ประเด็นน่าสนใจ
- นายกรัฐมนตรี มีคำสั่งฝ่ายเศรษฐกิจหามาตรการเยียวยาผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพทยระบาดไวรัส โควิด-19
- อนุมัติงบจัดซื้อวัคซีนแก้โควิด-19 อีก 35 ล้านโดส เพื่อให้เพียงพอกับคนไทยทั้งประเทศ
- ขอทุกคนรวมไทยสร้างชาติ อย่าปกเปิดข้อมูล ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคม
วันนี้ ( 05 ม.ค. 64 ) ที่ ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอเรนซ์ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนผ่านระบบออนไลน์ เฟซบุ๊คเพจไทยคู่ฟ้า ถึงการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ที่ประชาชนในพื้นที่ออกมาคัดค้าน ว่า รัฐบาลต้องแก้ปัญหาด้วยการทำความเข้าใจกับประชาชน ให้รู้ถึงความสำคัญของโรงพยาบาลสนาม รวมถึงความจำเป็นในการแก้ปัญหาของส่วนรวม และลดปัญหาสถานที่รักษาไม่เพียงพอ นอกจากนี้ โรงพยาบาลสนามยังมีมาตรฐานโดยเฉพาะการคัดกรองการดำเนินการ เช่นเดียวกับโรงพยาบาลปกติ ในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบด้านอื่น ๆ กับประชาชน
นายกรัฐมนตรี ยังเผยว่า ที่ประชุม ครม. ได้อนุมัติงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข ไปดำเนินการจัดหาวัคซีน ป้องกันโควิด-19 โดยปลายเดือนมีนาคมจะได้ล็อดแรก 8 หมื่นโดส สำหรับประชาชน 4 แสนคน ส่วนเมษายน ได้อีก 1 ล้านโดส เพียงพอกับประชาชน 5 แสนคน และปลายเดือนพฤษภาคม อีก 26 ล้านโดส สำหรับประชาชนอีก 13 ล้านคน โดยทั้งหมดต้องผ่านมาตรฐาน อย. ของไทย และต่างประเทศ รวมทั้งสั่งจองเพิ่มวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซนเนก้า 35 ล้านโดส ซึ่งจะเพียงพอกับประชาชน 66 ล้านคน โดยแบ่งฉีด 2 ครั้งต่อ 1 คน เมื่อได้รับวัคซีนจะฉีดทันที และการฉีดต้องเป็นไปตามกรมควบคุมโรค กลุ่มเป้าหมายแรกเป็นบุคคลกรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว
สำหรับวัคซีนล็อตต่อไป จะมีการติดต่อ จัดหาวัคซีนจากประเทศอื่น ๆ เพื่อให้รวดเร็วกับควรต้องการ ทั้งนี้ วัคซีนจาก บริษัท แอวตร้าเซนเนก้า มีข้อตกลงที่จะผลิตรวมกัน กับ บริษัท สยามไบโอไซด์ ที่จะผลิตได้ปีละ 200 ล้านโดส ซึ่งจะเพียงพอทั้งประเทศ ส่วนเอกชนที่ต้องการความสะดวกรวดเร็ว ก็เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนจัดหาวัคซีนเองได้ แต่ต้องผ่านมาตรฐาน อย.ส่วนผลข้างเคียงกับประชาชนถือว่ามีสัดส่วนที่ต่ำยอมรับได้ ซึ่งจะต้องติดตามต่อไป ยืนยัน ต้องการให้คนไทยปลอดภัย สำคัญที่สุดในขณะนี้คือการจำกัดการควบคุมให้ได้โดยเร็ว นำคนป่วยมารักษาในพื้นที่ปลอดภัย เพื่อป้องกันการติดเชื้อ และย้ำว่ายามีเพียงพอ
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังมอบหมายให้ นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลัง ไปหามาตรการ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบการ และผู้ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดในครั้งนี้ ให้ได้ภายใน 2 เดือน
ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว เช่น การกระตุ้นการท่องเที่ยวผ่านโครงการเราเที่ยวด้วยกันนั้น ได้หารือกันผู้ประกอบการและสมาคมที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เก็บเงินกับประชาชน แต่ขอให้ยืดการใช้บริการออกไปก่อน ซึ่งคาดว่าจะต้องมีมาตรการเพื่อดูแลประชาชนให้ครอบคลุมไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน ซึ่งยอมรับว่าจะต้องใช้งบประมาณ เป็นจำนวนมาก แต่ยืนยันว่า รัฐบาลยังคงมีเพียงพอ เพื่อใช้ดำเนินการ
ขณะที่โครงการคนละครึ่ง ที่มีการให้ข้อมูลว่าเกี่ยวข้องกับการจัดเก็บภาษีนั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยัน โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเพื่อช่วยเหลือและลดภาระให้กับประชาชน โดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของภาษีใด ๆ ทั้งสิ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องประเมินภาพรวมของผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งเรื่องของสุขภาพและเศรษฐกิจ ไม่ใช่เพียงการดูหรือการพิจารณา หรือกำหนดเพดาน จำนวนผู้ป่วยเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน เพราะถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเป็นผู้รับผิดชอบในนโยบาย แต่ทุกคนก็ต้องช่วยกันในเวลานี้ ตามแนวทางรวมไทยสร้างชาติ ร่วมต้านโควิด-19 คือ การที่ทุกคนต้องทำให้ประเทศขับเคลื่อนไปได้อย่างยั่งยืน ด้วยการที่ทุกคนต้องเรียนรู้ ที่จะอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ผ่านความรับผิดชอบ และซื่อสัตย์ต่อตัวเอง เปิดเผยข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพราะรัฐบาลไม่ต้องการจะโทษว่าเป็นความผิดใคร และไม่มีบทลงโทษใดๆ นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฏหมายเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ต้องปิดบังข้อมูลเหล่านี้
ภาพ : วิชาญ โพธิ