ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ เจลีก โออิตะ ทรินิตะ

ทำความรู้จัก : ‘โออิตะ ทรินิตะ’ น้องใหม่เจลีกต้นสังกัดของฐิติพันธ์

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ คือสมาชิกใหม่ของนักเตะไทยที่เตรียมไปโลดแล่นในศึกเมจิ ยาสุดะ เจ 1 ลีก 2019 หลังล่าสุดทาง โออิตะ ทรินิตะ น้องใหม่ที่เพิ่งเลื่อนมาเล่นบนลีกสูงสุด ได้ประกาศคว้าตัวด้วยสัญญายืมตัว 1…

Home / SPORT / ทำความรู้จัก : ‘โออิตะ ทรินิตะ’ น้องใหม่เจลีกต้นสังกัดของฐิติพันธ์

เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ คือสมาชิกใหม่ของนักเตะไทยที่เตรียมไปโลดแล่นในศึกเมจิ ยาสุดะ เจ 1 ลีก 2019 หลังล่าสุดทาง โออิตะ ทรินิตะ น้องใหม่ที่เพิ่งเลื่อนมาเล่นบนลีกสูงสุด ได้ประกาศคว้าตัวด้วยสัญญายืมตัว 1 ปี

ฉะนั้นวันนี้ MThai Sports จะพาไปรู้จักต้นสังกัดใหม่ของ “เจ้านิว” ฐิติพันธ์ พ่วงจันทร์ ที่แฟนบอลชาวไทยเตรียมเทใจเชียร์กันในฤดูกาลหน้า…

 

 

– โออิตะ ทรินิตะ คือหนึ่งในทีมอายุน้อยที่สุดในญี่ปุ่น พวกเขาเพิ่งก่อตั้งในปี 1994 (25 ปี) และเข้าร่วมดิวิชั่นหนึ่งของจังหวัด ในนาม โออิตะ ทรินิตี้ พวกเขาได้แชมป์สองปีรวด ก้าวพรวดขึ้นสู่เจเอฟแอลในปี 1996 ในปี 1999 พวกเขาเป็นหนึ่งในทีมชุดก่อตั้งเจลีก ดิวิชันสอง (เจทู) และเปลี่ยนชื่อเป็น ‘ทรินิต้า(ไตร)’ เพื่อแสดงถึงการสนับสนุนจากแฟน ๆ, สปอนเซอร์, และหน่วยงานรัฐบาล

 

– ปี 2002 ประวัติศาสตร์ของทีมถูกจารึกขึ้น เมื่อพวกเขาสามารถคว้าแชมป์เจทู และเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุดอย่างเจวันได้สำเร็จ และยืนหยัดอยู่ในลีกสูงสุดได้ถึง 7 ฤดูกาล (2003-2009) โดยเฉพาะในปี 2008 ชั่วโมงบินสูงถึงขนาดจบในอันดับที่ 4 ของตาราง ไม่เพียงเท่านั้นยังเข้าไปปราบ ชิมิสุ เอสพัลส์ ในนาบิสโก้คัพนัดชิงชนะเลิศด้วยสกอร์ 2-0 และคว้าแชมป์มาครองได้ แต่หลังจากนั้นความสำเร็จก็ไม่เคยมาเยือนอีกเลย ก่อนในปี 2009 ต้องเจอปัญหาการเงิน ทำให้ผลงานดิ่งลงจนตกชั้นไปอยู่เจทูอีกครั้ง

 

– ปี 2010-2012 พวกเขาตะลอนอยู่ในเจทู ก่อนจะกลับขึ้นมาสู่เจวันอีกครั้งในปี 2013 แต่ก็ยืนหยัดได้เพียงปีเดียวพวกเขาเลื่อนชั้นขึ้นมาครั้งนี้ จบด้วยอันดับที่ 18 และต้องตกชั้นกลับสู่เจทูตามเดิม

 

– ปี 2016 พวกเขาแต่งตั้ง โทโมฮิโร คาตาโนะซากะ เข้ามานั่งแท่นกุนซือใหม่ของทีม ก่อนจะพาทีมประสบความสำเร็จด้วยการคว้าแชมป์เจสามลีก เลื่อนชั้นขึ้นมาเล่นลีกรองภายในปีเดียว จากนั้นปี 2018 สามารถจบด้วยการเป็นรองแชมป์เจทู ได้เลื่อนกลับมาเล่นลีกสูงสุดอีกครั้ง ในรอบ 5 ปี พร้อมกับ มัตสุโมโตะ ยากามะ ที่เป็นแชมป์เจทู 2018

 

– โออิตะ แบงค์ โดม หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ “บิ๊กอาย” ออกแบบโดยสถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่น คิโช คุโรกาวา เพื่อใช้งานสำหรับ ฟุตบอลโลกปี 2002 โดยตรง ในเกมที่ เซเนกัล เอาชนะ สวีเดนไปได้ 2-1 ในรอบ 16 ทีม สนามแห่งนี้ก็ได้ช่วยให้การแข่งขันดำเนินไปได้ โดยที่แฟนบอลราว 43,000 ก็เชียร์กันไป โดยไม่ต้องสนใจว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร ภายใต้โดมที่ปิด และเปิดออกได้ตามต้องการ

โดมยักษ์แห่งนี้เคยต้อนรับทีมชาติจากหลากหลายประเทศ รวมไปถึงอีเวนท์ต่างๆทั้งกีฬาอื่น หรือแม้แต่คอนเสิร์ต

 

– ชุดแข่งขัน โออิตะ ทรินิตะ ใช้สีฟ้าเป็นพื้นฐาน โดยมีเพิ่มเติบบางสีอย่างปี 2006 พวกเขาเติมสีเหลืองเข้าไปเป็นการเน้นจุดสนใจ และเติมสีดำเข้าไปอย่างปัจจุบัน ส่วนสีเยือนคือโทนสีขาวเป็นหลัก

 

– นิอิตัน คือชื่อของมาสคอตที่เป็นเต่า หมายถึงการก้าวอย่างเชื่องช้า แต่ทว่ามั่นคงในการไปสู่ชัยชนะ โดยกระดองของเจ้าเต่าตัวนี้ก็มีรูปร่างคล้ายกับฟุตบอล และมีแผนที่ของจังหวัด โออิตะอยู่ด้วย

 

– ดาวดังในทีม โออิตะ มีนักเตะที่ฟอร์มเด่นและถือเป็นกำลังหลักของทีมอย่าง โนริอากิ ฟูจิโมโตะ หัวหอกวัย 29 ปี  และเคยเป็นอดีตเพื่อนร่วมทีมของ สิทธิโชค ภาโส สมัยที่เจ้าตัวเล่นให้กับคาโงชิมา ยูไนเต็ด ซึ่งผลงานในฤดูกาลที่ผ่านมากับทีมนั้นลงช่วยทีมในเกมลีกไป 26 นัด ยิงไปถึง 12 ประตู ครองดาวซัลโวทีมร่วมกับ เคนจิ บาบะ ส่วนอีกรายที่ถือเป็นนักเตะที่น่าจับตามอง ได้แก่ ยูโตะ มิซาโอะ กองหลังวัย 27 ปี ที่เพิ่งย้ายมาจากคาชิมา อันท์เลอร์ส แชมป์เอเอฟซี แชมเปียนส์ ลีก 2018