วัดสักใหญ่
วัดสักใหญ่ เหมาะแก่ขอพรเรื่องการงาน การค้าขาย คนที่ทำธุรกิจล้มเหลว ให้มาขอพรพึ่งพระรัตนตรัยจากที่แห่งนี้ ด้วยการนั่งสมาธิ สวดมนต์ขอพรจากหลวงพ่อใหญ่องค์พระประธานในอุโบสถนี้ ขอตั้งหลักตั้งชัยใหม่ให้กับชีวิต เนื่องจากวัดแห่งนี้เคยเป็นวัดร้างมาก่อน เดิมเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่ริมคลองสักใหญ่ ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกทิ้งร้างในเหตุการณ์เสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ชาวบ้านและพระสงฆ์ถูกเกณฑ์ต้อนไปด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำทัพกลับมาจากหัวเมืองทางเหนือคือเชียงใหม่แล้วก็มาพักทัพบริเวณวัดสักใหญ่และได้อัญเชิญ “องค์พระพุทธรูปหลวงพ่อสุโขทัย” มาด้วยแล้วทรงทอดพระเนตรเห็นว่าวัดสักใหญ่เป็นวัดร้างก็ทรงโปรดฯ ให้บูรณะซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และทรงให้ประดิษฐานองค์หลวงพ่อสุโขทัยที่วัดสักใหญ่แห่งนี้ ทำให้วัดกลับมารุ่งเรือง ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูปและภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นพระพุทธเจ้าปางเปิดโลกที่งามยิ่งเปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ จนมีคำขวัญที่กล่าวต่อกันมาว่า
“หลวงพ่อศักดิ์สิทธิ์ ภาพพุทธประวัติล้ำค่า อุทยานปลาน่าชม เดินทางสวนผลไม้ และไม้ดอกงามตา”
เทคนิคมูขอพร ณ วัดสักใหญ่
จุดแรกที่ต้องมาขอพรกันก่อน คือ พญานาคทั้งสอง บริเวณบันไดโบสถ์ ด้วยพญานาค ถือเป็นองค์ธรรมบาลพระพุทธศาสนา พญานาคคู่ขวา คือ ” พลังชีวิต ” ส่วนพญานาคคู่ซ้าย คือความมายของ “ค้าขายดี” อ.โอเล่ ได้แนะนำว่า ก่อนเข้าไปกราบพระประธานในอุโบสถนั้น ผู้คนนิยมนำไข่ต้ม 9 ใบมาถวายพญานาค จากนั้นให้สรงน้ำพญานาคหน้าทางขึ้นก่อนเข้าไปไหว้พระในอุโบสถ โดยเริ่มรดน้ำจากดวงตาไล่ยาวไปตามลำตัวพญานาคทั้ง 2 แล้วจึงค่อยเข้าไปกราบพระประธาน
คาถาบูชาปู่นิลกาฬ
( ตั้งนะโม 3 จบ )
อะมุหะ กะสุภุ นะยะคะ
มะอะอุ นะโมพุทธายะ นาคานีระปาละ กัณหาโคตะมะ
ราเชนะ ลาโภ ลาภะ โภคา โภคะ นะมามิหัง ประสิทธิมัง อะหังวันทา
ข้าพเจ้าบูชาซึ่งนาคราชเจ้าทั้ง 9 ตระกูล ด้วยศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า
ขอความสำเร็จยังเกิดมีแก่ข้าพเจ้าในการที่ทำอยู่
ด้วยการบูชาต่อพญานิชปาลนาคราชผู้เป็นนาคราชแห่งเชื้อสายกัณหาโคตมะ
ขอท่านปู่จงบันดาลให้ข้าพเจ้ามีโชคลาภโภคทรัพย์เงินทอง ด้วยเถิด
จุดที่สอง นั่งสมาธิ สวดมนต์ขอพรจาก หลวงพ่อใหญ่ องค์พระประธานในอุโบสถนี้ ขอตั้งหลักตั้งชัยใหม่ให้กับชีวิต เหมาะแก่ขอพรเรื่องการงาน การค้าขาย คนที่ทำธุรกิจล้มเหลว ให้ตั้งสมาธิ สวดมนต์ต่อองค์หลวงพ่อใหญ่พระประธาน ขอพรดังตั้งใจ
