งานวิจัยเผย “โรคอ้วน” ในชายส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม เสี่ยงภาวะมีบุตรยาก

โรคอ้วน เสี่ยงต่อ “โรคเบาหวาน” และปัญหาสุขภาพอื่นๆ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มและภาวะมีบุตรยากด้วย

Home / PR NEWS / งานวิจัยเผย “โรคอ้วน” ในชายส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม เสี่ยงภาวะมีบุตรยาก

โรคอ้วน คือ ภาวะน้ำหนักเกินที่เกิดจากร่างกายสะสมไขมันไว้มากเกินปกติ หรือมากกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญ จึงสะสมไขมันไว้ตามอวัยวะต่างๆในร่างกาย เสี่ยงต่อ “โรคเบาหวาน” และปัญหาสุขภาพอื่นๆ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มและภาวะมีบุตรยากอีกด้วย

“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กรรมการบริหาร บริษัท เบบี้แอนด์มัม (ประเทศไทย) จำกัด ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจให้ความรู้เตรียมตั้งครรภ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ยืนหนึ่งในใจผู้มีบุตรยาก https://www.facebook.com/BabyAndMom.co.th/ เผยว่า ปัญหาภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชายพบมากถึง 25% จากภาวะมีบุตรยากทั้งหมด ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะมีบุตรยากในฝ่ายชายนั้นมีหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัญหาทางกายภาพ อายุที่มากขึ้น โรคประจำตัว ปัจจัยภายนอกทางสิ่งแวดล้อม และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การพักผ่อน และการออกกำลังกาย และวิถีชีวิตที่เร่งรีบทำให้การดูแลสุขภาพนั้นไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารการกิน หลาย ๆ คนไม่ทานอาหารเช้า หรือเลือกที่จะทานอาหารแปรรูป ทานอาหารสำเร็จรูป อาหารแบบเร่งด่วน (Fast Food) ซึ่งในอาหารจำพวกนี้มักมีสารอาหารไม่ครบถ้วน และส่วนใหญ่ยังประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรต และไขมันที่มากเกินความจำเป็นของร่างกายและขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้มีภาวะอ้วนตามมา ซึ่งจากการศึกษาและรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับภาวะมีบุตรยากในชายหลายฉบับรวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ในชาย พบว่า “โรคอ้วน” ส่งผลต่อส่งผลต่อการมีบุตรยาก โดยมีรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproduction เมื่อปี 2017 จากงานวิจัยเรื่อง Obesity, a serious etiologic factor for male subfertility in modern society รายงานว่า “โรคอ้วน” ทำลายคุณภาพของสเปิร์มส่งผลต่อการมีบุตรยาก ดังนี้

1. โรคอ้วนนำไปสู่ภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ (Obesity leads to hypogonadism) เป็นภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชายหรือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ได้ไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหลักในผู้ชายที่ผลิตโดยลูกอัณฑะหลังได้รับการกระตุ้นจากต่อมใต้สมองมีหน้าที่ในการพัฒนาลักษณะทางกายภาพให้แสดงความเป็นชายคอยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย มีส่วนช่วยในการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ มวลกระดูก รวมไปถึง “ระบบการสร้างสเปิร์ม” อีกทั้งยังมีบทบาทสำคัญ ในการพัฒนาบุคลิกทางเพศ เมื่อขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะส่งผลให้ร่างกายไม่มีแรง ความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศลดลง และมีการผลิตอสุจิน้อยลง ซึ่งนำไปสู่ภาวะมีลูกยากได้

hand wearing nitrile glove holding semen or sperm sample collection container, semen donation concept

2. โรคอ้วนเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบในร่างกาย (Obesity induces inflammation) และกระตุ้นให้อนุมูลอิสระในร่างกายเพิ่มมากขึ้น โดยการอักเสบในร่างกายจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของสเปิร์ม (Sperm maturation) อ้างอิงจากงายวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal Reproduction & infertility เมื่อปี 2015 ศึกษาพบว่า เมื่อร่างกายอักเสบจะส่งผลให้ร่างกายผลิต Reactive oxygen species (ROS) หรือ อนุมูลอิสระออกมามาก และอนุมูลอิสระนี้ส่งผลให้ระบบสืบพันธุ์เพศชายรวมถึงระบบการสร้างสเปิร์มด้อยคุณภาพส่งผลต่อการมีบุตรยาก

