ประเพณี ลอยกระทง ลอยกระทงออนไลน์ วันลอยกระทง

ที่มา ชื่อเรียกประเพณี ลอยกระทง แต่ละภาคในไทย ทำไมต่างกัน?

ชื่อเรียกประเพณี ลอยกระทง แต่ละภาคของไทย วันลอยกระทง 15 ค่ำ เดือน 12 ส่วนใหญ่ตรงกับเดือนพฤศจิกายน

Home / CAMPUS / ที่มา ชื่อเรียกประเพณี ลอยกระทง แต่ละภาคในไทย ทำไมต่างกัน?

เกร็ดความรู้ดีๆ เกี่ยวกับประเพณี วันลอยกระทง 15 ค่ำ เดือน 12 ส่วนใหญ่ตรงกับเดือนพฤศจิกายน คือ วันลอยกระทง โดยแต่ละภาคในไทย มีชื่อเรียกและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไปบ้าง บางภาคก็จะมีการลอยกระทง, ลอยโคมยี่เป็ง, ลอยกระทงสาย, ไหลเรือไฟ ฯลฯ ไปอัปเดตกันว่าแต่ละภาคเรียกลอยกระทงว่าอะไรกันบ้าง และมีกิจกรรมอะไรที่โดดเด่น

ชื่อเรียกประเพณี ลอยกระทง แต่ละภาคของไทย

ลอยกระทงออนไลน์ได้ที่ >> https://mthai.com/loykrathong/

พิธีจองเปรียง หรือ การลอยพระประทีป

ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เรียกประเพณีลอยกระทงว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “การลอยพระประทีป” และ โคมชัก โคมแขวน หมายถึง เครื่องครอบหรือเครื่องบังลมไม่ให้ไฟดับและใช้ผูกกับยอดเสาหรือที่สูง เคลื่อนไหวตามแรงลม เพื่อเป็นพุทธบูชา

ส่วนพิธีเผาเทียน หรือการจุดถ้วยเทียนบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์จะใช้ “ตะคัน” หรือถ้วยเทียนบูชา ที่เป็นภาชนะดินเผาบรรจุขี้ผึ้งไขเปรียง มีไส้เชื้อเพลิง จุดแล้วมีแสงสว่าง คนโบราณจึงเรียกว่า “เผาเทียน” เมื่อนำไปวางตามฐาน หรือระเบียงโบสถ์ วิหาร เจดีย์ เกิดเป็นแสงระยิบระยับนับร้อยนับพัน ถือเป็นบุญกุศลที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมศรัทธา จึงเป็น“ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ” ที่นิยมในจังหวัดสุโขทัย

ประเพณียี่เป็ง

หรือเรียกว่า ประเพณีเดือนยี่ คือ ประเพณีลอยกระทงแบบล้านนาโดยคำว่า ยี่ แปลว่า สอง ส่วน เป็ง แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึง ประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนา ซึ่งตรงกับเดือนสิบสองของไทย งานประเพณีจะมีสามวันคือ วันขึ้นสิบสามค่ำ หรือ วันดา เป็นวันซื้อของเตรียมไปทำบุญที่วัด วันขึ้นสิบสี่ค่ำ จะไปทำบุญกันที่วัด พร้อมทำกระทงใหญ่ไว้ที่วัดและนำของกินมาใส่กระทงเพื่อทำทานให้แก่คนยากจน วันขึ้นสิบห้าค่ำ จะนำกระทงใหญ่ที่วัดและกระทงเล็กส่วนตัวไปลอยในลำน้ำ ในช่วงวันยี่เป็งจะมีการประดับตกแต่งวัด บ้านเรือน ทำประตูป่า ด้วยต้นกล้วย ต้นอ้อย ทางมะพร้าว ดอกไม้ ตุง ช่อประทีป และชักโคมยี่เป็งแบบต่าง ๆ ขึ้นเป็นพุทธบูชา และมีการจุดถ้วยประทีป (การจุดผางปะตี๊บ) เพื่อบูชาพระรัตนตรัย และมีการจุดโคมลอยปล่อยขึ้นสู่ท้องฟ้าเพื่อบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

โคมติ้ว
โคมลอย

โคมไฟ ประเพณียี่เป็ง ตามวัฒนธรรมของล้านนา แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ

