อาชีพ 2020 อาชีพมาแรง ปี 2020 เทรนด์อาชีพ

เรียนจบไปทำงานอะไรดี? ต้องดู! 15 เทรนด์อาชีพมาแรงในปี 2020

เชื่อว่าน้องๆ หลายคนกำลังกังวลเรื่องอาชีพ เรียนจบไปทำงานอะไรดี? หรืออาชีพไหนจะมาแรง ล่าสุด Linkedin ได้เผยเทรนด์อาชีพ ซึ่งเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ มาแรงในปี 2020 และเพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจให้กับน้องๆ รุ่นใหม่ แต่จะมีอาชีพอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาติดตามกันเลย เรียนจบไปทำงานอะไรดี?…

Home / CAMPUS / เรียนจบไปทำงานอะไรดี? ต้องดู! 15 เทรนด์อาชีพมาแรงในปี 2020

เชื่อว่าน้องๆ หลายคนกำลังกังวลเรื่องอาชีพ เรียนจบไปทำงานอะไรดี? หรืออาชีพไหนจะมาแรง ล่าสุด Linkedin ได้เผยเทรนด์อาชีพ ซึ่งเป็นที่ต้องการทั้งในและต่างประเทศ มาแรงในปี 2020 และเพื่อเป็นทางเลือกในการตัดสินใจให้กับน้องๆ รุ่นใหม่ แต่จะมีอาชีพอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาติดตามกันเลย

เรียนจบไปทำงานอะไรดี? ต้องดู!
15 เทรนด์อาชีพมาแรงในปี 2020

1. ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI (Artificial Intelligence Specialist)

เมื่อ AI เข้ามามีบทบาทมากขึ้น คนที่เป็นคนออกแบบ AI และเข้าใจการทำงาน จึงจำเป็นเช่นกัน ถือเป็นอาชีพที่เติบโตไวที่สุด เฉลี่ย 74% ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นนักเขียนโปรแกรม ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ควบคุมระบบจักรกลอัตโนมัติ ภาษา Python

มหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอน

-หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกปัญญาประดิษฐ์และการเรียนรู้ด้วยเครื่องจักร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

 

2. สร้างระบบจักรกลอัตโนมัติ (Robotic Engineer)

หุ่นยนต์กำลังเข้ามามีบทบาทแทนมนุษย์มากขึ้น ในงานที่มีความเสี่ยงที่มนุษย์ไม่ทำ ทำให้คนที่ทำงานสายอาชีพเกี่ยวกับหุ่นยนต์เป็นที่ต้องการมาก ส่วนใหญ่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับระบบซอฟแวร์ควบคุม การประกอบหุ่นยนต์ ระบบ Hardware

มหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอน

– คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

– สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

– สาขาวิศวกรรมหุ่นยนต์ หรือวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

– สาขาวิชาวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

 

3. นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)

อีกหนึ่งอาชีพมาแรงที่ตลาดงานทั่วโลกต้องการ และค่าจ้างสูงลิ่ว ทำหน้าที่ในการตีความ หรือวิเคราะห์ สืบค้น จัดเก็บข้อมูล ทำความเข้าใจข้อมูล สร้างแบบจำลอง และจัดการดูแลข้อมูลขนาดใหญ่

มหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอน

-คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์เชิงธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

-คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยศิลปากร

-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมข้อมูล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

-คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

-คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

– สาขาวิทยาการข้อมูล (Data Science: DS) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

 

4. Full Stack Engineer

เป็นผู้ทำหน้าที่พัฒนาระบบ เว็บไซต์ สามารถสร้างโค๊ดขึ้นมาเพื่อโต้ตอบกับผู้ใช้ระบบ ดังนั้นภาษาต้องได้ เช่น HTML / CSS / JavaScript รวมไปถึงระบบหลังบ้าน การออกแบบ UI/UX

 

5. นักพัฒนาซอฟแวร์ (Site Reliability Engineer)

การจัดการโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที และทำให้ระบบซอฟแวร์ทำงานได้ราบรื่นขึ้น ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่นี้จะมีความเชี่ยวชาญด้านซอร์สโค้ดและอัลกิริธึมเพื่อวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบระบบเพื่อให้เกิดความปลอดภัย และมีความน่าเชื่อถืออีกด้วย