จุดที่สาม นอกจากหลวงพ่อใหญ่อันเป็นองค์พระธานในโบสถ์แล้ว พระอุ้มบาตร หน้าโบสถ์ ก็เป็นอีกจุดที่ควรแก่การสักการะขอพรให้กินดีอยู่ดี ขอโชคขอลาภ เนื่องจากพระอุ้มบาตรไม่เคยกลับวัดด้วยบาตรเปล่า เมื่อพระออกบิณฑบาตรก็จะมีข้าว มีน้ำ มีภัตตาหารกลับวัดเสมอนั่นเอง ถือเป็นเคล็ดลับอีกหนึ่งจุดในการขอโชค
จุดที่สี่ ขอพรสุขภาพจาก หลวงพ่อสุโขทัย
หลวงพ่อสุโขทัยถูกสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างขึ้นสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทแผ่นดินสุโขทัย ตัวพระพุทธรูปมีขนาดไม่ใหญ่มากมีหน้าตักกว้าง 29 นิ้ว ส่วนสูง 42 นิ้ว ศิลปะสุโขทัยนั่งขัดสมาธิ ปางมารวิชัย พุทธลักษณะดูอ่อนช้อยหรือเรียกว่าหน้านางหรือเทวดา ส่วนรัศมีพระเกศเป็นเปลวเพลิง ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีความเก่าแก่ จึงเป็นที่นับถือของชาวบ้านย่านนี้และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก
ของไหว้หลวงพ่อสุโขทัย
- ผลไม้มงคล 9 อย่าง เช่น กล้วย อ้อย มะพร้าว ฯลฯ
- ไข่ต้ม
- ขนมจีน (เนื่องจากเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง มีความหมายดี เป็นอาหารมงคลของชาวมอญซึ่งอาศัยอยู่มากในย่านวัดนี้)
คาถาบูชาหลวงพ่อสุโขทัย
(ตั้งนะโม 3 จบ)
นะโมพุทธัสสะ นะโมธัมมัสสะ
นะโมสังฆัสสะ นะมามิหัง
ด้วยบุญกุศลที่ข้าพเจ้าเคยทำมา หากข้าพเจ้ามีโรคภัยไข้เจ็บอันใดติดตัวมา
ขอให้หายเจ็บหายไข้ ปลอดภัย กลับมาแข็งแรงในเร็ววัน
เมื่อไหว้เสร็จก็ลาอาหารทิพย์กลับไปบริโภคได้ และอย่าลืม นำน้ำมนต์ ซึ่งภายในอ่างน้ำมนต์เป็นน้ำมนต์อายุ 100 ปีผสมผสานวนอยู่ภายในอ่าง มีการประกอบพิธีสวดมนต์ซ้ำไปซ้ำมาทำให้ก่อเกิดพุทธคุณในอ่างน้ำมนต์ เป็นสิริมงคลอย่างยิ่งควรแก่การนำไปบูชา ประพรมร่างกาย
เคล็ดไม่ลับ : ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ วันพุธ และวันพฤหัสบดี ควรแก่การมาสักการะกราบขอพรสุขภาพกับหลวงพ่อสุโขทัย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
เพียงทำตาม 4 ขั้นตอนนี้ ความเป็นสิริมงคลจะอยู่กับตัวผู้กราบไหว้ และเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้ที่อธิษฐานเป็นจริงได้มากยิ่งขึ้นนั่นเอง
MTHAI บริการใส่บาตรออนไลน์ครั้งถัดไป นำโดย อ.ธนพงศ์ ในวันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม 2566 แรม 15 ค่ำ เดือน 6 ณ วัดสักใหญ่ บางกรวย
สนใจบริการใส่บาตรออนไลน์
กดลิงก์ที่เฟซบุ๊ก MThai
https://m.me/18079440675
ที่ตั้ง : เลขที่ 104 หมู่ที่ 9 ถนนบางกรวย-จงถนอม ตำบลวัดชลอ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี 11130
Google Maps : https://goo.gl/maps/sTergK2VBVrEWwiJ6
เวลาเปิด – ปิด : 08.00 น. – 18.00 น.
ภาพโดย SUTEE
เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
MThai เปิดบริการใส่บาตรออนไลน์ (ทุกวันพระ)