Bentley Motors ระดมพลช่างฝีมือทั้งพนักงานฝึกงาน และผู้เชี่ยวชาญของเดินหน้าคืนชีพอัครยานยนต์ในตำนานอย่าง 2508 T-Series ให้มีสภาพที่สมบูรณ์แบบพร้อมใช้งานอีกครั้ง โดยจะถูกเพิ่มเข้าไปในคอลเลกชันอัครยนตรกรรมคลาสสิค (Heritage Collection) ซึ่งเป็นคอลเลกชันที่ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ของแบรนด์อันยาวนานกว่า 103 ปี
อัครยนตรกรรมรุ่น T-Series ที่เก่าแก่ที่สุดคันนี้ถูกประกอบขึ้นเมื่อวันที่ 28 กันยายน ปี 2508 และได้รับการเปิดตัวและจัดแสดงเป็นครั้งแรกที่งาน Paris Motor Show เมื่อวันที่ 5 ตุลาคมในปีเดียวกัน อัครยนตรกรรมคันนี้เสร็จสิ้นการทำเฉดสีภายนอกด้วยเฉดสีเทา Shell Grey และการตกแต่งภายในห้องโดยสารด้วยวัสดุหนังสีน้ำเงิน โดยเป็นรถรุ่นแรกที่มาพร้อมกับตัวถังแบบไร้โครงแทนโครงรถแบบแชสซี และเทคนิคการประกอบตัวถังที่แตกต่างจากทุกรุ่นก่อนหน้านั้น
T-Series มาพร้อมเครื่องยนต์รุ่น V8 ขนาด 6¼ ลิตร สมรรถระ 225 แรงม้า ซึ่งเครื่องยนต์นี้ได้รับการออกแบบและเปิดตัวครั้งแรกในปี 2502 โดยได้ประจำการครั้งแรกในรุ่น S2 เครื่องยนต์มอบสมรรถนะสูงสุดตามน้ำหนักของรถยนต์ที่ 1.2 กก./แรงม้า (2.7 ปอนด์/แรงม้า) ด้วยความน่าเชื่อถือในการทำงาน และศักยภาพในการพัฒนา โดยเฉพาะสามารถควบคุมการปล่อยไอเสียได้น้อยลงกว่า 99% ทำให้เครื่องยนต์รุ่นนี้กลายเป็นเครื่องยนต์หลักของเบนท์ลีย์ในอีก 50 ปีต่อมา จนกระทั่งถูกเลิกพัฒนาไปในปี 2562
ด้วยก่อนหน้านั้นในเดือนตุลาคม ปี 2559 เบนท์ลีย์ มอเตอร์สเริ่มกระบวนการฟื้นฟูอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์รุ่น T-Series หมายเลข VIN 001 โดยเริ่มต้นด้วยการถอดขอบ และการปรับสภาพตัวถังในเฉดสีขาว ซึ่งหลังจากการเตรียมการเบื้องต้นได้ไม่นาน โครงการฟื้นฟูก็มีอันต้องถูกระงับไปเนื่องจากการเปิดตัวของอัครยนตรกรรมรุ่นใหม่ และอัครยนตรกรรมที่ใช้พลังงานไฟฟ้า แต่ด้วยความมุ่งมั่นในการพัฒนาอัครยนตรกรรมคลาสสิค ตอนนี้ T-Series ก็ได้กลับมาอยู่ในกระบวนการฟื้นฟูอีกครั้ง
ทางบริษัทฯ จะมีแผนกำหนดฟื้นฟู T-Series ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ พร้อมกลับนำมาใช้งานอีกครั้งในระยะเวลาอย่างน้อย 18 เดือน โดยคาดว่าจะได้รับการเผยโฉมภายในปี 2566 เป็นต้นไป
เรื่องราวของอัครยนตรกรรม Bentley รุ่น T-Series
ในปี 2501 เบนท์ลีย์ที่รู้จักจากงานออกแบบตัวถังซึ่งเป็นโครงสร้างแชสซีแบบแยกจากกัน แต่จากความคาดหวัง และความต้องการของลูกค้าที่ได้เปลี่ยนไป และการออกแบบตัวถังเชิงพานิชย์ที่กำลังอยู่ในช่วงขาลง ทำให้บริษัทฯ ต้องออกแบบอัครยนตรกรรมให้มีขนาดเล็กลงแต่ยังคงพื้นที่ภายในห้องโดยสาร ความหรูหรา และความสะดวกสบายไว้เหมือนเดิมตามความคาดหวังของลูกค้า
