กระชายขาว สมุนไพร โควิด-19

เรื่องต้องรู้ ก่อนจะกิน กระชายขาว ข้อควรระวังมีอะไรบ้าง?

รู้จักสรรพคุณของ กระชายขาว .ข้อห้ามและข้อควรระวังของกระชายขาว กินมากเกินไปไม่ดี ใครไม่ควรกิน

Home / HEALTH / เรื่องต้องรู้ ก่อนจะกิน กระชายขาว ข้อควรระวังมีอะไรบ้าง?

กระชายขาว สมุนไพรไทย กำลังได้รับความสนใจ เพราะมีข่าวออกมาว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอโดยนักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 แต่กำลังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเก็บข้อมูลและทดลองเท่านั้น! ยังไม่มีการทำออกมาจำหน่าย กระแสนี้ทำให้หลายคนหันมาซื้อกระชายขาวกินกันมากขึ้น แต่รู้ไหมว่าหากกินมากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกายแทนที่จะได้ประโยชน์

กระชายขาว ประโยชน์และข้อควรระวัง

เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2653 เว็บไซต์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลรามาคลินิก เผยว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอง นักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี โดยโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ทั้งนี้ราคากระชายในท้องตลาดได้พุ่งขึ้นเป็นราคากิโลกรัมละ 180 บาท นอกจากสรรพคุณที่หลายคนเชื่อว่าเสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันโควิดแล้วนั้น กระชายยังมีสรรพคุณที่ดีอีกหลายประการ

1.สารอาหารในกระชายขาว

กระชาย มีชื่อสามัญเรียกหลายอย่าง Fingerroot หรือ Chainese ginger หรือ Chainese Key หรือ Galingale มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. อยู่ในวงศ์ขิง ZINGIBERACEAE จัดเป็นพืชล้มลุก คนมักนิยมนำเหง้ากระชายมาประกอบอาหาร เช่น แกงเผ็ด แกงป่า เป็นต้น โดยรสชาติของกระชายนั้น มีรสชาติเผ็ดร้อน เฝื่อนๆ

2.สรรพคุณของ กระชายขาว

สารสำคัญในกระชายขาว ได้แก่ แพนดูราทินเอ (Panduratin A) และพิโนสโตรบิน (Pinostrobin) สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้ ดังที่มีการทดลองที่กล่าวมาข้างต้น อย่างไรก็ตามการค้นคว้านี้ยังคงอยู่ภายใต้การทดลอง เพื่อพัฒนาให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

ทั้งนี้ เหง้าของกระชายนั้นเป็นส่วนที่นิยมใช้กันมากที่สุด แต่อันที่จริง กระชายทุกส่วนมีประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็น ใบ เหง้า ราก โดยสรรพคุณในการช่วยแก้ปัญหาสุขภาพด้านต่างๆ ยกตัวอย่างต่อไปนี้

รักษาฟันและโรคที่เกิดในช่องปาก

  • เช่น เหงือกบวม เหงือกอักเสบ เจ็บคอ แผลในปาก ลดเชื้อราในช่องปาก กระชายโขลกให้ละเอียด 1 กำมือ น้ำต้ม 1 ลิตร เกลือ 1 หยิบมือ นำมาต้มจนเกลือสะลาย ก็สามารถนำมาใช้บ้วนปากหลังปากฟันได้เลย รับรองกลิ่นปากจะหายไปแถมฟันไม่ผุอีกด้วย

บำรุงร่างกายส่วนต่างๆ เช่น ไต กระดูก หัวใจ สมอง

  • ใช้รากกระชายนำไปตำให้ละเอียดแล้วคั้นจนเหลือแต่น้ำ จากนั้นให้ใส่น้ำผึ้งลงไป ผสมให้เข้ากันแล้วดื่มก่อนอาหารเย็น จะช่วยบำรุงไต บำรุงกระดูก บำรุงหัวใจกล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงสมองได้ดีขึ้น และกระชายมีฤทธิ์การกำจัดสารพิษที่ตกค้างในตับได้อีกด้วย

แก้ท้องร่วง

  • ใช้เหง้ากระชายสด 1-2 เหง้า แล้วนำไปปิ้งไฟ ตำให้ละเอียดผสมกับน้ำปูนใส คั้นให้น้ำข้นๆ มารับประทาน 1-2 ช้อนโต๊ะจะช่วยบรรเทาอาการท้องร่วงและท้องเดินได้ดี

แก้อาการปวดข้อ

  • ให้นำกระชายแก่มาปอกเปลือกแล้วนำไปตากแห้ง จากนั้นนำไปตำให้ละเอียดจนเป็นผง นำมาชงดื่มเช้า-เย็น จะช่วยบรรเทาอาการปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ รูมาตอยด์ และเกาท์ เพราะกระชายมีในการฤทธิ์ต้านการอักเสบ

แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง

  • ใช้ราก และ เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร

แก้โรคบิด

  • ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม

รักษาริดสีดวงทวาร

  • ใช้เหง้าสดประมาณ 6-8 เหง้า ผสมกับเนื้อมะขามเปียก เกลือแกง 3 ช้อน นำมาตำแล้วต้มกับน้ำเปล่า 6 แก้ว จากนั้นเคี่ยวให้น้ำเหลือแค่ 2 แก้ว กินครึ่งแก้วก่อนนอน จะช่วยรักษาริดสีดวงทวาร

แก้ผมหงอก

  • กระชายเหลือง 5 ขีดล้างให้สะอาดด้วยเกลือ นำมาหั่นเป็นแว่นเล็กๆ แล้วปั่นให้ละเอียด จากนั้นใส่น้ำเปล่าลงไปแล้วกรองจนเหลือแต่น้ำ นำมาดื่มเป็นประจำจะช่วยให้ผมหงอกเริ่มลดลง ผมกลับมาดกดำเงางาม

3.ข้อห้ามและข้อควรระวังของกระชายขาว

1.ไม่แนะนำในเด็ก สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร
2.เนื่องจากมีความเป็นสมุนไพร จึงควรระวังและควรปรึกษาแพทย์ในผู้ที่ตับอักเสบมาก คือ มีค่าการทำงานของตับ เอนไซม์ SGOT SGPT มากกว่า 40 IU
3.ควรระวัง และควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือเกล็ดเลือด และผู้ที่มีโรคเกล็ดเลือดต่ำ
4.หากทานคู่กับฟ้าทะลายโจร ต้องคำนวณปริมาณให้เหมาะสม

4.ผลเสียถ้ากินกระชายมากเกินไป

กระชาย ไม่ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะมีฤทธิ์ร้อน อาจจะทำให้เกิดโรคร้อนใน หรือ แผลในปาก และอาจมีปัญหาเหงือกร่น ใจสั่นตามมา ยิ่งในผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากในการจะกินกระชาย

source rama.mahidol, med.mahidol