เทคโนโลยีอี-พาวเวอร์ของ Nissan มอบประสบการณ์การขับขี่ที่เร้าใจแบบ Nissan GT-R (R35) ขณะที่มอเตอร์ไฟฟ้าได้ให้อัตราเร่งที่ลื่นไหลไม่มีสะดุด และให้ความรู้สึกที่เหมือนขับรถยนต์ไฟฟ้า นั่นเป็นเพราะส่วนหนึ่งได้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้จาก 2 ขุมพลังเสาหลักสุดขั้วจากนิสสัน ได้แก่ เครื่องยนต์ VR38DETT ที่ขึ้นชื่อเรื่องอัตราเร่งอันทรงพลังแบบหลังติดเบาะในจีที-อาร์ รหัส R35 ตัวล่าสุด และขุมพลังไฟฟ้า 100% ที่เงียบ และอัตราเร่งอันทรงพลังจาก Nissan Leaf โฉมปัจจุบัน
ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังของการผสานสองสิ่งอันโดดเด่นเข้าด้วยกันความเร็วและแรงจากรถสปอร์ต และแรงบิดที่เร็วทันใจจากรถยนต์ไฟฟ้ามาจากหนึ่งในหัวหน้าทีมวิศวกรด้านเครื่องยนต์ที่พัฒนาเครื่องยนต์อันทรงพลังมาแล้วมากมาย และได้รับการกล่าวขวัญทั้งยอดขายและเสียงชื่นชมจากแฟน ๆ ทั้งในเวทีญี่ปุ่น และเวทีระดับโลก นั่นคือ นาโอกิ นากาดะ และเขาผู้นี้ก็ได้เป็นผู้ให้กำเนิดเครื่องยนต์ e-POWER นี้นี่เอง
สำหรับแฟนรถสปอร์ตสมรรถนะสูง จีที-อาร์ จะยังเป็นตำนานตลอดไปด้วยสมรรถนะและความเร็วที่ไร้ที่ติ
“ตอนพัฒนาเครื่องยนต์ของ จีที-อาร์ R35 เราไม่เพียงแต่เน้นเรื่องความเร็ว แต่ต้องทำอัตราเร่งให้มีความเร้าใจด้วย” นากาดะ กล่าว “สำหรับคนขับจีที-อาร์ แทบไม่มีสิ่งใดมาเทียบกับความรู้สึกสุดยอดนี้ได้”
หลังจากที่ได้พัฒนาระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าให้กับนิสสัน ลีฟ แล้ว นากาดะก็ยังตั้งใจที่จะนำประสบการณ์จาก จีที-อาร์ ไปต่อยอดในรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่อไป
“หากต้องการสร้างสังคมที่มีการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เราต้องส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า” นากาดะ กล่าว “รถยนต์ไฟฟ้าจากนิสสันต้องไม่เพียงแต่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ต้องขับสนุกและตื่นเต้นด้วย”
การเปลี่ยนผ่านจากเครื่องยนต์สันดาปภายในไปสู่ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า 100% ไม่สามารถเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน หลายคนยังลังเลที่จะเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า เพราะกังวลทั้งเรื่องระยะทางที่วิ่งได้ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และโครงสร้างพื้นฐานของสถานีชาร์จในแต่ละพื้นที่ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
นากาดะตระหนักถึงข้อจำกัดนี้ จึงหาทางออกเพื่อคลายกังวลให้กับลูกค้าด้วยการพัฒนาเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่ผสานประสบการณ์การขับขี่อันน่าตื่นเต้นด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าและความสะดวกสบายของรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป จนกลายมาเป็นเทคโนโลยี e-POWER
Nissan e-POWER แตกต่างจากระบบไฮบริดตรงที่มันลดความยุ่งยากในการทำงานของเครื่องยนต์ด้วยการขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากำลังสูงเพียงอย่างเดียว แบตเตอรี่ลิเธียมไอออนสมรรถนะสูงจะถูกชาร์จด้วยเครื่องยนต์สันดาปที่ทำหน้าที่เป็นเพียงเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ผู้ขับขี่อี-พาวเวอร์ จะได้รับประสบการณ์การขับขี่ที่ราบรื่น และทรงพลังเช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า โดยไม่ต้องกังวลเรื่องสถานีชาร์จ เพียงแค่ต้องแวะปั๊มเติมน้ำมันเท่านั้น
การประหยัดน้ำมันถือเป็นอีกส่วนหัวใจสำคัญของระบบ อี-พาวเวอร์ ด้วยเครื่องยนต์ที่ทำงานด้วยความเร็วที่เหมาะสมเพื่อชาร์จไฟกลับเข้าแบตเตอรี่ และเมื่อรถวิ่งด้วยความเร็วสูง หรือวิ่งบนถนนขรุขระ เครื่องยนต์ก็จะทำงาน แต่ด้วยเสียงจากเครื่องที่เบามาก ผู้ขับขี่จะได้รับประสบการณ์การขับขี่ที่เงียบเหมือนตอนขับรถยนต์ไฟฟ้า
“หากมองเผิน ๆ อี-พาวเวอร์ เหมือนระบบที่พัฒนาออกมาได้ง่าย ๆ แต่ความจริงนั้นตรงกันข้าม” นากาดะ อธิบาย “เราต้องสร้างสมดุลระหว่างการใช้และการผลิตกระแสไฟฟ้าการกำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับเครื่องยนต์น้ำมันให้ทำงานและเลือกขนาดแบตเตอรี่ให้เข้ากับประเภทของรถเราทำงานกันหนักมากเพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่สมบูรณ์แบบ”
นิสสันเปิดตัว อี-พาวเวอร์ ใน Nissan Note ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี 2016 และตามด้วย Nissan Serena e-POWER ไม่นานหลังจากนั้น อี-พาวเวอร์ ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในประเทศญี่ปุ่นด้วยยอดขายที่ใกล้แตะ 500,000 คัน ในขณะที่โน๊ตเป็นรถยนต์ที่ขายดีที่สุดในญี่ปุ่นในปี 2561*
และในปี 2564 ก็ได้มีการเปิดตัว Nissan Kicks e-POWER ในประเทศญี่ปุ่น และบางประเทศในทวีปเอเชีย เป็นการส่งเสริมให้มีการใช้ อี-พาวเวอร์ อย่างแพร่หลายมากยิ่งขึ้น
*ยอดขายประกอบด้วย โน๊ตรุ่นมาตรฐานและ โน๊ต อี-พาวเวอร์ โดยรุ่น อี-พาวเวอร์ คิดเป็นประมาณ 70% ของยอดขาย
เครดิตคลิปประกอบจาก Nissan