สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA จะพาไปสำรวจ 3 นวัตกรรมการจัดการ “ขยะ” ที่จะช่วยเติมพลังงานบวกทางความคิด และเติมแรงบันดาลใจในการจัดการขยะว่า ในยุคที่ขยะล้นโลก มนุษย์บนโลกนี้มีการบริหารจัดการขยะ ลดทอนการเกิดขยะไร้ค่า และสร้างสรรค์ให้เกิดเป็น “พลังงานไฟฟ้า” ซึ่งสร้างมูลค่าและคุณค่าที่เต็มเปี่ยมประโยชน์มหาศาลคืนสู่ชุมชน สังคม และประเทศอย่างไร
พาไปสำรวจ 3 นวัตกรรมการจัดการ “ขยะ” สร้างมูลค่าและคุณค่าที่เต็มเปี่ยมประโยชน์
1.จาก ‘เสื้อเก่าและเศษผ้า’ สู่พลังงานไฟฟ้าคืนสู่ชุมชน
เศษผ้า เสื้อเก่าที่ไม่ใช้แล้ว หลายครัวเรือนมักจะนำมาใช้งานต่อเป็นผ้าขี้ริ้ว หรือจะประยุกต์นำเสื้อยืดเก่ามาตัดแขนเป็นเสื้อแขนกุดตัวใหม่ ตัดเย็บเพิ่มเติมให้สวยงามเพื่อไม่ให้เสื้อผ้าต้องถูกทิ้งเป็นขยะ แต่รู้หรือไม่ว่า เศษผ้าหรือเสื้อเก่า เปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ด้วยการคัดแยกส่วนที่ไม่ใช่เนื้อผ้า เช่น กระดุม ซิป ออกไปใช้ซ้ำได้
จากนั้นแยกประเภท เช่น ผ้าใยสังเคราะห์ ผ้าใยธรรมชาติ เพื่อไปจัดการให้ถูกวิธีก่อนที่จะนำเข้าสู่กระบวนการเผาขยะเพื่อผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า (Incineration) เกิดเป็นพลังงานหมุนเวียนคืนสู่สังคม ตัวอย่างจากแบรนด์เสื้อผ้า H&M ในประเทศสวีเดน นำเสื้อผ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือมีเชื้อรา ซึ่งไม่สามารถจำหน่ายได้ ส่งให้โรงงานไฟฟ้าเวสเตอร์โรสผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
2.แปลง “กิ่ง ก้าน ใบ” ให้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า
วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อาทิ แกลบ ซังข้าวโพด ฟางข้าว ใบอ้อย แทนที่จะปล่อยให้ย่อยสลายไปเป็นขยะที่ไร้ประโยชน์ หรือเผาไหม้กลางที่โล่งแจ้งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ PM 2.5 วัสดุเหล่านี้เป็นอินทรีย์วัตถุชั้นดีที่กักเก็บพลังงานจากธรรมชาติเพื่อนำมาแปลงเป็นเชื้อเพลิงผลิตพลังงานไฟฟ้าได้
หน้ากากอนามัย 3D เกาหลี หนาพิเศษ KF94 CUWIN FACE MASK
หน้ากากอนามัย 3D หนาพิเศษ จากเกาหลี ใส่ได้แม้แต่งหน้า ช่วยกันฝุ่น กันไวรัส ป้องกันสารคัดหลั่ง สาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่เชื้อไวรัส covid-19 จัดเซตสุดคุ้ม 50 ชิ้น
ราคา 1,500 บาท
ด้วยการนำเข้ากระบวนการเพื่ออัดแท่งเป็นเชื้อเพลิงแบบเม็ดขนาดเล็ก (Pellets) หรือแบบก้อนขนาดใหญ่ (Briquettes) โดยปัจจุบันในประเทศไทยมีตัวอย่างจาก บริษัท แอ๊บโซลูท คลีน เอ็นเนอร์จี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ACE ได้รับซื้อของเหลือใช้ทางการเกษตรตรงจากเกษตรกร มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้มาตรฐานสำหรับไฟฟ้าผ่านเทคโนโลยี Electrostatic Precipitator หรือตัวอย่างจากเอสซีจี ในธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงทดแทนในการกระบวนการผลิตซีเมนต์อยู่แล้ว ร่วมมือกับสยามคูโบต้า รับซื้อเศษผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้หม้อเผาปูนซีเมนต์ที่เอสซีจีมี แปรรูปเหล่าฟางข้าว ใบอ้อย ให้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในการผลิตซีเมนต์
3.กากมันสำปะหลัง ของเหลือจากการผลิตทั่วไทย แปรรูปสู่การผลิตกระแสไฟฟ้า
จากรายงานสถิติของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรปีพ.ศ. 2563 ประเทศไทยมีเนื้อที่เพาะปลูกมันสำปะหลังกว่า 9.4 ล้านไร่ โดยมันสำปะหลัง มีบทบาทสำคัญในการส่งออกและอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ผลิตเป็นแป้งมันสำปะหลัง แป้งสาคู ขณะเดียวกันมันสำปะหลังก็สามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลบริสุทธิ์ 99.5% เพื่อผสมน้ำมันเบนซินเป็นแก๊สโซฮอล์ อย่างไรก็ตามเนื่องจากทุกขั้นตอนการผลิตย่อมมีของเหลือคือ กากมันสำปะหลัง และน้ำเสีย
ดังนั้นเมื่อสัดส่วนการปลูกที่มีขนาดใหญ่ในประเทศ การปล่อยให้ของเหลือ ทิ้งไว้โดยไร้ประโยชน์และกลายเป็นขยะล้นประเทศจึงไม่ดีนัก ซึ่งบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด จ.อุบลราชธานี จึงจัดตั้งโรงผลิตก๊าซชีวภาพและพลังงานไฟฟ้าจากกากมันสำปะหลัง นำกากมันสำปะหลังมาเข้ากระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เพื่อนำไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้า จำหน่ายให้การไฟฟ้าและกระจายสู่ชุมชนในลำดับถัดไป รวมทั้งยังเปิดพื้นที่ในโรงงาน จัดอบรมสร้างความรู้ให้แก่เกษตรกรไทยและผู้ที่สนใจในการเปลี่ยนกากมันสำปะหลังเป็นพลังงานอีกด้วย
ทั้งนี้ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ได้จัดตั้งโครงการสนามการเรียนรู้นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้า หรือThe Electric Playground ในลักษณะโครงการประกวดสร้างผลงานนวัตกรรมสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา และเผยแพร่สาระความรู้ด้านการจัดการขยะ และนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าจากขยะให้บุคคลทั่วไป ภายใต้แคมเปญ CLEAN ENERGY FOR LIFE ใช้พลังงานสะอาดเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทุกคน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งส่งเสริมสังคมและประชาชนให้มีความรู้ ความตระหนัก และมีส่วนร่วมด้านไฟฟ้า สามารถติดตามความเคลื่อนไหวตลอดโครงการได้ที่ www.facebook.com/TheElectricPlaygroundThailand/