นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมีนาคม 2564 ปรับตัวดีขึ้นทุกตลาดโดยมียอดขายรวมทั้งสิ้น 79,969 คัน เพิ่มขึ้น 25.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 30,183 คัน เพิ่มขึ้น 24.7% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 49,786 คัน เพิ่มขึ้น 26.1% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 38,106 คัน เพิ่มขึ้น 25.8%
ตลาดรถยนต์เดือนมีนาคม 2564 มีปริมาณการขาย 79,969 คัน เพิ่มขึ้น 25.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 24.7% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 26.1% แม้ว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ในประเทศยังเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม แต่ด้วยมารตรการต่าง ๆ จากภาครัฐในการช่วยเหลือประชาชน และกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เพิ่มเติม มีส่วนช่วยบรรเทาความตึงเครียดในการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชน และที่สำคัญตลาดรถยนต์ในเดือนนี้ได้รับปัจจัยบวกจากข้อเสนอพิเศษ และกิจกรรมส่งเสริมการขายของค่ายรถยนต์ในงาน บางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 42 ที่เพิ่งจบสิ้นลง มีส่วนกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของลูกค้าอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ยอดขายโดยรวมในเดือนมีนาคมปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และกลับมาเติบโตเป็นครั้งแรกในรอบปี
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมีนาคม 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 79,969 คัน เพิ่มขึ้น 25.6%
อันดับที่ 1 Toyota 22,276 คัน เพิ่มขึ้น 28.5% ส่วนแบ่งตลาด 27.9%
อันดับที่ 2 Isuzu 17,523 คัน เพิ่มขึ้น 28.6%ส่วนแบ่งตลาด 21.9%
อันดับที่ 3 Honda 10,295 คัน เพิ่มขึ้น 37.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 30,183 คัน เพิ่มขึ้น 24.7%
อันดับที่ 1 Honda 8,953 คัน เพิ่มขึ้น 47.5% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%
อันดับที่ 2 Toyota 5,380 คัน ลดลง 0.5% ส่วนแบ่งตลาด 17.8%
อันดับที่ 3 Mazda 2,785 คัน เพิ่มขึ้น 28.9% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 49,786 คัน เพิ่มขึ้น 26.1%
อันดับที่ 1 Isuzu 17,523 คัน เพิ่มขึ้น 28.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 Toyota 16,896 คัน เพิ่มขึ้น 41.7% ส่วนแบ่งตลาด 33.9%
อันดับที่ 3 Ford 3,199 คัน เพิ่มขึ้น 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 6.4%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 38,160 คัน เพิ่มขึ้น 25.8%
อันดับที่ 1 Isuzu 15,801 คัน เพิ่มขึ้น 25.1% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%
อันดับที่ 2 Toyota 14,443 คัน เพิ่มขึ้น 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 3 Ford 3,199 คัน เพิ่มขึ้น 45.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.4%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,850 คัน
- Toyota 2,588 คัน
- Isuzu 1,892 คัน
- Mitsubishi 914 คัน
- Ford 433 คัน
- Nissan 23 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 32,256 คัน เพิ่มขึ้น 18.5%
อันดับที่ 1 Isuzu 13,909 คัน เพิ่มขึ้น 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 43.1%
อันดับที่ 2 Toyota 11,855 คัน เพิ่มขึ้น 26.3% ส่วนแบ่งตลาด 36.8%
อันดับที่ 3 Ford 2,766 คัน เพิ่มขึ้น 54.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – มีนาคม 2564
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 194,137 คัน ลดลง 3%
อันดับที่ 1 Toyota 55,931 คัน ลดลง 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 28.8%
อันดับที่ 2 Isuzu 49,248 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 25.4%
อันดับที่ 3 Honda 24,959 คัน ลดลง 13.7% ส่วนแบ่งตลาด 12.9%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 65,256 คัน ลดลง 16.7%
อันดับที่ 1 Honda 21,347 คัน ลดลง 10.9% ส่วนแบ่งตลาด 32.7%
อันดับที่ 2 Toyota 14,509 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 3 Mazda 6,390 คัน ลดลง 16.8% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 128,881 คัน เพิ่มขึ้น 5.5%
อันดับที่ 1 Isuzu 49,248 คัน เพิ่มขึ้น 16.2% ส่วนแบ่งตลาด 38.2%
อันดับที่ 2 Toyota 41,422 คัน เพิ่มขึ้น 10.5% ส่วนแบ่งตลาด 32.1%
อันดับที่ 3 Ford 8,096 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 6.3%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 99,382 คัน เพิ่มขึ้น 2.5%
อันดับที่ 1 Isuzu 45,399 คัน เพิ่มขึ้น 14.6% ส่วนแบ่งตลาด 45.7%
อันดับที่ 2 Toyota 34,718 คัน เพิ่มขึ้น 6.1% ส่วนแบ่งตลาด 34.9%
อันดับที่ 3 Ford 8,096 คัน เพิ่มขึ้น 12.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 14,944 คัน
- Toyota 6,502 คัน
- Isuzu 5,177 คัน
- Mitsubishi 1,967 คัน
- Ford 1,249 คัน
- Nissan 49 คัน
5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 84,438 คัน ลดลง 3.1%
อันดับที่ 1 Isuzu 40,222 คัน เพิ่มขึ้น 6.2% ส่วนแบ่งตลาด 47.6%
อันดับที่ 2 Toyota 28,216 คัน ลดลง 4.1% ส่วนแบ่งตลาด 33.4%
อันดับที่ 3 Ford 6,847 คัน เพิ่มขึ้น 16.0% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
ตลาดรถยนต์ในเดือนเมษายนเป็นที่น่าจับตามอง สืบเนื่องจากการระบาดของไวรัส COVID 19 ระลอกใหม่มีความรุนแรงกว่าระลอกที่ผ่านมา ส่งผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจโดยรวม รวมทั้งอารมณ์ในการซื้อของลูกค้าลดลง แต่ปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐที่ยังคงดำเนินอยู่ เช่น โครงการ “เราชนะ” และ “ม33 เรารักกัน” สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนสามารถจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันได้บ้าง โดยยังคงมีแรงส่งจากการนำเสนอแคมเปญ “เงื่อนไขเดียวกับมอเตอร์โชว์” ของค่ายรถยนต์ และการทยอยส่งมอบรถยนต์ที่จองในงานมอเตอร์โชว์ที่ยังพยุงยอดขายรถยนต์ให้เดินหน้าต่อไปได้