เหรียญโอลิมปิก โตเกียวเกมส์ โอลิมปิก 2020

ขยะสู่เกียรติยศ! เหรียญ โอลิมปิกเกมส์ สุดรักษ์โลกจากความร่วมมือของคนญี่ปุ่น

มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง โอลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว จะเปิดฉากขึ้นในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งคอกีฬาอย่างเราๆ เริ่มจะเห็นรูปร่างของการแข่งขันที่ทั่วโลกรอคอยขึ้นเยอะแล้ว ณ เวลานี้ แน่นอนว่าการที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พวกเขาขึ้นชื่อเรื่องความครีเอทอยู่แล้ว จะเห็นได้จากในวันที่รับไม้ต่อมาจาก “ริโอเกมส์” ประเทศบราซิล ด้วยการนำเหล่าตัวการ์ตูนดังมาสร้างสีสัน…

Home / SPORT / ขยะสู่เกียรติยศ! เหรียญ โอลิมปิกเกมส์ สุดรักษ์โลกจากความร่วมมือของคนญี่ปุ่น

มหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง โอลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว จะเปิดฉากขึ้นในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งคอกีฬาอย่างเราๆ เริ่มจะเห็นรูปร่างของการแข่งขันที่ทั่วโลกรอคอยขึ้นเยอะแล้ว ณ เวลานี้

แน่นอนว่าการที่ญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน พวกเขาขึ้นชื่อเรื่องความครีเอทอยู่แล้ว จะเห็นได้จากในวันที่รับไม้ต่อมาจาก “ริโอเกมส์” ประเทศบราซิล ด้วยการนำเหล่าตัวการ์ตูนดังมาสร้างสีสัน ก่อนที่ ชินโซะ อาเบะ นายกเทศมนตรีของญี่ปุ่นจะขึ้นมาด้วยหมวด มาริโอ้ สร้างเสียงเกรียวกราวไปทั่วโลก

และด้วยความที่ “โตเกียวเกมส์” ใกล้เปิดฉากเข้าไปทุกขณะ สิ่งหนึ่งที่เหล่าผู้จัดการแข่งขันในครั้งนี้หายกังวลคือ “เหรียญรางวัล”

 

เหรียญจากขยะอิเล็กโทรนิกส์เกือบ 80,000 ตัน

ซึ่งความที่เป็น ญี่ปุ่น เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความล้ำหน้าทาง “เทคโนโลยี” พวกเขาเกิดปิ๊งไอเดียในการนำ “ขยะอิเล็กโทรนิกส์” มาผลิตเป็นเหรียญรางวัลสำหรับนักกีฬา ทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง นับว่าเป็นไอเดียที่เข้ายุคเข้าสมสัยเป็นอย่างมาก เพราะปัจจุบันหลายประเทศพยายามผลักดันการรักษ์โลกให้ได้มากที่สุด

โครงการเหรียญรางวัล โตเกียวเกมส์ ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายน ปี 2017 ด้วยการชักชวนให้ชาวญี่ปุ่นบริจาคเครื่องมือสื่อสารและอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ที่ไม่ใช้แล้ว ซึ่งได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนและชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก ก่อนจะรวบรวมขยะอิเล็กโทรนิกส์ได้ถึง 78,985 ตัน เพื่อนำมาผลิตเป็นเหรียญรางวัลราว 5,000 เหรียญ สำหรับการแข่งขันทั้งสองรายการ (โอลิมปิก และ พาราลิมปิก)

จากการให้ความร่วมมือตลอดสองปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้จัดการแข่งขันประหยัดการใช้แร่ทองไปถึง 71 ปอนด์, แร่เงิน 7,700 ปอนด์ และแร่ทองแดง 4,850 ปอนด์ เลยทีเดียว

………

 

