ประเทศบาห์เรน ประเทศออสเตรเลีย ฮาคีม อัล – อาไรบี

เปิดไทม์ไลน์คดี ‘ฮาคีม อัล-อาไรบี’ ที่ไทยตกอยู่ในฐานะตัวกลางของปมปัญหา

กลายเป็นประเด็นร้อนระหว่างประเทศ สำหรับกรีณีของ ฮาคีม อัล-อาไรบี อดีตแข้งเยาวชน ทีมชาติบาห์เรน ที่ถูกทางการไทยควบคุมตัว ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา จนล่าสุดเรื่องดังกล่าวเริ่มบานปลายมากยิ่งขึ้น หลังอัยการสำนักงานต่างประเทศได้ยื่นคำร้องศาลอาญาขอให้ขังไว้ก่อนเป็นเวลา 60 วัน…

Home / SPORT / เปิดไทม์ไลน์คดี ‘ฮาคีม อัล-อาไรบี’ ที่ไทยตกอยู่ในฐานะตัวกลางของปมปัญหา

กลายเป็นประเด็นร้อนระหว่างประเทศ สำหรับกรีณีของ ฮาคีม อัล-อาไรบี อดีตแข้งเยาวชน ทีมชาติบาห์เรน ที่ถูกทางการไทยควบคุมตัว ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. ที่ผ่านมา

จนล่าสุดเรื่องดังกล่าวเริ่มบานปลายมากยิ่งขึ้น หลังอัยการสำนักงานต่างประเทศได้ยื่นคำร้องศาลอาญาขอให้ขังไว้ก่อนเป็นเวลา 60 วัน ซึ่งศาลให้นำตัวนายฮาคิมไปควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เพื่อรอการยื่นคำร้องขอส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดน ตามคำร้องขอของรัฐบาลต่างประเทศ และนี่คือไทม์ไลน์โดยย่อของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…

  • เหตุการณ์ดังกล่าวเริ่มต้นจากผลพวงของ อาหรับสปริง ซึ่งเป็นการปฏิวัติโดมิโนในโลกอาหรับทั้งในแอฟริกาและตะวันออกกลาง ที่พยายามโค่นล้มรัฐบาลตามประเทศต่างๆ ซึ่งหนึ่งนั้นมี บาห์เรน อันมาจากความขัดแย้งกันระหว่างสองฝ่าย คือ ฝ่ายปกครอง กับ ฝ่ายประชาชน ซึ่งเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2554

 

  • ในปี 2555 นายฮาคีม อัล-อาไรบี ซึ่งมีดีกรีเป็นแข้งเยาวชนของบาห์เรน ถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในผู้ชุมนุม พร้อมถูกศาล บาห์เรน ตั้ง 4 ข้อหา อันได้แก่ 1.ลอบวางเพลิง 2.ชุมนุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย 3.ครอบครองวัตถุไวไฟ 4.ทำให้รถยนต์ผู้อื่นเสียหาย แต่ ฮาคีม ได้ให้การปฏิเสธข้อกล่าวหาทั้งหมด โดยให้การว่าในช่วงที่เกิดเหตุนั้น ตัวเขากำลังทำการแข่งขันฟุตบอลที่มีการถ่ายทอดสด ซึ่งมีผู้ชมผ่านทางโทรทัศน์เห็นโดยทั่วกัน

 

  • ทั้งนี้ ฮาคีม อ้างว่าถูกเจ้าหน้าที่ทรมานอย่างหนัก เพื่อกดดันให้เขายอมรับสารภาพ พร้อมทั้งขู่จะทำร้ายร่างกายไม่ให้เล่นฟุตบอลได้อีกต่อไป ซึ่งเจ้าตัวให้การว่าเป็นน้องชายเขาที่เข้าร่วมการชุมนุมในช่วง อาหรับสปริง และยังคงยืนยันในความบริสุทธิ์ในครั้งนี้

 

  • ฮาคีม ได้หนีออกจาก บาห์เรน ในปี 2557 ทำให้ศาล บาห์เรน พิจารณาคดีลับหลังเป็นการลงโทษจำคุกทันที 10 ปี ซึ่งประเทศปลายทางของเขาอยู่ที่ ออสเตรเลีย โดยเล่นฟุตบอลในลีกรองของออสเตรเลียเป็นการเลี้ยงชีพ

 

  • หลังจากวนเวียนในทีมลีกรองของ ออสเตรเลีย นาน 3 ปี ฮาคีม ได้รับ “สัญชาติผู้ลี้ภัย” ในปี 2560 ซึ่งทางการ บาห์เรน ไม่สามารถทำอะไร ฮาคีม ได้ เนื่องจากอาศัยอยู่ใน ออสเตรเลีย

 

