BMW Group ยกระดับแบรนด์แห่งความยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเตรียมนำนวัตกรรมสีและสารเคลือบตัวถังรถที่ผลิตจากขยะชีวภาพหรือของเสียจากโรงบำบัดน้ำเสีย เพื่อลดการใช้วัตถุดิบจากปิโตรเคมีจากกระบวนการผลิตสี ช่วยลดปริมาณการปล่อย CO2 และลดมลพิษจากสารเคมีอีกด้วย
โดยสีดังกล่าวคือ ซึ่งทางบริษัทฯ อ้างว่าเป็นผู้ผลิตรายแรกของโลกที่ใช้สีและสารเคลือบตัวถังรถยนต์ที่ผลิตจากขยะชีวภาพแทนการใช้ผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมีอย่าง แนฟทา จากการวิจัยและพัฒนาได้เผยข้อมูลว่า สารที่สกัดจากขยะชีวภาพและของเสียจากโรงำบัดน้ำเสีย ไม่มีข้อเสียด้านคุณภาพเนื่องจากการป้องกันการกัดกร่อน และผิวสัมผัส (ผิวด้าน) มีความเหมือนกันทางเคมี เรียกได้ว่าคุณสมบัติทางเคมีเหมือนกัน ต่างกันคือแต่ต้นทุนคาร์บอนที่เกี่ยวข้อง และความเป็นพิษจากสารตั้งต้นจะลดลง
ซึ่งสีและสารเคลือบตัวถังใหม่นี้จะใช้ในโรงงาน BMW ในเมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี และโรงงาน Rosslyn ในแอฟริกาใต้ รวมถึงทางซัพพลายเออร์ผู้ผลิตสารตั้งต้นจากขยะชีวภาพ จะนำไปต่อยอดในการพัฒนาเคมีภัณฑ์อื่น ๆ ทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเคมี เช่น น้ำยาทำความสะอาดสีด้วย
“ด้วยการลดการใช้วัตถุดิบฟอสซิล เราสามารถอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดการปล่อย CO2 ได้ในเวลาเดียวกัน” Joachim Post หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อและเครือข่ายซัพพลายเออร์ของ BMW กล่าวว่า “นวัตกรรมสีที่ใช้วัตถุดิบหมุนเวียนเป็นก้าวสำคัญในทิศทางนี้”
ทางบริษัทฯ คาดการณ์ว่าการใช้สีที่ผลิตจากขยะชีวภาพจะช่วยนำวัตถุดิบจากปิโตรเคมีออกจากกระบวนการผลิตสี ควบคู่กับมาตรการอื่น ๆ จะสามารถลดการปล่อย CO2 ได้กว่า 15,000 ตัน ระหว่างปัจจุบันจนถึงปี 2030 ประกอบกับช่วยลดการปล่อยมลพิษจากการผลิตสีได้มากกว่า 40%
และเมื่อปีที่แล้ว ทาง BMW ได้เปิดตัวเทคโนโลยีการพ่นสีที่เรียกว่า EcoPaintJet Pro ที่ช่วยให้สามารถพ่นสีได้แม่นยำยิ่งขึ้น สิ่งนี้จะช่วยให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถประหยัดพลังงานได้ 6,000 เมกะวัตต์ชั่วโมง และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 2,000 ตัน/ปี
เครดิตข้อมูลจาก bmwblog.com และ carscoops.com