  1. โคมติ้ว หรือ โคมไฟเล็ก ที่ห้อยอยู่กับซีกไม้ไผ่ซึ่งผู้คนจะถือไปในขบวนแห่และนำไปแขวนไว้ที่วัด
  2. โคมแขวน ใช้สำหรับแขวนบูชาพระพุทธรูปแบบด้วยกันเช่น รูปดาว รูปตะกร้า โดยปกติจะใช้แขวนตามวัดหรือตามหิ้งพระก็ได้
  3. โคมพัด ทำด้วยกระดาษสาเป็นรูปกรวยสองอันพันรองแกนเดียวกันด้านนอกจะไม่มีลวดลายอะไรส่วนด้านในจะตัดแต่งเป็นรูปทรงต่างๆ ในทางพุทธศาสนา
  4. โคมลอย แบบสุดท้ายนี้ เป็นโคมใหญ่มีรูปร่างคล้ายบอลลูน ตัวโครงทำจากซีกไม้ไผ่หุ้มด้วยกระดาษสา เมื่อจุดโคม ความร้อนจากเปลวไฟ จะทำให้โคมลอยตัวขึ้น
ภาพ : travel.mthai

กระทงสาย

การลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายกันเป็นสายเรียกว่า “กระทงสาย” เป็นประเพณีเฉพาะท้องถิ่นของชาวจังหวัดตาก โดยใช้กะลามะพร้าวเป็นตัวกระทง ภายในมีไส้กระทงเป็นมะพร้าวแห้งชุบน้ำมัน สำหรับความเชื่อในการลอยกระทงนั้นคือเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาพระแม่คงคา

ภาพ : travel.mthai

จังหวัดตากนั้นมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน โดยเฉพาะแม่น้ำปิงช่วงที่ไหลผ่านหน้าเมืองตาก ชาวตากเชื่อว่าสวยงามยิ่งกว่าที่อื่นๆ เพราะน้ำปิงช่วงนี้เป็นหาดทราย และทิวทัศน์เบื้องหลังเป็นทิวเขา ชาวจังหวัดจึงใช้สถานที่แห่งนี้ในการลอยกระทงด้วย กำหนดงานวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ของทุกปี

สิบสองเพ็ง

ในอดีตมีการเรียกประพณีลอยกระทงในภาคอีสานว่า “สิบสองเพ็ง” หมายถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองวึ่งมีลักษณะเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป เช่น งานประเพณีจังหวัดร้อยเอ็ดว่า “สมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป” ตามภาษาถิ่นมีความหมายถึงการขอขมาพระแม่คงคา

งานประเพณี จังหวัดสกลนคร ในอดีตมีการลอยกรทงจากกาบกล้วย ลักษณะคล้ายกับการทำปราสาทผึ้งโบราณ เรียกงานนี้ว่า “เทศกาลลอยพระประทีปพระราชทาน สิบสองเพ็งไทสกล” ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 จังหวัดสกลนครได้มีการขอพระราชทานพระประทีปเป็นครั้งแรกประกอบด้วยพระประทีปพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ซึ่งขอพระราชทานเฉพาะพระองค์ที่ทรงเสด็จมาแปรพระราชฐาน ณ พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ในขณะนั้น จึงทำให้จังหวัดสกลนครถือได้ว่าเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานพระประทีปมาประกอบพิธีในเทศกาลลอยกระทง
งานประเพณี จังหวัดนครพนม จะตกแต่งเรือแล้วประดับไฟเป็นรูปต่างๆเรียกว่า “ไหลเรือไฟ” มีความงดงามและอลังการ

โคมไฟสีสันเมืองใต้

ภาคใต้ จะมีงานประเพณีลอยโคม เช่น ในจังหวัดสงขลาจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่คือ “โคมไฟสีสันเมืองใต้” ที่จัดแสดงกลางแม่น้ำได้อย่างสวยงามอลังการ

ข้อมูลและภาพจาก ประเพณียี่เป็ง, newsplus, sites.google,sakonnakhonguide, travel.mthai, suvarnabhumiairport,
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.), i-san.tourismthailand.org, thai.tourismthailand.org

บทความที่เกี่ยวข้อง