เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง ยังเอากระดูกของชายที่ชื่อ ฮาคีม อัลอาไรบี มาแขวนคอ สถานะนี้คงเปรียบได้ชัดกับสถานการณ์ของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ถูกชาวโลกจับตามอง เนื่องจากอดีตนักเตะทีมชาติบาห์เรนยังคงถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำในกรุงเทพฯ
เหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของแฮชแท็ก #SaveHakeem ที่ชาวออสเตรเลีย และนักฟุตบอลชื่อดังทั่วโลกติดแฮชแท็ก เพื่อหวังเรียกร้องให้ปลดปล่อย ฮาคีม อัลอาไรบี โดยเร็ว…
ทว่าความจริงแล้วของเรื่องนี้มันคืออะไร และทำไมชาวไทยจึงไม่ควรโพสต์แฮชแท็กนี้ และสนับสนุนแฮชแท็ก #saveThailand เพื่อสู้กับ #SaveHakeem และ #BoycottThailand ไปติดตามกันเลย…
สถานะ ฮาคีม ก่อนและหลังเดินทางมาไทย
– เริ่มต้นศาลบาห์เรนได้ตัดสินว่า ฮาคีม อัลอาไรบี กระทำความผิดอาญาลอบวางเพลิงชุมนุมมิชอบด้วยกฎหมายครอบครองวัตุถุไวไฟทำให้รถยนต์ผู้อื่นเสียหาย
– ต่อมา ฮาคีม ปฎิเสธว่าไม่ได้วางเพลิงที่สถานีตำรวจบอกว่าเวลาดังกล่าวกำลังแข่งขันฟุตบอลอยู่และมีหลักฐานคือเทปการถ่ายทอดสด
– ฮาคีม รู้ตัวว่าจะถูกจับจึงได้หนีไปที่ประเทศออสเตรเลีย และขอสถานะผู้ลี้ภัยซึ่งใช้เวลากว่า 3 ปี โดยหาเลี้ยงชีพด้วยการเป็นนักฟุตบอลให้กับสโมสร พาสโค เวล เอฟซี สโมสรกึ่งอาชีพในเมลเบิร์น
– จากนั้น ฮาคีม วางแผนจะเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทย และบาห์เรนรู้เรื่องนี้ จึงได้แจ้งคดีไว้กับ INTERPOL (ตำรวจสากล) ออกหมายแดง จนขึ้นข้อมูลใน ตม.ประเทศไทย
– เท่ากับว่า ไทย ไม่รู้เรื่อง เนื่องจากบาห์เรนออกหมายแดง แต่ออสเตรเลียให้สถานะเป็นผู้ลี้ภัย ขณะเดียวกัน INTERPOL ออสเตรเลีย ก็ออกหมายแดงเช่นกัน
– จากนั้นเมื่อ ฮาคีม มาถึงประเทศไทยถูกจับกุมและ บาห์เรน ได้แจ้งมายังประเทศไทยให้ส่งตัวกลับไปที่ บาห์เรน ตามหมายแดงของ INTERPOL
– ทางฝั่ง ออสเตรเลีย เป็นผู้อนุญาตให้ ฮาคีม เดินทางมาประเทศไทยและทางการออสเตรเลียได้แจ้ง INTERPOL ว่าคือผู้ลี้ภัย จนถอนหมายแดง แต่ ฮาคีม เดินทางมาถึงประเทศไทยจนเรื่องไปถึงศาล และฝากขัง ฮาคีม ไปแล้ว 2 วัน ทาง INTERPOL กลับเพิ่งถอนหมายออก
– ด้าน ไทย จำเป็นต้องคุมตัว ฮาคีม ไว้ในขณะนั้นจากตามหมายแดงจาก INTERPOL จากบาห์เรน และออสเตรเลียในขณะนั้น (ขึ้นหมายแดงทั้งสองประเทศ) ตม. ไทยจึงละเว้นการปฏิบัติไม่ได้
– จากนั้นอยู่ดีๆ INTERPOL ฝั่งออสเตรเลียถอนหมายจับ ทว่าฝั่งไทยฝากขังจนเรื่องไปถึงศาลแล้ว จึงไม่สามารถล้มเลิกได้เนื่องจากดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมแล้ว จึงต้องดำเนินไปตามกระบวนการยุติธรรมของไทย
สถานการณ์ของไทย
– สรุปได้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ไม่ได้เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบาห์เรน, ไม่เกี่ยวกับที่ออสเตรเลียให้สถานะผู้ลี้ภัย และไม่เกี่ยวกับกระบวนการสิทธิมนุษยชน เนื่องจากเป็นไปตามพระราชบัญญัติ ซึ่งถือเป็นไปตามขอบเขตของกฎหมายไทย
วิธีการหาทางออก
– กระทรวงการต่างประเทศของไทย แจ้งให้บาห์เรนกับออสเตรเลียควรจะต้องเจรจากัน
– ต้องได้ความชัดเจนจาก INTERPOL เพราะเหตุการณ์นี้ หมายแดงกลับสามารถยกเลิกได้ด้วยสถานะผู้ลี้ภัย
– ไทยต้องดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรมและกระบวนการทางการทูต