ประเด็นน่าสนใจ
- ลุงฉลอง ในวัย 69 ปี เก็บดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ในบริเวณริมทางเข้าพุทธมณฑล
- หากเป็นดอกสดๆ จะนำไปร้อยพวงมาลัย ถ้าเป็นดอกแห้งจะส่งร้านขายยา
- ระบุช่วงโควิด-19 ขาดรายได้ไปกว่า 1 เดือน เนื่องจากต้องกลับต่างจังหวัด ทางภาครัฐให้ควบคุมพื้นที่
ลุงฉลอง ในวัย 69 ปี กำลังผุดลุกผุดนั่งใช้พลังงานกระดูกส่วนสันหลัง ก้มๆ เงยๆ เพื่อเก็บดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงิน ในบริเวณริมทางเข้าพุทธมณฑล
ลุงฉลอง หรือ นายฉลอง อวนใหญ่ อายุ 69 ปี บอกกับเราว่า เดิมทีเป็นคนจังหวัดอ่างทอง อําเภอวิเศษชัยชาญ แต่ต้องทำมาหากิน จึงเดินทางไปมาระหว่าง จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดนครปฐม อาชีพหลักคือทำสวน โดยให้น้องดูแล อาชีพเสริม ร้อยพวกมาลัย และนำเอาดอกพิกุลทอง ดอกพิกุลเงินร้อยมาลัย ซึ่งทำมานานกว่า 34 ปี
สมัยก่อน ลุงไปเก็บ แถววังสราญรมย์ เกียกกาย สวนรื่น ไปถึง เขตดุสิดทางรถไฟ บริเวณนั้นจะมีต้นพิกุลเยอะต้นใหญ่แต่ ‘ ทุกวันนี้ เขาตัดแต่ง เหลือแต่ตอ บ้างต้น ต้องขุดออกเอาไม้อื่นมาปลูกแทน เพราะว่ามันทรุดโทรมแล้ว นั้นก็คือสมัยก่อน ‘ ดอกพิกุลในปัจจุบันหายากมาก ก่อนจะมาเก็บ แถวพุทธมณฑล ลุงฉลองกล่าวย้อนเรื่องราวในอดีตให้ฟัง
แต่วันนี้ลุงมาเก็บรวม หากเก็บสดอย่างเดียวจะช้า นำตากแห้งขายร้านขายยา แต่กว่าจะเก็บครบกิโลกรัม อาศัยเก็บเล็กผสมน้อยเอา ส่วนแห้งๆ กิโลกรัมละ ร้อยกว่าบาท เก็บรวมๆ ขายได้หมด เพราะสามารถนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องยาทุกชนิด เช่น ยาสมุนไพร ยาแผนโบราณแผนไทย บดเข้าเครื่องยาทุกชนิด จึงมาเก็บทุกวัน ทั้งเช้าเย็นเลย ลุงชอบดอกพิกุล เพราะเขามีเรื่องราว ทั้ง ในนิทานและในวรรณคดีไทย
เมื่อถามว่า ทำไมถึงมาเก็บดอกพิกุล ลุงฉลอง กล่าวว่า ‘ปากท้องรอบเร็ว‘ หาเงินวันต่อวัน หากคัดเก็บสวยๆ จะได้เพิ่ม กิโลกัรมละ 40-50- บาท ต่อโล แต่อยู่ที่รอบ พอเก็บเสร็จเอาไปร้อยมาลัยเลย เย็นมาได้เงิน เก็บเองร้อยเอง
อีกอย่างลุงไม่ได้รับจ้างใคร ถึงเราทำอาชีพแบบนี้รายได้มันน้อย เราทำเองก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง ‘ แต่หากไปรับจ้างใครเขา เงินเขาใหญ่ เรากลัวไม่คุ้มค่าเงินเขา และ เขาจะพอใจในสิ่งที่เราทำให้เขาไหม มันเป็นความทุกข์กับจิตใจ ‘ เลยไม่ได้ไปรับจ้างใคร ลุงฉลองกล่าว
เมื่อถามว่าจะทำถึงเมื่อไหร่ เพราะตอนนี้อายุ 69 ปีแล้ว ‘มันไม่มีสิ้นสุด ยกเว้นว่าเราทำไม่ได้ เมื่อไหร่ที่เราเดินทางไม่ได้ ก้มไม่ลง เดินไม่ไหว ทำอะไรนิดๆหน่อย หูตาฝ้าฟาง ก็ต้องอยู่กับบ้านแล้วละ ‘
อย่างช่วงโควิด -19 ก็กลับไปอยู่ บ้านที่อ่างทอง สถานที่ขายพวกมาลัย แถวสะพานพุทธ ปิด ตั้งแต่ 22 มีนาคม ดอกพิกุลที่เก็บก่อนหน้านั้นก็ไปตากแดดอย่างเดียว 25 มีนาคม ลุงก็กลับบ้านหนีโควิด-19 นั้นคือผลกระทบ หนึ่งเดือนเต็ม ก็ไม่ได้ออกไปไหน ลูกหลานเป็น อสม. ไม่ให้ออกไปไหน เพราะเขาควบคุมพื้นที่ เพื่อไม่ให้มีติดผู้เชื้อโดยเด็ดขาด เพราะฉนั้น จังหวัง อ่างทองไม่มีผู้ติดเชื้อเลย แม้แต่คนเดียว ลุงฉลองกล่าว