สาขาในไทยที่เปิดสอน

-สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

-สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

-สาขาวิศวกรรมเครือข่ายและความปลอดภัย

-สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์

-สาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์

 

6. ลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Success Specialist)

ฝ่ายดูแลลูกค้า ปัจจุบันต้องมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น มีทักษะในการใช้ภาษา การพูดคุยทำความเข้าใจกับลูกค้าให้ประสบความสำเร็จ เป็นตัวแทนในการช่วยแนะนำ ให้คำปรึกษา อย่างมีประสิทธิภาพ

สาขาในไทยที่เปิดสอน

-สาขาวิชาการตลาด

 

7. นักขาย (Sales Development Representative)

ตำแหน่งของ “นักขาย” ขาดไม่ได้และยังคงสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทักษะการพูดและเข้าถึงลูกค้า ยังเป็นที่ต้องการอยู่

สาขาในไทยที่เปิดสอน

-สาขาวิชาการตลาด

8. วิศวกรข้อมูล (Data Engineer)

ทำหน้าที่สร้างและดูแลโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล เข้าถึงและเรียงฐานข้อมูลเพื่อนำไปส่งต่อให้นักวิเคราะห์ดูเพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป การจัดเก็บและการดูแลคุณภาพข้อมูล ตลอดจน

มหาวิทยาลัยไทยที่เปิดสอน

– สาขาวิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering: DE) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA)

 

9. นักวิเคราะห์สุขภาพ (Behavioral Health Technician)

เช่น นักโภชนาการ คนขายประกัน โค้ช เทรนเนอร์ออกกำลังกาย จะยังเป็นที่สนใจมากขึ้นโดยเฉพาะคนปัจจุบันที่เน้นใส่ใจสุขภาพ

 

10. Cyber Security Specialist

ปัญหาการคุกคามทางไซเบอร์ ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป ตำแหน่งนี้จะเป็นผู้ดูแลป้องกัน และปกป้อง “ความเป็นส่วนตัว” Privacy จากอาชญากรทางไซเบอร์ ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า ข้อมูลองค์กร

หลักสูตรในไทย

หลักสูตร Cyber Security Certificate วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

 

11. Back End Developer

งานในส่วนของ Back-end Development พัฒนาด้านเซิร์ฟเวอร์พร้อมกับฐานข้อมูลและการใช้ตรรกะที่ซับซ้อนอื่นๆ โดยนักพัฒนา หรือ developer จะต้องทำงานร่วมกับภาษาโปรแกรมมิ่งต่างๆ ทางด้านเซิร์ฟเวอร์

12. Chief Revenue Officer

นักการเงินขององค์กร คล้ายๆ CFO แต่จะดูแลทั้ง  Sales และ Marketing ให้ทำงานร่วมกัน

13. Cloud Engineer

เรียกได้ว่าเป็นการเก็บข้อมูลยุคใหม่ ที่เราเรียกกันว่า Cloud จะมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นนักพัฒนา การดูแลรักษา วิศวกรข้อมูลทางด้าน cloud จึงสำคัญ

14. JavaScript Developer

JavaScript คือภาษาคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่ใช้กันมากในการพัฒนาซอฟแวร์ คนที่เป็นภาษานี้ย่อมได้เปรียบ และเป็นเครื่องมือหลักอีกอย่างหนึ่งของ Front-end Developer เช่น ถ้าบอกว่าหน้าที่ของ HTML/CSS คือการกำหนดรูปร่างหน้าตาของเว็บเพจแล้ว หน้าที่ของ JavaScript ก็คือการกำหนดฟังก์ชันบนเว็บเพจ

15. Product Owner

กำลังเป็นตำแหน่งที่นิยมอย่างมาก เป็นการดูแลผลิตภัณฑ์ให้เติบโตมาได้อย่างสวยงาม หรือดูแลบริหารภาพรวมของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ทั้งหมด

ที่มาข้อมูลจาก Linkedin, stock2morrow, www.admissionpremium.com, aware.co.th, ismtech.net, Skooldio