คำขอขมาพระแม่คงคา ประวัตินางนพมาศ ประวัติวันลอยกระทง 2566 พิกัดลอยกระทง 2566

ประวัติวันลอยกระทง-นางนพมาส 2566

วันลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยที่สืบต่อกันมายาวนาน โดยจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย

Home / TRAVEL / ประวัติวันลอยกระทง-นางนพมาส 2566

วันลอยกระทง เป็นประเพณีสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยที่สืบต่อกันมายาวนาน โดยจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา มักจะตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับวันลอยกระทง 2566 นี้ ตรงกับ วันจันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

ประวัติวันลอยกระทง แต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง”

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียงที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 1

ประวัตินางนพมาศ
ประวัตินางนพมาศ

ประวัตินางนพมาศ

  • นางนพมาศ เกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วงสุโขทัย บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)หรือพระร่วงเจ้าสุโขทัย จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง “ท้าวศรีจุฬาลักษณ์” พระสนมเอก
  • ปรากฏในพงศาวดารว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
  • ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน นำไปถวายพระร่วงเจ้า เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงเจ้ามาก
  • ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทรัศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
  • ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้

นางนพมาศ ได้สมญาว่า “กวีหญิงคนแรกของไทย”

  • นางนพมาศเป็นบุคคลที่ได้สมญาว่า “กวีหญิงคนแรกของไทย” ดังที่เขียนไว้ว่า “ทั้งเป็นสตรี สติปัญญาก็น้อยกว่าบุรุษ แล้วก็ยังอ่อนหย่อนอายุ กำลังจะรักรูปและแต่งกาย ซึ่งอุตสาหะพากเพียร กล่าวเป็นทำเนียบไว้ ทั้งนี้เพื่อหวังจะให้สตรีอันมีประเภทเสมอด้วยตน พึงให้ทราบว่าข้าน้อยนพมาศ กระทำราชกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นการควรกับเหตุ ถูกต้องพระราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อแสียงว่าเป็นสตรีนักปราชญ์ ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน”
คำขอขมาพระแม่คงคา
คำขอขมาพระแม่คงคา

คำขอขมาพระแม่คงคา

(ตั้งนะโม 3 จบ)
สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

คำแปล

  • ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานที ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ
พิกัดวันลอยกระทง
พิกัดวันลอยกระทง

โดยวันลอยกระทงปี 2566 สถานที่จัดงานจะจัดทั่วทุกจังหวัด อาทิ

24 – 28 พฤศจิกายน : สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง ณ คลองผดุงกรุงเกษม (ย่านหัวลำโพง) กรุงเทพมหานคร
18 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
26 – 28 พฤศจิกายน : ประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
24 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป ๑๐๐๐ ดวง จังหวัดตาก
26 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีสมมาน้ำ คืนเพ็ง เส็งประทีป เมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
18 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีงานลอยกระทงกาบกล้วย เมืองแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม
25 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีลอยกระทงสวรรค์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
26 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีล่องสะเปาจาวละกอน จังหวัดลำปาง
25 – 27 พฤศจิกายน : สีฐานเฟสติวัล 2566 “บุญสมมาบูชานาค” จังหวัดขอนแก่น
27 พฤศจิกายน : งานสืบสานประเพณีลอยกระทงห่มผ้าพระเจดีย์กลางน้ำ จังหวัดระยอง
27 พฤศจิกายน : ประเพณีลอยกระทงกะลาสาย กะลาสี จังหวัดนครสวรรค์
26 – 27 พฤศจิกายน : ประเพณีลอยกระทงย้อนยุค จังหวัดลพบุรี

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

13 พิกัดลอยกระทงทั่วไทย 2566

กระทงบอกนิสัย ลอยกระทง ปีนี้เลือกกระทงแบบไหนกันวิ

ปักพิกัด 33 สวนสาธารณะ ลอยกระทงรอบกรุง