พระพิฆเนศ พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ แก้ดวงตก

สักการะ พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ แก้ดวงตก ขจัดอุปสรรค

หากแต่ในกรุงเทพเองเราก็มี พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ เป็นของเราเองมาแต่ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สำหรับใครที่อยากแวะมามูเตลูแบบได้ความรู้ด้านวัตถุโบราณอื่นๆ ไปด้วย ในบรรยากาศแอร์เย็นฉ่ำๆ เราแนะนำให้มาขอพรได้ที่นี่ อาคาร 4 ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ค่ะ

Home / กรุงเทพมหานครฯ / สักการะ พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ แก้ดวงตก ขจัดอุปสรรค

จุดมูฮอตฮิตติดลมบนสำหรับสายมูองค์เทพ พระพิฆเนศ ที่ไม่มีแผ่วเลย คือ พระพิฆเนศปางนั่งทับหัวกะโหลก ที่วัดปราสาท จ.อยุธยา หากแต่ในกรุงเทพเองเราก็มี พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ เป็นของเราเองมาแต่ครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สำหรับใครที่อยากแวะมามูเตลูแบบได้ความรู้ด้านวัตถุโบราณอื่นๆ ไปด้วย ในบรรยากาศแอร์เย็นฉ่ำๆ เราแนะนำให้มาขอพร พระพิฆเนศปางนั่งทับหัวกะโหลก หรือ พระพิฆเนศปางชวาได้ที่นี่ อาคาร 4 ชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร กรุงเทพมหานคร ค่ะ

พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ

พระพิฆเนศนั่งหัวกะโหลก กรุงเทพ

พระคเณศ ปางชวา

สักการะ “พระคเณศปางประทับนั่งหัวกะโหลก (ศิลปะชวา)” หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “พระคเณศ ปางชวา” ซึ่งปรากฎในลักษณะ “คณปติ” หรือผู้เป็นใหญ่ในเหล่าคณะบริวารของพระศิวะ

พระคเณศปางประทับนั่งหัวกะโหลก

ซึ่งไทยเราได้รับพระพิฆเนศ ศิลปะชวาองค์นี้มา เมื่อ พ.ศ. 2439 ครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสชวา ประเทศอินโดนีเซีย ในครั้งนั้น ผู้สำเร็จราชการฮอลันดา ณ เกาะชวา ได้น้อมเกล้าฯ ถวาย พระคเณศ 4 กร ศิลปะชวาภาคตะวันออก พุทธศตวรรษที่ 15-16 จากจันทิสิงหส่าหรี

พระพิฆเนศ

พระพิฆเนศปางประทับนั่งหัวกะโหลก (ศิลปะชวา) มีเทวลักษณะที่ดูเข้มขลังน่าเกรงขาม แกะสลักจากหินภูเขาไฟ โดย พระพิฆเนศ มี 4 กร กรขวาบนถืออังกุศ (ขอช้าง) กรขวาล่างถือกบาล (ชามหัวกะโหลก) ส่วนกรซ้ายบนถืออักษมาลา (สร้อยประคำ) และกรซ้ายล่างถือกบาลใส่ขนมโมทกะ ทรงใช้งวงหยิบเหนือชามขนม ประทับนั่งแยกพระชงฆ์ หันฝ่าพระบาทเข้าหากันบนฐาน (กอ) บัว ประดับด้วยกะโหลกมนุษย์โดยรอบ พัสตราภรณ์ล้วนตกแต่งลวดลายด้วยกะโหลกมนุษย์และหน้าสิงห์ พนักด้านขวาและซ้ายสลักเป็นรูปพระอาทิตย์กับพระจันทร์ มีนาคแผ่พังพานรอบพระเศียร สวมยัชโญปวีต สัญลักษณ์แห่งพราหมณ์ด้วยงู ถือเป็นเทวรูปองค์สำคัญอีกองค์หนึ่งของพิพิธภัณฑ์

การถือหัวกะโหลกก็ดี ประทับนั่งบนหัวกะโหลกก็ดี หมายถึง การมีอำนาจเหนือภูต ผี ปีศาจ และสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง การบูชาพระพิฆเนศปางนี้ จึงเป็นการบูชาเพื่อขจัดปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย มนต์ดำ สิ่งอัปมงคล โรคภัย และที่สำคัญคือกำจัดศัตรูให้หมดสิ้นไป

หมายเหตุ :

  • ค่าบัตรเข้าชม ชาวไทยท่านละ 30 บาท , ชาวต่างชาติ ท่านละ 200 บาท
  • ห้ามจับต้องเทวรูป และวัตถุโบราณทั้งหมดในพิพิธภัณฑ์
  • ห้ามส่งเสียงดัง
  • ห้ามนำเครื่องดื่ม ขนมและอาหารเข้าไปภายในห้องจัดแสดง
  • สำหรับกระเป๋าเป้ และกระเป๋าสะพายใบใหญ่ต้องฝากไว้ที่ตู้ล็อคเกอร์ด้านหลังห้องจำหน่ายตั๋ว (มีค่าธรรมเนียมการฝาก)

ภาพโดย MTHAI TEAM

ที่อยู่ : อาคาร 4 ชั้น 2 ห้องลพบุรี พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
Google map : https://maps.app.goo.gl/AEKx6qmH3Pd665Li7
วันและเวลาทำการ : วันพุธ -วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 8.30 น. – 16.00 น. (ปิดวันจันทร์ – อังคาร)

เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
วิธีสรงน้ำปัญจอมฤต แด่องค์พระพิฆเนศ ในเทศกาล “คเณศจตุรถี”
คาถาบูชาพระพิฆเนศตามปางเกิด ทั้ง 7 วัน มูเสริมมงคล สุขสำเร็จทุกประการ
ไหว้พระพิฆเนศวันไหนดี? ไหว้ถูกวันเสริมมงคล สำเร็จทุกด้าน