น โตโยต้ามีเป้าหมายที่จะไปให้ไกลกว่าแค่การผลิตรถยนต์เพื่อให้ผู้คนได้ใช้งานเท่านั้น แต่ยังต้องการที่จะมีส่วนร่วมในการช่วยแก้ไขปัญหาด้านการขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพตลอดการจัดงาน ซึ่งยานพาหนะรุ่นหลักๆ ที่จะนำมาสนับสนุน มีดังนี้

ยานพาหนะที่พัฒนาขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว

Toyota

ยานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร (Accessible People Mover – APM):

โตโยต้าจะจัดให้มี ยานพาหนะสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร ราว 200 คันเพื่อช่วยเคลื่อนย้ายผู้เข้าชมการแข่งขันที่มีความต้องการพิเศษให้สามารถเดินทางภายในสถานที่จัดการแข่งขันได้อย่างสะดวกสบาย เช่น เดินทางไปยังสนามกีฬาโอลิมปิก และสนามเทนนิสอาริอาเกะ ด้วยการบริการรับ-ส่งผู้เข้าร่วมงานใน “การเดินทางระยะสั้นสู่ปลายทาง” (last one mile) ตลอดจนใช้ในกิจการกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินระหว่างการแข่งขัน

ยานพาหนะรุ่นพิเศษ สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว

Toyota

ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับ (e-Palette) รุ่นพิเศษ:

รถยนต์แบตเตอรี่ไฟฟ้าคันแรกของโตโยต้าซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อให้บริการ Autono-MaaS*2 โดยเฉพาะ ซึ่งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว จะมีการนำเอายานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับมาใช้เพื่อสนับสนุนการบริการด้านคมนาคมให้กับเจ้าหน้าที่และนักกีฬา โดยจะจัดสรรให้มียานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับจำนวน 12 คันหรือมากกว่านั้น วิ่งตามเส้นทางที่กำหนดไว้ภายในหมู่บ้านนักกีฬาที่ร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกตลอดเวลา

ยานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับจะมีพื้นต่ำและทางลาดไฟฟ้า ดังนั้น เวลาที่รถจอดประจำจุดในแต่ละป้ายที่กำหนดไว้ก็แทบจะไม่มีช่องว่างระหว่างขอบถนนและตัวรถเลย ถือว่าเป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้กับบรรดาผู้โดยสารที่ต้องใช้รถเข็น และช่วยให้การเดินทางในระยะสั้นๆ นั้นเป็นไปอย่างราบรื่น

Toyota

คาดว่ายานยนต์ไฟฟ้าไร้คนขับจะมีความสามารถในการขับขี่อัตโนมัติ (สูงถึงระดับ SAE Level 4*3) โดยนอกจากจะมีเจ้าหน้าที่ประจำรถอยู่ในแต่ละคันเพื่อคอยควบคุมการทำงานของระบบการขับขี่อัตโนมัติแล้ว โตโยต้ายังติดตั้งระบบบังคับแบบดิจิทัลเพื่อควบคุมการทำงานโดยรวมในแต่ละคันอีกด้วย

ทั้งนี้ตัวรถสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 20 คน* (รวมเจ้าหน้าที่ประจำรถ) ส่วนในกรณีผู้โดยสารที่ต้องใช้รถเข็น สามารถรองรับรถเข็นได้สูงสุดถึง 4 คัน + ผู้โดยสารยืน 7 คน

Toyota

TOYOTA Concept-i รุ่นพิเศษ:

ด้วยการออกแบบรูปลักษณ์ภายนอกให้มีลักษณะโครงร่างสะท้อนเทคโนโลยีขั้นสูงที่มาพร้อมกับความคล่องแคล่วปราดเปรียว (high-tech one-motion silhouette) ทำให้โตโยต้า คอนเซปต์-ไอ เป็นยานยนต์สุดพิเศษที่จะมาสร้างสีสันและความน่าสนใจให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โดยผู้ชมจะได้เห็นรถโตโยต้า คอนเซปต์-ไอ ในพิธีการส่งต่อคบเพลิง อีกทั้งยังจะถูกใช้เป็นรถนำสำหรับการแข่งขันวิ่งมาราธอนด้วย