  • ด้วยเหตุนี้ บาห์เรน จึงแก้เกมด้วยการแจ้งคดีไว้กับ อินเตอร์โพล หรือ องค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ตำรวจสากล) โดย ฮาคีม มีชื่ออยู่ในลิสต์ “หมายแดง” เป็นบุคคลที่มีความผิดทางอาญาตามกฎหมายของ บาห์เรน และรอการส่งตัวข้ามแดนหากมีการจับกุมตัวได้

 

  • เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ฮาคีม ตัดสินใจเดินทางจาก ออสเตรเลีย มายัง ประเทศไทย เพื่อฮันนีมูนกับภรรยา โดยอ้างว่าทางการ ออสเตรเลีย ยืนยันว่าสามารถเดินทางมายัง ประเทศไทย ได้ แต่ด้วยความที่เขามีชื่อติดลิสต์จาก อินเตอร์โพล ทำให้ ไทย ต้องจับกุมตัว ฮาคีม ที่สนามบินสุวรรณภูมิ

 

 

  • ว่ากันว่า อินเตอร์โพล ทำผิดพลาด หลังทางการ ออสเตรเลีย ยื่นเรื่องไปทาง อินเตอร์โพล ว่า ฮาคีม ไม่ใช่ผู้ร้าย หากแต่เป็นผู้ลี้ภัยทางการเมือง ก่อนที่ อินเตอร์โพล จะทำการถอนชื่อ ฮาคีม ออกจากลิสต์ “หมายแดง” ซึ่ง ณ เวลานั้นทางไทยก็พร้อมส่งตัว ฮาคีม กลับ ออสเตรเลีย แต่ไม่ทันการเสียแล้ว เนื่องจากเรื่องดังกล่าวถึงหูของ รัฐบาลบาห์เรน และทราบดีว่า ฮาคีม ยังคงถือพาสปอร์ตบาห์เรน พร้อมกับทำเรื้่องให้ ไทย ส่งตัว ฮาคีม ให้กลับไปรับโทษที่ บาห์เรน แม้จะไม่มีสนธิสัญญาส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนก็ตามที

 

  • เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้คนลูกหนังและคนกีฬาทั่วโลกต่างติดแฮชแท็ก #SaveHakeem นอกจากนี้ยังโดนวิจารณ์จากโลกออนไลน์เละเทะ ขณะที่ ฮิวแมนไรท์วอทช์ ขู่ ไทย ว่ามีสิทธิ์โดน ฟีฟ่า คว่ำบาตรไม่ให้ลงเล่น ฟุตบอลโลก 2022 รอบคัดเลือกอย่างไรก็ตามทาง ฟีฟ่า ไม่ได้ออกมาให้ความเห็นใดๆ ต่อเรื่องนี้ เพียงแต่หวังให้เรื่องนี้คลี่คลายโดยเร็วจากการประชุที่ซูริคเท่านั้น

 

  • วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ฮาคีม ปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนอีกครั้ง แต่คราวนี้ ฮาคีม มาในชุดนักโทษและมีตรวนที่ข้อเท้า สร้างความไม่พอใจกับฝ่ายสนับสนุนเขาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ ฮาคีม ได้เบิกความต่อศาลว่าไม่อยากกลับ บาห์เรน และกำหนดให้มีการส่งคำคัดค้านในวันที่ 5 เมษายนนี้ ก่อนที่ศาลจะมีการนัดตรวจพยานหลักฐานในวันที่ 22 เมษายนนี้

 

 

  • สถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย ได้ออกคำแถลงเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อตำหนิการกระทำของ รัฐบาลบาห์เรน ที่ทำให้ ไทย ต้องตกอยู่สถานะที่ลำบาก และยังคงยืนยันที่จะส่งตัว ฮาคีม กลับ ออสเตรเลีย อีกครั้ง

 

 

  • จากสถานการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ ไทย ต้องเจอกับความต้องการจากทั้งสองฝั่ง โดยฝั่งหนึ่งเป็นทาง ออสเตรเลีย รวมถึงคนกีฬาทั่วโลก ที่พยายามให้ ไทย ปล่อยตัว ฮาคีม กลับ ออสเตรเลีย ขณะที่อีกฝั่งเป็นทาง บาห์เรน และกลุ่มชาติอาหรับ ที่ต้องการให้ ไทย ส่งตัว ฮาคีม กลับไปลงโทษที่ บาห์เรน

 

  • โดยคนไทยผุด #saveThailand สู้ #BoycottThailand เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมให้ ประเทศไทย ฐานะตัวกลางของปมปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงเตือนสติคนไทย ไม่ให้นำกระแสดังกล่าวมาใช้โจมตีหรือกล่าวร้ายประเทศตนเองได้