ซึ่งในปี 2505 John Blatchley ผู้มีชื่อเสียงในด้านการออกแบบอัครยนตรกรรมรุ่น R-Type Continental ได้เสร็จสิ้นการออกแบบภายนอกสำหรับตัวถังแบบไร้โครงแบบใหม่ที่ทำจากเหล็กและอะลูมิเนียม การออกแบบได้ปรับปรุงพื้นที่ภายในห้องโดยสารจากรุ่น S3 รุ่นก่อน ซึ่งมีขนาดตัวถังที่เล็กลง 7 นิ้ว เพดานห้องโดยสารต่ำลง 5 นิ้ว และความกว้างลดลง 3 นิ้วครึ่ง โดยรวมห้องโดยสารมีขนาดพื้นที่ที่เพิ่มขึ้นและมีช่องเก็บสัมภาระที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเพิ่มความจุในการเก็บกระเป๋าเดินทาง อันเป็นการถือกำเนิดโครงสร้างตัวถังแบบไร้โครงเป็นครั้งแรกของแบรนด์
สำหรับเครื่องยนต์รุ่น V8 รถยนต์ต้นแบบทั้งหมด 7 คันได้ทำการทดสอบการใช้เครื่องยนต์รุ่น V8 ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่โดยการวิ่งระยะไกลกว่า 100,000 ไมล์ ซึ่งนวัตกรรมการออกแบบได้รวมถึงการติดตั้งซับเฟรมที่แยกจากกันเพื่อการติดตั้งเครื่องยนต์และเกียร์ ระบบกันสะเทือน พวงมาลัย และเพลาหลัง พร้อมฐานรองยาง “Vibrashock” ที่พัฒนาขึ้นเพื่อแยกเสียงรบกวนภายนอกและการสั่นสะเทือนบนท้องถนน
อัครยนตรกรรมรุ่น T-Series ประกอบจากโครงรถนวัตกรรมชั้นสูงพร้อมระบบกันสะเทือนแบบอิสระทั้งสี่ล้อ พร้อมระบบควบคุมความสูงอัตโนมัติตามน้ำหนักบรรทุกแรงกด สำหรับระบบกันสะเทือนแบบปรับระดับอัตโนมัติมาจากระบบเบรกแบบไฮดรอลิก ซึ่งประกอบด้วยดิสก์เบรกทั้งสี่ล้อ และระบบกันสะเทือนของช่วงล่างและคอยล์สปริงบริเวณด้านหน้า และด้านหลัง
อัครยนตรกรรมรุ่นนี้คือตัวอย่างที่ชัดเจนของการปฏิวัติทางวิศวกรรมยานยนต์ เนื่องจากเป็นอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์คันแรกที่เป็นการประกอบจากตัวถังแบบไร้โครงและน้ำหนักเบา มอบสมรรถนะที่น่าประทับใจในประเภทของรถยนต์แบบซีดานในปี 2508 ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 185 กม./ชม. และสามารถทำความเร็ว 0-100 กม./ชม. ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 10.9 วินาที
อัครยนตรกรรม Bentley รุ่น T-Series รุ่นแรกถูกประกอบขึ้นจำนวนกว่า 1,868 คัน โดยมีราคาขายก่อนภาษีอยู่ที่ 5,425 ปอนด์ ส่วนใหญ่เป็นรถเก๋งซีดานแบบสี่ประตู สำหรับรุ่นสองประตูถูกประกอบขึ้นในปี 2509 และอีกหนึ่งปีต่อมาได้มีการเปิดตัวรุ่นเปิดประทุน อย่างไรก็ตาม จำนวนการผลิตของ 2 รุ่นนี้มีอยู่เพียงแค่ 41 คันเท่านั้น โดยมีอัครยนตรกรรมรุ่นที่ 2 หรือที่รู้จักกันในนามว่ารุ่น T2 เปิดตัวในปี 2520 และผลิตต่อมาจนถึงปี 2523