Toyota

นอกจากการเตรียมรถโตโยต้า คอนเซปต์-ไอ สำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกแล้วนั้น โตโยต้ายังจะจัดให้ถนนสาธารณะโดยรอบของ Toyota City Showcase “MEGAWEB” ซึ่งอยู่ในเขต โอไดบะ / โตโยสุ ของกรุงโตเกียว เป็นบริเวณสำหรับการทดลองขับรถยนต์ที่มีเทคโนโลยีการขับขี่ชั้นสูง ซึ่งก็รวมไปถึงโตโยต้า คอนเซปต์-ไอ ที่มาพร้อมกับความสามารถในการขับขี่อัตโนมัติ (สูงถึงระดับ SAE Level 4*3) ตลอดจนฟังก์ชั่นล้ำสมัยภายใต้ชื่อ “Agent Conversation” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ช่วยให้รถสามารถทำความเข้าใจผู้ขับขี่ ตลอดจนช่วยให้พวกเขาได้สัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ในการเดินทาง และประทับใจไปกับมิติใหม่ของ “ยานยนต์คู่ใจ” แห่งโลกอนาคต

ยานพาหนะประเภทอื่นๆ

Toyota

โตโยต้า มิไร:

จะมีการจัดเตรียมโตโยต้า มิไร ทั้งหมดประมาณ 500 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับบรรดาเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเดินทางไปยังพื้นที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว

Toyota

ยานพาหนะไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับใช้ในพื้นที่ทางเดิน:

โตโยต้าจะจัดเตรียมยานพาหนะไฟฟ้าแบตเตอรี่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยท่ายืนทรงตัวประมาณ 300 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย / เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ในการเคลื่อนที่ทั้งภายในและโดยรอบสถานที่จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว เช่น สนามกีฬาโอลิมปิก และสนามเทนนิสอาริอาเกะ

นอกจากนี้ โตโยต้ายังจะจัดเตรียมยานพาหนะไฟฟ้าแบตเตอรี่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยท่านั่งและเครื่องเชื่อมต่อรถเข็นเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางส่วนบุคคลสำหรับผู้ที่นั่งรถเข็นและผู้ที่มีปัญหาด้านการเดิน

ยานพาหนะไฟฟ้าแบตเตอรี่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยท่ายืนทรงตัว

  • มิติ: ยาว 700 มม./ กว้าง 450 มม./ สูง 1,200 มม.
  • ความเร็วสูงสุด: 2,4,6,10 กม./ชม. (ปรับได้)
  • ระยะทาง – ขอบเขต: ประมาณ 14 กม.
  • ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่: 2.5 ชั่วโมง (เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้)

ยานพาหนะไฟฟ้าแบตเตอรี่ชนิดเคลื่อนที่ด้วยท่านั่ง

  • มิติ: ยาว 1,180 มม./ กว้าง 630 มม./ สูง 1,090 มม.
  • ความเร็วสูงสุด: 2,4,6 กม./ชม. (ปรับได้)
  • ระยะทาง – ขอบเขต: ประมาณ 10 กม.
  • ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่: 2 ชั่วโมง (เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้)

เครื่องเชื่อมต่อรถเข็น

  • มิติ: ยาว 540 มม./ กว้าง 630มม. / สูง 1,090 มม.
  • ความเร็วสูงสุด: 2,4,6 กม./ชม. (ปรับได้)
  • ระยะทาง – ขอบเขต: ประมาณ 20 กม.
  • ระยะเวลาการชาร์จแบตเตอรี่: 2.5 ชั่วโมง (เปลี่ยนแบตเตอรี่ได้)

หมายเหตุ

*1 อ้างอิงจากข้อมูลที่อยู่ในคู่มือผลิตภัณฑ์ โดยรถยนต์ไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริดนั้นจะอ้างอิงจากวิธีการคำนวณของโตโยต้าที่ปรากฏในรายงานซึ่งจัดทำ ณ วันที่ 1 มีนาคม 2013 โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว สำหรับข้อมูลของยานพาหนะบางรุ่นที่มีการปรับปรุงพิเศษเพื่อการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว นั้น โตโยต้าคำนวณอัตราการใช้เชื้อเพลิงโดยปรับให้สอดคล้องกับระดับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงพิเศษดังกล่าว ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2019

*2 เป็นการผสมของคำว่า “autonomous” และ “mobility as a service” เพื่ออธิบายการให้บริการด้านการขับเคลื่อนของโตโยต้าด้วยยานพาหนะที่ขับเคลื่อนได้โดยไร้คนขับ

*3 ศึกษาข้อมูลอ้างอิงของระดับ SAE Level ได้ที่นี่

Toyota

ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการท้าทายตนเองเพื่อมอบ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” (Mobility for All) ผ่านการนำเสนอทางแก้ไขปัญหาด้านการขับเคลื่อนที่หลากหลาย เพื่อให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ปี 2020 ณ กรุงโตเกียว เป็นงานที่มอบประสบการณ์สุดพิเศษไม่เหมือนใครให้กับทุกๆ คน