Noun Plural Noun Singular Noun The secret of Noun ความลับของคำนาม คำนาม คําศัพท์ภาษาอังกฤษ ประโยคภาษาอังกฤษ ภาษาอังกฤษง่ายนิดเดียว ภาษาอังกฤษน่ารู้ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน เรียนภาษาอังกฤษด้วยตนเอง

ความลับของคำนาม The secret of “Noun”

Noun หรือ คำนาม เป็นคำที่ใช้แทนคนสัตว์สิ่งของ ซึ่งเอมเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เรื่องคำนามเป็นเรื่องที่เราเรียนกันมาตลอด แต่ที่น่าแปลกใจคือ คำนามบางคำมีความพิเศษของตัวมันอยู่ เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามักไม่รู้ทำให้นำไปใช้ผิด ความลับของคำนาม The secret…

Home / CAMPUS / ความลับของคำนาม The secret of “Noun”

Noun หรือ คำนาม เป็นคำที่ใช้แทนคนสัตว์สิ่งของ ซึ่งเอมเชื่อว่าหลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เรื่องคำนามเป็นเรื่องที่เราเรียนกันมาตลอด แต่ที่น่าแปลกใจคือ คำนามบางคำมีความพิเศษของตัวมันอยู่ เป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ที่เรามักไม่รู้ทำให้นำไปใช้ผิด

ความลับของคำนาม
The secret of “Noun”

คำนามเอกพจน์ (Singular Noun) คือ คำนามที่แสดงถึงสิ่งของเพียงชิ้นเดียว คนๆ เดียว สิ่งของชิ้นเดียว เช่น person, cat, enemy

คำนามพหูพจน์ (Plural Noun) คือ คำนามที่แสดงถึงสิ่งของหลายชิ้น คนหลายคน หรือสิ่งของหลายชิ้น เช่น dogs, animals, glasses

ข้อสังเกตง่ายๆ คือ เป็นคำนามเอกพจน์จะไม่มีการเติม-s -es ในคำนามคำนั้น แต่ถ้าเป็นคำนามพหูจน์ก็จะมีการเติม-s, -es ตามหลังคำนามคำนั้นๆ (อาจจะมีคำนามบางกลุ่มที่มีการเปลี่ยนรูปเอกพจน์เป็นพหูพจน์ที่พิเศษกว่า แค่เติม-s หรือ-es จะขอกล่าวในโพสต์หน้านะคะ)

พอเรารู้หลักในการแบ่งแยกแล้วว่า คำนามคำไหนเป็นคำนามเอกพจน์หรือพหูจน์ แต่มันจะมีบางคำที่พิเศษไปกว่านั้น มาลองดูกันค่ะ

1. คำนามเหล่านี้มีรูปเดียวแต่เป็นได้ทั้งเอกพจน์และพหูพจน์เลย

fish (ปลา)                                deer (กวาง)                             Sheep (แกะ)

 

2. คำนามเหล่านี้รูปเป็นพหูพจน์แต่ใช้คู่กับกริยาเอกพจน์เสมอ

news (ข่าว)                                                      mumps (โรคคางทูม)

economics (เศรษฐศาสตร์                              measles (โรคหัด)

calisthenics(กายกรรม)                                   statistics (วิชาสถิติ)

civics (วิชาหน้าที่พลเมือง)                              physics (วิชาฟิสิกส์)

gymnastics (พลศึกษา)                                   phonics (การอ่านออกเสียง)

acrobatics (ศิลปการแสดงกายกรรม)              aesthetics (สุนทรียศาสตร์)

thesis (หัวข้อวิจัย)                                            mathematics (วิชาคณิตศาสตร์)

Mathematics is my favourite subject.
วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ฉันชื่นชอบ

ถึงแม้ว่า Mathematics จะมี-s ต่อท้ายและตามที่เราเล่าเรียนมาว่าอะไรที่ลงท้ายด้วย-s ถือว่าเป็นพหูพจน์ แต่คำนี้เป็นข้อยกเว้น เห็นได้จากกริยาที่ใช้เราจะใช้ is (singular verb) ดังนั้นคำนามตัวนี้รูปจะเหมือนพหูจน์แต่จริงๆ มันเป็นเอกพจน์ค่ะ

 

3. คำนามเหล่านี้ก็ถือเป็นหพูพจน์เสมอแม้จะไม่เติม s (ดังนั้นเวลาใช้อย่าลืมใช้ verb พหูพจน์ด้วยนะคะ)

government(รัฐบาล)                            staff (ทีมงาน)

team (ทีม)                                            family (ครอบครัว)

company (บริษัท)                                police (ตำรวจ)

* ถ้าสังเกตดีๆ เราจะไม่เคยเห็น polices รูปนี้เลย รู้แล้วก็อย่าใช้ผิดนะ

 

ตัวอย่างประโยค

  • Thai government want to support poor people by decreasing tax. รัฐบาลไทยอยากจะช่วยคนจนโดยการลดภาษี

จากประโยคนี้ให้เราสนใจที่คำว่า government ซึ่งไม่เติม-s จริงๆ จะต้องถือเป็นเอกพจน์ แต่ที่ได้กล่าวมาข้างต้นคำนี้เป็นคำพิเศษถึงไม่เติม -s ก็ถือว่าเป็นคำนามพหูจน์ ดังนั้นจะเห็นว่าคำกริยาที่ใช้จะเป็น plural verb ซึ่งเป็นกริยาไม่-s ด้วยนั้นเอง

การที่เราเข้าใจในเรื่องนี้ จะช่วยให้เราสามาถเลือกใช้กริยาได้อย่างเหมาะสม เพราะกริยาจะผันตามคำนามที่ทำหน้าที่เป็นประธาน วันนี้เราอาจจะยังจำคำพิเศษเหล่านี้ได้ไม่หมด แต่ถ้าหมั่นฝึกฝนใช้บ่อยๆ ก็จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องค่ะ:)