MRT สายสีม่วง พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หา วัดทางหลวง นนทบุรี วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ วัดมะเดื่อ วัดเวตะวันธรรมาวาส

แวะมูสุขภาพให้แคล้วคลาด ปลอดภัย 5 สายทาง MRT สายสีม่วง    

เอาใจสายคนรักสุขภาพ ด้วยรูทมูสุขภาพให้แคล้วคลาด ปลอดภัย กับ MRT สายสีม่วง 5 เส้นทาง กับ 5 สถานีหลัก

Home / นนทบุรี / แวะมูสุขภาพให้แคล้วคลาด ปลอดภัย 5 สายทาง MRT สายสีม่วง    

เอาใจสายคนรักสุขภาพ ด้วยรูทมูสุขภาพให้แคล้วคลาด ปลอดภัย กับ MRT สายสีม่วง 5 เส้นทาง กับ 5 สถานีหลัก เริ่มตั้งแต่ สถานีคลองบางไผ่: วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ต่อด้วย สถานีสามแยกบางใหญ่ : วัดมะเดื่อ  มณฑปหลวงปู่เกิด แวะพักที่ สถานีกระทรวงสาธารณสุข : พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข หายเหนื่อยแล้วไปต่อที่ สถานีแยกติวานนท์ : วัดทางหลวง นนทบุรี ขอพรหลวงพ่อพระพุทธเปิดโลกสัมฤทธิ์ และปิดท้ายที่ สถานีบางซ่อน : วัดเวตะวันธรรมาวาส ถ้าพร้อมแล้ว เรามาตีตั๋ว MRT สายสีม่วง แล้วไปมูสุขภาพให้แคล้วคลาด ปลอดภัยกันเลย

สถานีคลองบางไผ่ :  วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

  • วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ เล่งเน่ยยี่ 2 โดดเด่นด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมไทยจีนที่สวยงามอลังการ คล้ายคลึงกับพระราชวังต้องห้ามของกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ผู้คนนิยมมากราบไหว้ ขอพร ต่อองค์ทวยเทพ เจ้าแม่กวนอิม ตลอดจนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ในวัด รวมถึงเสริมดวงชะตา และแก้ปีชงด้วย
  • ซึ่งวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ เล่งเน่ยยี่ 2 คณะจีนนิกายสังสรรค์ ถูกสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในพ.ศ.2539
  • โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ได้เสด็จเป็นองค์ประธานวางศิลาฤกษ์ในขณะนั้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระราชานุญาตให้สร้างวัดแห่งนี้ โดยพระราชทานนามว่า “วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์” โดยใช้เวลาในการก่อสร้างกว่า 12 ปี จึงเสร็จแล้ว
  • ปัจจุบันวัดแห่งนี้เป็นที่นิยมแผ่หลายแก่ประชาชนทั่วไป ที่นินมต์มากราบสักการะขอพร และแก้ปีชง เนื่องจาก วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ 2 แตกสาขามาจาก วัดมังกร หรือวัดเล่งเนยยี่ เยาราช

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติเมื่อมากราบสักการะขอพรที่วัดเล่งเน่ยยี่ 2

1.ควรแต่งงานให้เรียบร้อยมิดชิด ผู้หญิงไม่ควรใส่เสื้อเปิดอก แขนกุด สายเดี่ยว กางเกงขาสั้น หรือกระโปรงที่สั้น เพื่อเป็นการเคารพต่อสถานที่

2.หากต้องการเข้าห้องน้ำ ควรเข้าตั้งแต่ชั้นล่างให้เรียบร้อย เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเดินทางมากราบสักการะมีจำนวนมาก และการเที่ยวชมความงดงามที่ด้านบนต้องใช้เวลากว่า 1 ชม. อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ

3.ควรพกเงินสดติดตัวมาด้วย เพื่อพร้อมต่อการทำบุญ

4.ผู้สูงวัย คนพิการ มีบริการลิฟต์เพื่อขึ้นไปยังชั้นอื่นๆ

5.ไม่ควรพกของมีค่าที่ราคาแพงติดตัวไป หรือหากพกไปด้วย ก็ให้ระมัดระวัง เนื่องจากนักท่องเที่ยวมีจำนวนมาก อาจจะมีมิจฉาชีพ ผู้ไม่หวังดีแฝงตัวเข้ามา

6.ควรสำรวมกาย วาจา ใจ ไม่ส่งเสียงดัง

วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์
วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์

ขั้นตอนการไหว้

1.ทำบุญชุดสะเดาะเคราะห์แก้ปีชงกับเจ้าหน้าที่ของวัด ใบฝากดวงปีชง 100 บาท และใบเสริมสิริมงคล 100 บาท รวมเป็น 200 บาท (กรุณาตรวจสอบข้อมูลกับทางวัดอีกครั้ง) ใครที่เป็นปีชงแต่ไม่สะดวกไปที่วัด ก็สามารถฝากคนอื่นให้ทำแทนได้

2.เขียนชื่อ-นามสกุล อายุ วัน เดือน ปีเกิด และเวลาตกฟาก (เวลาเกิด) ลงในใบฝากดวงแก้ปีชงสีแดง โดยจะต้องเทียบกับตารางการนับอายุแบบจีนก่อน ซึ่งทางวัดจะมีวางไว้ที่โต๊ะให้ตรวจสอบ ถ้าช่องไหนไม่รู้ให้เขียนคำว่า “ดี” ลงไปแทน

3.จากนั้นให้นำชุดฝากดวงปีชงพร้อมหยิบธูป 3 ดอกไปไหว้องค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย โดยจุดธูปแล้วยืนที่ด้านหน้าองค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย พร้อมอธิษฐานขอบารมีองค์ท่านช่วยคุ้มครองดวงชะตา ให้แคล้วคลาดปลอดภัยตลอดทั้งปี สามารถอ่านตามคำอธิษฐานในใบฝากดวงได้เลย หรือจะอธิษฐานเพิ่มเติมในสิ่งดีงามอื่นๆ ก็ได้เช่นกัน

4.เมื่ออธิษฐานเสร็จแล้ว ให้นำใบฝากดวงแก้ปีชง ปัดออกจากตัวเอง 12 ครั้ง  (ในกรณีที่ทำแทนคนอื่น ไม่ต้องปัด ให้อธิษฐานแทนก็พอ) เมื่อปัดเสร็จแล้วก็ให้นำใบฝากดวงวางไว้ที่กล่องด้านหน้าองค์เทพไท้ส่วยเอี้ย เพื่อฝากดวงชะตาให้ท่านช่วยคุ้มครองตลอดทั้งปี

5.นำธูปทั้ง 3 ดอกไปปักไว้ที่กระถางธูป เป็นอันเสร็จพิธี

บทสวดขอพรเทพเจ้าไท่ส่วยเอี๊ย

“กุ้ยจี๋นี้ ไท่ส่วย ชื้อเกี้ย แชกุง ขอให้คุ้มครอง ข้าพเจ้า (บอกชื่อ-สกุล) .. (บอกวัน-เดือน-ปีเกิด)

ขอให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง ขอให้มีสุขภาพแข็งแรง โชคดี และอื่นๆ ตามแต่ท่านปรารถนาจะขอพร”

พิกัด : วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2)

ที่อยู่ : 959 หมู่ 4 ถนนเทศบาล 9 ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

การเดินทาง : เดินทางด้วย MRT สายสีม่วง ลงสถานีคลองบางไผ่  

เวลาเปิดปิด : 06.00-18.00 น.

สถานีสามแยกบางใหญ่ : วัดมะเดื่อ  มณฑปหลวงปู่เกิด

หากจะกล่าวถึงวัดในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย ของจังหวัดนนทบุรี วัดมะเดื่อคงติดอยู่ในหมวดนี้ เนื่องจากสมัยอดีตมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง นามว่า “หลวงปู่เกิด” ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดมะเดื่อ ชาวบ้านในแถบนั้น มีความเชื่อและศรัทธาในตัวหลวงปู่เกิด ในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน

ประวัติของวัดมะเดื่อ

โดยประวัติของ วัดมะเดื่อ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 ช่วงปลายรัชสมัยกรุงธนบุรีเข้าต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีเรื่องเล่าขานกันว่า ตอนสร้างวัดพบต้นมะเดื่อขนาดใหญ่ อยู่กลางสวนผลไม้ จึงเป็นที่มาของชื่อวัดแห่งนี้ ว่า “วัดมะเดื่อ” หรือ วัดบางมะเดื่อ” สมัยนั้นวัดมะเดื่อเป็นเพียงวัดเล็กๆ ตั้งอยู่กลางสวนผลไม้เท่านั้น

จนกระทั่ง “หลวงปู่เกิด” พระนักสายปฏิบัติกัมมัฏฐาน ได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดมะเดื่อ โดยชาวบ้านในสมัยนั้น ศรัทธาและมีความเชื่อในตัวหลวงปู่เกิดเป็นอย่างมาก ในเรื่องแคล้วคลาดปลอดภัย อยู่ยงคงกระพัน

ซึ่งในขณะที่หลวงปู่เกิดเป็นเจ้าอาวาสได้จัดสร้างเครื่องรางของขลังหรือพระเครื่องพุทธคุณ มากมาย อาทิ  พระปิดตามหาอุตม์ เนื้อแร่บางไผ่ เนื้อสัมฤทธิ์และเนื้อทองแดง เป็นต้น เพื่อให้ญาติโยมทั้งหลายนำไปบูชา

โดยประวัติหลวงปู่เกิดได้มรณภาพไปในปี พ.ศ. 2464 สิริอายุ 60 ปี อุปสมบทมา 40 พรรษา

ปัจจุบันยังมีศิษยานุศิษย์และประชาชนเข้าไปกราบไหว้ขอพร รูปปั้นจำลอง “หลวงปู่เกิด” เป็นจำนวนมาก โดยจะเข้าไปอุโบสถกราบบูชาองค์พระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในอุโบสถชาวบ้านเรียก “หลวงพ่อโต” ปางมารวิชัยพุทธ และมาที่ มณฑปหลวงปู่เกิด กราบบูชาขอพรรูปหล่อหลวงปู่เกิดพระเกจิอาจารย์ตามความเชื่อของชาวประชากล่าวว่า ท่านอยู่ยงคงกระพันและด้านแคล้วคลาดปลอดภัย

พิกัด : วัดมะเดื่อ มณฑปหลวงปู่เกิด จ.นนทบุรี

ตั้งอยู่ : เลขที่ 11 หมู่ที่ 9 ซอยบางรักใหญ่ 16 ถนนรัตนาธิเบศร์ ตำบลบางรักใหญ่ อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี

การเดินทาง : MRT สายสีม่วง ลงสถานีสามแยกบางใหญ่

พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร

สถานีกระทรวงสาธารณสุข : พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  • (พระนาคปรก จาก สมเด็จเจ้าคุณธงชัย วัดไตรมิตร)  สุขภาพ แคล้วคลาด ปลอดภัย
  • หากใครที่มาย่านกระทรวงสาธารณสุข ต้องแวะกราบสักการะขอพรด้านสุขภาพ ความเป็นสิริมงคลกับ องค์พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร หรือ พระนาคปรก 9 เศียร
  • โดยพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร (พระนาคปรก 9 เศียร) ได้ถูกอันเชิญมาประดิษฐาน ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคาร 1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจปกป้องคุ้มครองบุคลากรสาธารณสุขที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ ในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลประชาชนให้มีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีมาอย่างต่อเนื่อง
  • ซึ่งได้ทำการสมโภชขึ้นในวันที่ 11 กันยายน 2564 โดยมีสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ และพระสงฆ์ 9 รูป เจริญพระพุทธมนต์ รวมถึงพิธีบวงสรวงโดยโหรพราหมณ์
  • โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข นำคณะผู้บริหารและบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข สักการะและสมโภชพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร (พระนาคปรก 9 เศียร)
  • ซึ่งพระนาคปรก 9 เศียร ได้รับเมตตาจากสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี (ธงชัย ธมฺมธโช) มอบให้มาประดิษฐาน
  • ทั้งนี้ พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร เป็นพระพุทธปฏิมาร่วมสมัย หล่อแยกเป็น 2 ส่วน ระหว่างองค์พระและฐานนาครององค์มีขนดซ้อนเรียง 7 ชั้นเป็นพุทธบัลลังก์ และมีองค์พญานาคแผ่พังพาน 9 เศียร ให้ทรงปลอดจากเภทภัยและหมู่มารที่มาผจญ รวมถึงคุ้มแดดคุ้มฝนให้ทรงสำราญพระวรกายตามตำนานที่กล่าวขานกันมาตั้งแต่อดีต เป็นคติธรรมที่นำมาสร้างเป็นพระพุทธปฏิมาจำลอง นัยยะเพื่อให้เกิดพุทธานุภาพ
  • โดยมีขนาดหน้าตักองค์พระกว้าง 30 นิ้ว ความสูง 2.90 เมตร ฐานกว้าง 1.20 เมตร น้ำหนักประมาณ 800 กิโลกรัม มีองค์ต้นแบบมาจากพระพุทธมหานวนาคปฏิมากรรุ่นแรก ปี 2541 ขนาด 5.5 นิ้ว สูง 8 นิ้ว ที่สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีจัดสร้างขึ้น เนื่องจากในช่วงปี 2540-2541 ประเทศไทยมีปัญหาเศรษฐกิจ IMF ต้องการปลดหนี้ให้ไทยเป็นเอกราช ปลดพันธนาการออกไป ให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ ร่างกายแข็งแรง เกิดความร่มเย็นเป็นสุขต่อประชาชนและประเทศชาติในภาวะวิกฤติ จากนั้นได้ทำพิธีมหาพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2541 ณ วัดไตรมิตรวิทยาราม โดยองค์พระพุทธมหานวนาคปฏิมากรรุ่นแรก จำลองมาจากพระพุทธรูปปางนาคปรก สมัยสุโขทัย พบเห็นที่วัดเจดีย์เจ็ดแถวในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ครั้งที่ได้จารึกแสวงบุญ ณ จ.สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ.2538-2541 จึงมีดวงจิตระลึกถึงพระราชศรัทธาของอดีตบูรพกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเเรกเริ่มสถาปนากรุง ถือเป็นหนึ่งในพระกำลังแผ่นดินของประเทศ พระปฏิมาอธิษฐานบารมีให้ผู้บูชาสักการะ คุ้มโทษ ปัดเป่าโพยภัย

การกราบสักการะพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร (พระนาคปรก 9 เศียร)

  • สำหรับประชาชนที่ต้องการไปกราบสักการะองค์พระพระพุทธมหานวนาคปฏิมากร (พระนาคปรก 9 เศียร) สามารถเดินทางมายังกระทรวงสาธารณสุข อาคาร 1 ด้านใน จะมีองค์พระพุทธมหานวนาคปฏิมากร (พระนาคปรก 9 เศียร) ประดิษฐานอยู่ตรงกลางอาคาร

คาถาบูชา พระนาคปรก

(ตั้งนะโม 3 จบ)

ยะโตหัง  ถะคินิ  อะริยายะ  ชาติยา

ชาโต  นาภิชานามิ  สัญจิจจะ   ปาณัง

ชีวิตา  โวโรเปตา  เตนะ  สัจเจนะ

โสตถิ  เต  โหตุ  โสตถิ  คัพภัสสะ ฯ

ขอบคุณข้อมูลจากรัฐบาลไทย

พิกัด: กระทรวงสาธารณสุข จ. นนทบุรี

ที่อยู่ : กระทรวงสาธารณสุข ตั้งอยู่บนถนนติวานนท์ จังหวัดนนทบุรี

การเดินทาง : สถานีรถไฟฟ้า MRT  สายสีม่วง โดยมีรายละเอียดทางเข้า-ออกสถานี ดังนี้

  • ทางออก 1 ซอยติวานนท์ 6
  • ทางออก 2 กระทรวงสาธารณสุข, โรงพยาบาลศรีธัญญา
  • ทางออก 3 ซอยติวานนท์ 1/1
  • ทางออก 4 สำนักงานสรรพากร ภาค 4
  • เวลาเปิด-ปิด :  วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 8:30 – 16:30 น.
  • ปิดทำการ เสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
วัดทางหลวง นนทบุรี
วัดทางหลวง นนทบุรี

สถานีแยกติวานนท์ : วัดทางหลวง นนทบุรี ขอพรหลวงพ่อพระพุทธเปิดโลกสัมฤทธิ์ผลทันใจ  แคล้วคลาด ปลอดภัย