แสง และ ความแวววาว

และจากผู้เข้าร่วมออกแบบเหรียญรางวัลกว่า 400 ราย เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา หรืออีก 1 ปีที่จะเริ่ม โอลิมปิก 2020 ทางผู้จัดการแข่งขันได้ประกาศแบบเหรียญที่จะใช้มอบให้กับนักกีฬาในครั้งนี้เป็นที่เรียบร้อย โดยดีไซน์ดังกล่าวมาจาก จุนอิชิ คาวานิชิ ดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่น

โดยการออกแบบดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิด “แสง” และ “ความแวววาว” สำหรับการบรรลุเป้าหมายที่เหล่านักกีฬาทุกคนที่ต่างต้องการชัยชนะ ซึ่งตัวเหรียญมีลักษณะคล้ายหินขรุขระที่ได้รับการขัดเงาจนสามารถสะท้อนแสงได้

กล่าวคือ “แสง” เปรียบดั่งสัญลักษณ์พลังงานของนักกีฬาและผู้ที่คอยหนุนหลังพวกเขา ซึ่งนักกีฬานั้นเป็นเหมือนตัวแทนที่ทำงานอย่างหนักเพื่อให้ได้มาซึ่งเกียรติยศ ขณะที่ “ความแววาว” สะท้อนให้เห็นถึงความอบอุ่นจากมิตรภาพอันปรากฏผ่านการจับมือกันของผู้คนทั่วโลก

ส่วนอีกด้านทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้มีข้อกำหนดให้มี 1) ไนกี เทพีแห่งชัยชนะตามตำนานเทพปกรณัมกรีก 2) ชื่ออย่างเป็นทางการของ โอลิมปิก 2020 3) สัญลักษณ์ห้าห่วงของโอลิมปิก

 

………

 

โลโก้ โอลิมปิก 2020

สำหรับโลโก้ โอลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว มีเรื่องดราม่าเกิดขึ้น เมื่อมีการกล่าวหาว่าโลโก้ดังกล่าวมีความละม้ายคล้ายคลึงกับตราสัญลักษณ์ เธียร์เตอร์ เดอ ลีแอช (Théâtre de Liège) โรงละครของเบลเยี่ยม จนต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น

 

 

สำหรับโลโก้ปัจจุบันอย่างที่เราเห้นกันทุกวันนี้ เป็นการออกแบบจาก อาซาโอะ โทโคโละ ศิลปินชาวญี่ปุ่น โดยมีรูปแบบตาหมากรุกอันได้แรงบันดาลใจมาจากลาย “อิชิมัตสึ โมโยะ” ที่ได้รับความนิยมในสมัยเอโดะ (ระหว่างปี 1603-1867) โดยตาหมากรุกสีครามน้ำเงินแสดงออกถึง “ความสง่างาม” และ “ความซับซ้อน” ในแบบญี่ปุ่น นอกจากนี้คำดังกล่าวยังพ้องกับคำว่า “หนึ่งเดียวกัน” อีกด้วย

 

 

โดยสี่เหลี่ยมที่มีลักษณะต่างกันสามแบบแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของประเทศ, วัฒนธรรม และวิถีความคิด อันทำให้โลกเป็นสถานที่ที่มีชีวิตชีวา แต่สามารถรวมเป็นหนึ่งเดียวกันได้จากความเคารพและการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งคอยย้ำเตือนว่าเราทุกคนต่างเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงความสามารถและความพิการแต่อย่างใด

 

เรียกได้ว่าความเป็นญี่ปุ่นนั้นมีทั้งไอเดียสร้างสรรค์และนัยยะที่แฝงอยู่แทบทุกสิ่งอย่าง ซึ่ง “โตเกียวเกมส์” จะเปิดฉากอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 กรกฎาคม 2020 – 9 สิงหาคม 2020

 

ที่มา

  • https://tokyo2020.org/en/games/medals/olympic-design
  • https://tokyo2020.org/en/games/medals/project/
  • https://tokyo2020.org/en/games/emblem/
  • https://www.usatoday.com/story/money/2019/07/24/tokyo-2020-olympic-medal-project-recycled-cellphones-electronics/1820927001