Big Data Bridgestone บริดจสโตน ยางพารา เทคโนโลยี

Bridgestone ยกระดับขีดความสามารถเพิ่มผลผลิตยางพารามากขึ้นด้วย Big Data

บริดจสโตน คอร์ปอเรชั่น เดินหน้าใช้ Big Data เพื่อช่วยวางแผนปลูกต้นยางพารา ที่จะช่วยเพิ่มผลผลิตและคุณภาพให้แก่สวนยางพาราอย่างยั่งยืน

Home / Other / Bridgestone ยกระดับขีดความสามารถเพิ่มผลผลิตยางพารามากขึ้นด้วย Big Data

บริดจสโตน คอร์ปอเรชั่น ได้เพิ่มขีดความสามารถในการปลูกต้นยางพารา โดยใช้ Big Data เพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่สวนยางพารา อาทิ วิธีการเพิ่มจำนวนต้นยางในแปลงปลูก การวางแผนใช้พันธุ์ยางที่เหมาะสมในแต่ละภูมิประเทศ รวมถึงขั้นตอนการเก็บเกี่ยวที่มีประสิทธิผลสูงสุด ระบบที่ได้รับการพัฒนาใหม่นี้จะช่วยวางแผนการปลูกยางพาราให้มีประสิทธิภาพมากกว่า 30 ปี เพื่อปรับปรุงและรักษาเสถียรภาพของผลผลิตของสวนยางพารา และยังช่วยให้เกิดการจัดหายางพาราธรรมชาติอย่างยั่งยืน*1 และมีเสถียรภาพ

Bridgestone
แผนภาพการพัฒนาระบบการใช้ Big Data เพื่อการปลูกยางพารา

ภายใต้คำแนะนำเชิงวิชาการจากสถาบันคณิตศาสตร์เชิงสถิติขององค์กรการวิจัยสารสนเทศและระบบในประเทศญี่ปุ่น ระบบดังกล่าวใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่รวมเอาปัจจัยหลายประการมาพิจารณา ได้แก่ ความสมบูรณ์ของดิน, การจัดการกับโรคพืช และศักยภาพในการขยายพันธุ์ต้นยางจากกลุ่มผู้ทดลอง ซึ่งแบบจำลองขั้นสุดท้ายถูกกำหนดจากความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการสวนยางพาราของบริดจสโตน

เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กรที่ว่า “บริดจสโตนมุ่งมั่นส่งมอบคุณค่าแก่สังคมและลูกค้าในฐานะองค์กรผู้ส่งมอบโซลูชั่นอย่างยั่งยืนให้สำเร็จภายใน พ.ศ. 2593” พร้อมกำหนดเป้าหมายระยะกลางด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ที่ตั้งเป้าหมายไว้ภายใน พ.ศ. 2573 เพื่อกระตุ้นให้เกิด “การแยกส่วน” การเติบโตของธุรกิจของเราออกจากผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น บริษัทส่งมอบโซลูชั่นผ่านนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการขนส่งที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น รวมไปถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการลดการปล่อยก๊าคาร์บอนไดออกไซด์ และการตระหนักถึงเศรษฐกิจหมุนเวียนรวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้

บริดจสโตนมุ่งมั่นในการพัฒนานวัตกรรมโดยทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ด้วยการผนวกรวมความรู้เกี่ยวกับยางที่เป็นเอกสิทธิ์ หนึ่งเดียวของเราเข้ากับเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อร่วมสร้างคุณค่าผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรทุกภาคส่วน

Bridgestone
Bridgestone DUELER D684

ความเป็นมาของการใช้ Big Data เพื่อการวางแผนการปลูกยางพาราอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มผลผลิตให้แก่สวนยางพารา

ด้วยการใช้แบบจำลองนี้ร่วมกับการประมาณการผลผลิตที่ได้จากข้อมูลสวนยางพารา รวมถึงข้อมูลผลผลิตตามอนุกรมเวลาและข้อมูลสวนยางพาราเชิงพื้นที่นั้น ระบบใช้วิธีการเขียนโปรแกรมจำนวนเต็มแบบผสมเพื่อให้ได้มาซึ่งโซลูชั่นที่ดีที่สุด สำหรับการคัดสรรพันธุ์ยางพาราที่ควรปลูก, ระยะเวลา, สถานที่และปริมาณการปลูก เพื่อรักษาระดับผลผลิตยางพาราธรรมชาติให้ได้แบบมีประสิทธิภาพ

นับจากนี้บริดจสโตนจะทำการปรับแต่งระบบเพิ่มเติมก่อนนำไปใช้งานจริงในพื้นที่เพาะปลูกอื่น ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสนับสนุนการจัดหายางพาราธรรมชาติทั่วโลกอย่างยั่งยืนและมีเสถียรภาพ

ในปี พ.ศ. 2593 คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรโลกจะแตะที่ 9.6 พันล้านคน ขณะที่ผู้ครอบครองยานพาหนะจะมีจำนวนมากกว่า 2.4 พันล้านคน ด้วยเหตุนี้ ปริมาณความต้องการวัสดุสำหรับการผลิตยางรถยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นตามเช่นกัน และในขณะเดียวกันก็ได้มีการผลักดันให้เกิดการแยกการเติบโตของเศรษฐกิจออกจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ หรือ SDG

Bridgestone
Bridgestone Potenza

ปัจจุบันยางพาราธรรมชาติที่นำมาผลิตยางรถยนต์นั้น มาจากยางพาราที่ปลูกในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นหลัก โดยพบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับต้นยางพารา ได้แก่ ความเสี่ยงของโรคพืชและการลดลงของป่าฝนเขตร้อนอันเนื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อขยายพื้นที่ปลูกต้นยางพารา บริดจสโตนมุ่งจัดการกับปัญหาเหล่านี้ด้วยการกระจายและขยายแหล่งทรัพยากรของยางพาราธรรมชาติ และหนึ่งในโครงการของเราคือการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตยางพาราธรรมชาติที่ได้จากต้นยางพารา

นอกจากนี้บริดจสโตนยังเร่งกิจกรรมสนับสนุนการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ช่วยในการจัดหายางพาราธรรมชาติอย่างมีเสถียรภาพ ด้วยความพยายามเหล่านี้ เรามุ่งมั่นที่จะใช้เทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อบรรลุเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน รวมถึงการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคตด้วย

*1 กลุ่มบริษัทบริดจสโตนกำหนดนิยามของ วัสดุที่ยั่งยืนคือ “1) วัสดุที่มาจากแหล่งทรัพยากรที่รับประกันการจัดส่งอย่างต่อเนื่อง 2) วัสดุที่สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจของเราในระยะยาว และ 3) วัสดุที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อย ตลอดวงจรชีวิตของวัสดุตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาจนถึงการกำจัดทิ้ง”