Toyota ยอดขายรถยนต์ สถิติ โตโยต้า

สรุปยอดขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม ชะลอตัว รวม 52,442 คัน ลดลง 11.6%

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ ยอดขายรวมทั้งสิ้น 52,442 คัน ลดลง 11.6%

Home / AUTO / สรุปยอดขายรถยนต์เดือนกรกฎาคม ชะลอตัว รวม 52,442 คัน ลดลง 11.6%

นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ชะลอตัวทุกเซ็กเมนท์ โดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 52,442 คัน ลดลง 11.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 16,689 คัน ลดลง 9.8% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 35,753 คัน ลดลง 12.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 27,816 คัน ลดลง 15%

ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2564 มีปริมาณการขาย 52,442 คัน ลดลง 11.6% โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 9.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 12.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สืบเนื่องจากความวิตกกังวลต่อภาวะการระบาดของไวรัส COVID-19 ระลอกที่ 3 และ 4 อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา และการระบาดของสายพันธุ์ Delta ที่แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม ทำให้มีผู้ติดเชื้อรายวันเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส จึงมีมาตรการขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดจากเดิมจาก 10 จังหวัด เป็น 13 จังหวัด ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจของประชาชน และมีส่วนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่ชะลอการตัดสินใจซื้อสิ้นค้าทุกประเภทที่ยังไม่ความจำเป็น

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกรกฎาคม 2564

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 52,442 คัน ลดลง 11.6%

อันดับที่ 1 Toyota 17,040 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.5%
อันดับที่ 2 Isuzu 13,680 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 26.1%
อันดับที่ 3 Honda 6,958 คัน เพิ่มขึ้น 15.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 16,689 คัน ลดลง 9.8%

อันดับที่ 1 Honda 6,065 คัน เพิ่มขึ้น 16.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.3%
อันดับที่ 2 Toyota 4,467 คัน ลดลง 11.4% ส่วนแบ่งตลาด 26.8%
อันดับที่ 3 Mazda 1,278 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.7%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 35,753 คัน ลดลง 12.4%

อันดับที่ 1 Isuzu 13,680 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 Toyota 12,565 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 35.1%
อันดับที่ 3 Ford 2,121 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 27,816 คัน ลดลง 15%

อันดับที่ 1 Isuzu 12,401 คัน ลดลง 13.4% ส่วนแบ่งตลาด 44.6%
อันดับที่ 2 Toyota 10,563 คัน เพิ่มขึ้น 1.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.0%
อันดับที่ 3 Ford 2,121 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 7.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,695 คัน

  1. Toyota 1,103 คัน
  2. Isuzu 943 คัน
  3. Mitsubishi 394 คัน
  4. Ford 229 คัน
  5. Nissan 26 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 25,121 คัน ลดลง 15.5%

อันดับที่ 1 Isuzu 11,458 คัน ลดลง 17.0% ส่วนแบ่งตลาด 45.6%
อันดับที่ 2 Toyota 9,460 คัน ลดลง 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 Ford 1,892 คัน เพิ่มขึ้น 0.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.5%

ตลาดรถยนต์ในเดือนสิงหาคมมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID-19 ในระลอกที่ 4 รวมทั้งการออกมาตรการล็อกดาวน์และเคอร์ฟิวในช่วงเวลา 21.00 – 04.00 น. เพื่อควบคุมการระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจให้ต้องชะลอ หรือเลื่อนกำหนดการออกไป

รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่มีเสถียรภาพน้อยลง และการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนที่ล่าช้าส่งผลให้ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยชะลอตัว และขาดแรงกระตุ้นในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต ทั้งนี้ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม และทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ดียังมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ จะฟื้นตัวดีขึ้นจากความพยายามของภาครัฐในการแก้ไขปัญหา และสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายในอนาคตอันสั้น

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2564

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 425,633 คัน เพิ่มขึ้น 9.7%

อันดับที่ 1 Toyota 134,225 คัน เพิ่มขึ้น 20.1% ส่วนแบ่งตลาด 31.5%
อันดับที่ 2 Isuzu 106,845 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 25.1%
อันดับที่ 3 Honda 49,673 คัน เพิ่มขึ้น 4.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.7%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 137,040 คัน ลดลง 0.9%

อันดับที่ 1 Honda 42,651 คัน เพิ่มขึ้น 7.3% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 2 Toyota 34,170 คัน ลดลง 2.3% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 3 Nissan 12,546 คัน ลดลง 15.1% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 288,593 คัน เพิ่มขึ้น 15.6%

อันดับที่ 1 Isuzu 106,845 คัน เพิ่มขึ้น 16.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.0%
อันดับที่ 2 Toyota 99,981 คัน เพิ่มขึ้น 30.2% ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 3 Ford 18,417 คัน เพิ่มขึ้น 33.1% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 224,750 คัน เพิ่มขึ้น 12.9%

อันดับที่ 1 Isuzu 97,422 คัน เพิ่มขึ้น 31.3% ส่วนแบ่งตลาด 43.3%
อันดับที่ 2 Toyota 84,704 คัน เพิ่มขึ้น 22.0% ส่วนแบ่งตลาด 37.7%
อันดับที่ 3 Ford 18,417 คัน เพิ่มขึ้น 38.6% ส่วนแบ่งตลาด 8.2%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 30,637 คัน

  1. Toyota 13,411 คัน
  2. Isuzu 10,335 คัน
  3. Mitsubishi 3,926 คัน
  4. Ford 3,926 คัน
  5. Nissan 199 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 194,114 คัน เพิ่มขึ้น 8.4%

อันดับที่ 1 Isuzu 87,087 คัน เพิ่มขึ้น 7.0% ส่วนแบ่งตลาด 44.9%
อันดับที่ 2 Toyota 71,293 คัน เพิ่มขึ้น 20.6% ส่วนแบ่งตลาด 36.7%
อันดับที่ 3 Ford 15,652 คัน เพิ่มขึ้น 38.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%