นอกจากบทบาทการเป็นประธานนักเรียนของโรงเรียนนานาชาตินิสท์ แล้ว “แม๊กซ์ จิระณัฏฐ์ ชัยยศบูรณะ” (Maxx, Jiranat Chaiyosburana) เยาวชนอายุ 16 ปี ยังมีความสนใจด้านชีวเคมีและการเป็นคนช่างสังเกตุในสิ่งรอบตัว เมื่อมีโอกาสได้เดินทางไปจังหวัดสมุทรสาคร และเห็นกองขยะเปลือกหอยแมลงภู่กองโตที่ถูกหมักหมมเป็นเวลายาวนานจนส่งกลิ่นเหม็นและเชื้อโรคมีผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนและสร้างภาวะโลกร้อนให้เกิดขึ้นกับโลกใบนี้
จากเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ปลูกฝังเรื่องการช่วยเหลือสังคมบวกกับที่โรงเรียนนานาชาตินิสท์ กรุงเทพ ประเทศไทย (NIST International School, Bangkok Thailand) ที่แม๊กซ์เรียนอยู่จะเน้นสอนเกี่ยวกับการเป็น Global Citizen และส่งเสริมการทำกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาโลกอย่างยั่งยืนตามแนวคิดขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals – SDGs)
จึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แม๊กซ์ทดลองนำขยะเปลือกหอยไปผ่านกระบวนการล้าง อบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อสกัดเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต พร้อมใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์เข้ามาเป็นตัวช่วยในกระบวนการทำงาน มีการต่อยอดใช้เวลาศึกษาวิจัยกับทีมงานของมหาวิทยาลัยต่างๆจนค้นพบว่า เมื่อไบโอแคลเซียมคาร์บอร์เนตรวมกับไทเทเนียมไดออกไซด์ แล้วสามารถก่อให้เกิดคุณสมบัติในการช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ เช่น แอมโมเนียและฟอร์มัลดีไฮด์ได้
ผลลัพธ์ที่ได้คือ สามารถนำเอา M-Shield ION LOFT ไปใช้ฟอกอากาศบนผนังภายในอาคาร นวัตกรรมนี้ได้ถูกเริ่มนำไปใช้ในโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นในพื้นที่ดูแลผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านระบบการหายใจ
แม๊กซ์กล่าวว่า เขาภูมิใจที่ได้สร้างนวัตกรรมที่ไม่เพียงแต่ช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับกลุ่มอาชีพชาวประมงเท่านั้น แต่ยังสร้างอากาศที่สะอาดเพื่อทุกคนในโลกใบนี้แล้วยังช่วยส่งเสริมแนวทางปฏิบัติเพื่อการลดโลกร้อนที่ยั่งยืนอีกด้วย