กติกาฟุตบอล คลิป ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลก 2019 ฟุตบอลโลกหญิง 2019

ดราม่า ฟุตบอลโลกหญิง กับ กฎกติกาฟุตบอลใหม่ ที่เข้มงวดขึ้น(คลิป)

กลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างหนักในเกม ฟุตบอลโลกหญิง 2019 ระหว่าง สก็อตแลนด์ กับ อาร์เจนติน่า นอกจากการคัมแบ็คกลับมาอย่างเหลือเชื่อของทีมฟ้าขาวที่ซัลโวสามประตูรวดไล่ตีเสมอสาวสก็อตได้อย่างสนุก ยังมีเรื่องดราม่าของการใช้วิดีโอช่วยตัดสินหรือ VAR หลังจากผู้ตัดสินให้จุดโทษ อาร์เจนติน่า ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ   โดยในการยิงครั้งแรกเป็นฝ่ายผู้รักษาประตูสก็อตที่เซฟไว้ได้…

Home / SPORT / ดราม่า ฟุตบอลโลกหญิง กับ กฎกติกาฟุตบอลใหม่ ที่เข้มงวดขึ้น(คลิป)

กลายเป็นประเด็นถกเถียงอย่างหนักในเกม ฟุตบอลโลกหญิง 2019 ระหว่าง สก็อตแลนด์ กับ อาร์เจนติน่า นอกจากการคัมแบ็คกลับมาอย่างเหลือเชื่อของทีมฟ้าขาวที่ซัลโวสามประตูรวดไล่ตีเสมอสาวสก็อตได้อย่างสนุก ยังมีเรื่องดราม่าของการใช้วิดีโอช่วยตัดสินหรือ VAR หลังจากผู้ตัดสินให้จุดโทษ อาร์เจนติน่า ในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ

 

โดยในการยิงครั้งแรกเป็นฝ่ายผู้รักษาประตูสก็อตที่เซฟไว้ได้ แต่เมื่อผู้ตัดสินได้ดูเหตุการณ์อีกครั้งจาก VAR จึงสั่งให้มีการยิงใหม่เนื่องจาก ลี อเล็กซานดรา ผู้รักษาประตูสาววิสกี้เท้าไม่เหยียบเส้นประตูก่อนที่จะมีการยิง จนการยิงแก้ตัวครั้งที่สองเข้าประตูไป ทำให้สกอร์จบลงที่ 3-3 สก็อตแลนด์ ตกรอบไปอย่างสนิทท่ามกลางเสียงวิจารณ์ของแฟนบอลบางคนที่ยังอยู่ในอารมณ์คาใจ

 

แน่นอนว่ากฎก็ย่อมเป็นกฎ สืบเนื่องจาก สหพันธ์กติกาฟุตบอลนานาชาติ หรือ IFABเพิ่งจะออกกฎว่าในขณะยิงจุดโทษ ผู้รักษาประตูต้องมีเท้าข้างหนึ่งเหยียบบนเส้นประตู รวมไปถึงการห้ามขยับตัว ห้ามแตะเสาหรือคานประตู หรือห้ามยืนหลังเส้นประตู”  เหตุการณ์ที่ผู้รักษาประตูพุ่งออกมานอกเส้นแบบนี้ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นใน ฟุตบอลหญิงชิงแชมป์โลกหนนี้ แต่ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้วในทัวร์นาเมนต์นี้ และทุกครั้งก็ต้องถูกสั่งให้มีการยิงใหม่

 

เรื่องนี้กลายเป็นประเด็นใหญ่ในอังกฤษพอสมควร เพราะมันเกิดกับทีมร่วมเกาะอย่าง สก็อตแลนด์ และ พรีเมียร์ลีก เองก็กำลังจะเริ่มประเดิมใช้ VAR กันในฤดูกาลหน้า 2019/20 แต่กฎของ พรีเมียร์ลีก จะไม่เหมือนกับที่ใช้ในเกม ฟุตบอลโลกหญิง เพราะในจังหวะยิงจุดโทษจะปล่อยให้หน้าที่นี้เป็นการตัดสินใจเของผู้ตัดสินในสนามล้วนๆ โดยที่ผู้ตัดสินที่รับผิดชอบในฝ่าย VAR จะไม่มีส่วนร่วม

กฎกติกาที่เพิ่งออกมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา โดย IFAB หรือ คณะกรรมการฟุตบอลระหว่างประเทศ ยังมีอีกหลายข้อ ตัวอย่างเช่น

– การเปลี่ยนตัวออกจากสนาม ผู้เล่นต้องออกจากสนาม ด้วยการเดินออกจากสนาม ในฝั่งที่ใกล้ที่สุด ไม่จำเป็นต้องเดินมาเปลี่ยนตัว ณ เส้นกึ่งกลางสนาม บริเวณจุดยืนของผู้ตัดสินที่ 4 หากผู้เล่นปฏิเสธจะออกจากสนาม ให้ดำเนินการแข่งขันต่อไปทันที

– หากลูกฟุตบอลสัมผัสโดนตัวผู้ตัดสิน และบอลอยู่ในสนาม ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเล่นของทีมบุก, บอลเปลี่ยนทางเข้าประตู หรือทีมสูญเสียการครองบอล ให้ถือว่าบอลนั้น เป็นบอลตาย และเริ่มเกมใหม่อีกครั้ง ด้วยการดร็อปบอล หากบอลสัมผัสโดนตัวผู้ตัดสิน แล้วไปชนเสา, ชนคาน หรือธงเตะมุม ให้ถือว่าเกมยังดำเนินต่อไป

– หากมือหรือแขนของผู้เล่นฝ่ายรุก โดนบอลในกรอบเขตโทษ ให้ถือว่าเป็นแฮนด์บอลทุกกรณี โดยไม่พิจารณาว่าเจตนาหรือไม่

– หากมีการตั้งกำแพงป้องกันลูกฟรีคิก อย่างน้อย 3 คน ผู้เล่นทีมรุกต้องอยู่ห่างจากกำแพงอย่างน้อย 1 เมตร (1 หลา) ห้ามยืนคั่นอยู่ในกำแพง หากไม่ปฏิบัติตาม จะเสียฟรีคิกสองจังหวะ ณ จุดตั้งของกำแพง

นี่เป็นแค่ตัวอย่างเท่านั้น กฎเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในระบบฟุตบอลลีกในฤดูกาลหน้า ซึ่งน่าจะส่งผลเป็นวงกว้างมากกว่าในทัวร์นาเมนต์ระดับทีมชาติ แต่จะมีผลกระทบต่อความเข้มข้น และอรรถรสของเกมฟุตบอลหรือไม่ เรื่องนี้คงต้องรอให้ผู้ชมได้ตัดสิน