Toyota ยอดขายรถยนต์ สถิติ โตโยต้า

สรุปยอดขายเดือนกันยายน ชะลอตัวต่อเนื่อง ยอดขายรวม ลดลง 17.7%

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2564 ชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ คาดตุลาคมมีแนวโน้มดีขึ้น

Home / AUTO / สรุปยอดขายเดือนกันยายน ชะลอตัวต่อเนื่อง ยอดขายรวม ลดลง 17.7%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2564 ชะลอตัวต่อเนื่องในทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 64,122 คัน ลดลง 17.7% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 25,255 คัน ลดลง 13.5% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 38,867 คัน ลดลง 20.2% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 30,164 คัน ลดลง 21%

ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน 2564 มีปริมาณการขาย 64,122 คัน ลดลง 17.7% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 13.5% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 20.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ที่ยังคงเกิดขึ้นทั่วประเทศยังคงส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน การทำธุรกิจ และภาวะเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตโดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยว และบริการต่าง ๆ

ที่สำคัญสถานการณ์น้ำท่วมได้ลุกลามหลายจังหวัดในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจฐานราก และความสามารถในการซื้อของลูกค้าเป็นจำนวนมาก

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2564

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 64,122 คัน ลดลง 17.7%

อันดับที่ 1 Toyota 19,971 คัน ลดลง 15.9% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 2 Isuzu 13,649 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 21.3%
อันดับที่ 3 Honda 6,311 คัน ลดลง 30.5% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,255 คัน ลดลง 13.5%

อันดับที่ 1 Honda 5,849 คัน ลดลง 23.0% ส่วนแบ่งตลาด 23.2%
อันดับที่ 2 Toyota 5,237 คัน ลดลง 3.6% ส่วนแบ่งตลาด 20.7%
อันดับที่ 3 Mazda 1,921 คัน ลดลง 6.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 38,867 คัน ลดลง 20.2%

อันดับที่ 1 Toyota 14,734 คัน ลดลง 19.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 13,649 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 Ford 2,101 คัน ลดลง 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.4%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 30,164 คัน ลดลง 21%

อันดับที่ 1 Toyota 12,504 คัน ลดลง 18.4% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 Isuzu 12,254 คัน ลดลง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 3 Ford 2,101 คัน ลดลง 26.2% ส่วนแบ่งตลาด 7.0%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,037 คัน

  1. Toyota 1,461 คัน
  2. Isuzu 804 คัน
  3. Ford 329 คัน
  4. Mitsubishi 328 คัน
  5. Nissan 115 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 27,127 คัน ลดลง 20.9%

อันดับที่ 1 Isuzu 11,450 คัน ลดลง 17.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 Toyota 11,043 คัน ลดลง 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 3 Ford 1,772 คัน ลดลง 24.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%

ตลาดรถยนต์ในเดือนตุลาคมมีแนวโน้มดีขึ้น เนื่องจากศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 (ศบค.) ผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้ธุรกิจและประชาชนสามารถดำเนินชีวิต และประกอบธุรกิจได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการล็อคดาวน์เพื่อควบคุมโรคโดยอนุญาตให้สถานประกอบการบางแห่งเปิดบริการ หรือสามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ตลอดจนการฉีดวัคซีนให้กับคนไทยเริ่มทั่วถึงมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่าง ๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามอย่างเต็มที่ของภาครัฐ ในการส่งเสริมมาตรการทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนกำลังซื้อของผู้บริโภค ตลอดจนการเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวในโครงการนำร่องอย่าง Phuket sandbox Samui plus และ Pattaya move on จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างกำลังซื้อของผู้บริโภคให้ฟื้นคืนกลับมา รวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมที่คลี่คลายในหลายพื้นที่ และการเดินหน้าเข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีที่เป็น Hi-season จะช่วยให้สถานการณ์ตลาดรถยนต์ดีขึ้นไปจนถึงสิ้นปี

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กันยายน 2564

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 531,931 คัน ลดลง 0.5%

อันดับที่ 1 Toyota 166,560 คัน เพิ่มขึ้น 6.0% ส่วนแบ่งตลาด 31.3%
อันดับที่ 2 Isuzu 131,529 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 24.7%
อันดับที่ 3 Honda 61,329 คัน ลดลง 5.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.5%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 176,140 คัน ลดลง 6.7%

อันดับที่ 1 Honda 53,406 คัน ลดลง 1.9% ส่วนแบ่งตลาด 30.3%
อันดับที่ 2 Toyota 43,101 คัน ลดลง 5.6% ส่วนแบ่งตลาด 24.5%
อันดับที่ 3 Nissan 15,156 คัน ลดลง 9.1% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 355,791 คัน เพิ่มขึ้น 2.8%

อันดับที่ 1 Isuzu 131,529 คัน เพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 Toyota 123,459 คัน เพิ่มขึ้น 10.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 Ford 22,530 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 276,789 คัน เพิ่มขึ้น 0.9%

อันดับที่ 1 Isuzu 119,314 คัน เพิ่มขึ้น 4.4% ส่วนแบ่งตลาด 43.1%
อันดับที่ 2 Toyota 104,962 คัน เพิ่มขึ้น 9.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 Ford 22,530 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 36,160 คัน

Toyota 15,986 คัน
Isuzu 11,826 คัน
Mitsubishi 4,532 คัน
Ford 3,344 คัน
Nissan 472 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 240,629 คัน ลดลง 2.5%

อันดับที่ 1 Isuzu 107,488 คัน ลดลง 2.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.7%
อันดับที่ 2 Toyota 88,976 คัน เพิ่มขึ้น 5.8% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 3 Ford 19,186 คัน เพิ่มขึ้น 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.0%