  • วัดทางหลวง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ริมคลองบางเขน ในตำบลบางเขน อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 5 ไร่ 2 งาน
  • โดยวัดทางหลวง ตั้งขึ้นในสมัยอยุธยา มีเดิมชื่อว่า “วัดใหม่” เวลาต่อมากลายเป็นวัดร้างจนกระทั่งชาวบ้านได้ช่วยกันบูรณปฏิสังขรณ์วัดขึ้นใหม่ ในปี พ.ศ. 2471 โดยมีพระภิกษุพิมพ์ซึ่งมาจากภาคอีสานมาเป็นผู้ปกครองดูแลวัดแห่งนี้ ต่อมาพระมหาจันดี ศิริพลัง จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2475
  • และได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดทางหลวง” เมื่อ พ.ศ. 2478 ชื่อวัดทางหลวง มาจากชื่อทางหลวงแผ่นดินสายกรุงเทพฯ-นนทบุรี ซึ่งเป็นทางหลวงสายแรกติดกับวัด ซึ่งวัดทางหลวงได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ครั้งแรกเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ต่อมาเมื่ออุโบสถทรุดโทรมลงตามเวลา พระครูสังฆรักษ์ไผ่ เจ้าอาวาส จึงได้ร่วมกับพระสงฆ์และชาวบ้านสร้างอุโบสถขึ้นใหม่เมื่อ พ.ศ. 2527 และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2531 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร อาคารเสนาสนะ

ปูชนียวัตถุ

1. พระประธานประจำอุโบสถ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก กว้าง 29 นิ้ว สูง 44 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527

2. พระประธานประจำศาลาการเปรียญ ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 24 นิ้ว สูง 36 นิ้ว สร้างเมื่อพ.ศ.2522

3. รอยพระพุทธบาทจำลอง   กว้าง 22 นิ้ว สูง 56 นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ.2500

4. พระพุทธโสธรจำลอง  หน้าตักกว้าง 48 นิ้ว สูง 56 นิ้ว สร้างเมื่อพ.ศ.2533

5.รูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) หน้าตักกว้าง 24 นิ้ว สูง 36 นิ้ว   สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

6. รูปหล่อพระครูนนทกิจประสาธก์ อดีตเจ้าอาวาส    สร้างเมื่อ พ.ศ.2533

พิกัด : วัดทางหลวง จ.นนทบุรี

  • การเดินทาง : MRT สายสีม่วง ลงสถานีแยกติวานนท์
วัดเวตวันธรรมาวาส

สถานีบางซ่อน : วัดเวตวันธรรมาวาส ตะกรุด  แคล้วคลาด ปลอดภัย

วัดเตวันธรรมมาวาส หรือ วัดเชิงหวาย ตั้งอยู่เลขที่ 17 ซอยวัดเชิงหวาย ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี 21 หมู่ 4 แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ

  • หลังจากคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่สร้างวัด 28 ไร่ 1 งาน 12 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับ โรงเรียนศีลาจารพิพัฒน์ ทิศใต้ติดต่อกับคลองกระดาษ ทิศตะวันออกติดกับโรงเรียนเวตวันธรรมาวาส ทิศตะวันตกติดต่อกับชุมชนวัดเชิงหวาย วัดเวตะวันธรรมาวาส จัดตั้งขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2326 โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2508 เดิมมีชื่อว่า “วัดเชิงหวาย” หรือ “วัดเซิงหวาย” จัดสร้างโดยราษฎรอพยพหลบภัยสงครามจากอยุธยา ด้วยเพราะมีพระพุทธรูปศิลาทรายฝีมือช่างสมัยอยุธยาอยู่หลายองค์ แต่เดิมวัดตั้งอยู่กลางป่า เป็นป่าหวาย จึงเป็นที่มาของชื่อวัด (เดิม)
  • โดยอุโบสถ สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ .2510 สำหรับปูชนียวัตถุ มีพระประธาน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า “หลวงพ่อสัมฤทธิ์” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ปางมาวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง 7 นิ้ว
  • และในทุกปี จะมี ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์​ วัดเชิงหวาย จังหวัดนนทบุรี ประเพณีแห่เรือชักพระที่จัดขึ้นทุกปี ชาวคลองบางเขนจะร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานประเพณีแห่เรือชักพระ​ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนคลองบางเขน วัดเวตวันธรรมาวาส  
ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์​ วัดเชิงหวาย จังหวัดนนทบุรี
ระเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์​ วัดเชิงหวาย จังหวัดนนทบุรี

พิกัด: วัดเวตวันธรรมาวาส หรือ วัดเชิงหวาย

ตั้งอยู่ : 17/4 วัดเวตวันธรรมาวาส(วัดเซิงหวาย หลวงพ่อผล)ถ.กรุงเทพ-นนทบุรี

การเดินทาง : MRT สายสีม่วง สถานีบางซ่อน

เวลาเปิด-ปิด : 08.00 น.-17.00 น.

ขอขอบคุณภาพจาก วัดเวตวันธรรมาวาส และ วัดทางหลวง