โดยอนุมูลอิสระจะเข้าไปยับยั้งการส่งสัญญาณของอินซูลินและการสูญเสียการทำหน้าที่ของสารอะดิโพไคน์ (Adipokines) ที่ผลิตโดยเนื้อเยื่อไขมันทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงและความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชั่น ซึ่งส่งผลให้มีภาวะไขมันในเลือดสูงผิดปกติ และส่งผลโดยตรงต่อเนื้อเยื่ออัณฑะและท่อน้ำอสุจิ นอกจากนี้ไขมันในถุงอัณฑะที่เพิ่มขึ้นยังส่งผลให้ความร้อนของอวัยวะสืบพันธุ์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลเสียต่อการสร้างอสุจิอย่างต่อเนื่อง

ดังนั้นโรคอ้วนจึงเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมซึ่งมีความสำคัญต่อการสร้างอสุจิในอัณฑะ และการเจริญเติบโตของตัวอสุจิในท่อน้ำอสุจิ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของตัวอสุจิที่ผิดปกติ และการเปลี่ยนแปลงไขมันของเยื่อหุ้มเซลล์ และความเสียหายของ DNA เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ DNA แตกหัก และท้ายที่สุดส่งผลให้คุณภาพของตัวอสุจิไม่ดี ทั้งในเรื่องอัตราการปฏิสนธิ (fertilization rate) ลดอัตราการเคลื่อนไหว และลดปฏิกิริยาอะโครโซม (Acrosome reaction) คือ ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเมื่อสเปิร์มเจาะเข้าผสมกับไข่ได้ หรือหากเกิดการปฏิสนธิ แต่ DNA ที่ไม่สมบูรณ์จะคงยังส่งผลต่อคุณภาพของตัวอ่อน (Embryo quality) อัตราการตั้งครรภ์ (Pregnancy rate) และอัตราการแท้ง (Miscarriage rate) อีกด้วย

2. โรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เนื่องจากภาวะอ้วนทำให้เกิดการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสื่อม และอาการแทรกซ้อน นอกจากนี้ยังมีภาวะโรคแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่เกิดจากโรคเบาหวาน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศหรือการหลั่งน้ำอสุจิได้ รวมถึงส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์ม ทำให้ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะมีบุตรยาก จากข้อมูลของ The Canadian Diabetes Association มีการระบุว่า 50 – 70% ของผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานประสบกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เช่น เจ้าโลกไม่สามารถแข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นาน ในบางกรณีการไร้สมรรถภาพทางเพศอาจเป็นสัญญาณเตือนแรกของผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะผู้ชายที่เป็นโรคนี้มีแนวโน้มที่จะประสบปัญหาไร้สมรรถภาพทางเพศ 2 – 3 เท่า

“ครูก้อย นัชชา ลอยชูศักดิ์” กล่าวเสริมว่า นอกจากโรคอ้วนและโรคเบาหวานในชายแล้ว ยังมีโรคที่เกี่ยวกับอัณฑะที่ส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มเช่นกัน เพราะอัณฑะทำหน้าที่ผลิตและเก็บอสุจิ หากมีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับอัณฑะ ก็จะส่งผลต่อคุณภาพของสเปิร์มได้ เช่น การติดเชื้อที่อัณฑะ มะเร็งอัณฑะ ภาวะลูกอัณฑะไม่ลงถุง การเข้ารับผ่าตัดอัณฑะ การได้รับบาดเจ็บที่อัณฑะ โดยอาจทำให้จำนวนอสุจิลดลง รวมถึงหลอดเลือดดำอัณฑะขอด (Varicocele) โดยหลอดเลือดดำตรงอัณฑะจะใหญ่ และทำให้อุณหภูมิของอัณฑะสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อจำนวนและรูปร่างของอสุจิมีความผิดปกติซึ่งเกี่ยวกับอัณฑะที่มีมาแต่กำเนิด

สำหรับผู้ชายที่ต้องการมีบุตรและมีภาวะอ้วน หรือ โรคเบาหวาน ควรหันกลับมาดูสุขภาพในองค์รวม เริ่มจากการดูแลเรื่องอาหารการกินเป็นพิเศษ ลดแป้ง งดหวาน งดของมัน ของทอด ทานอาหารที่มีโภชนาการสูง เน้นโปรตีน เพราะโปรตีนช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เมื่อมีกล้ามเนื้อมากขึ้น ส่งผลให้ระบบเผาผลาญทำงานได้ดีขึ้น ช่วยเบิร์นไขมันได้เร็วขึ้น เน้นผักผลไม้เสริมสารต้านอนุมูลอิสระหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ หรือ เสริมด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Motila1 By KruKoy โมทิล่าวัน บาย ครูก้อย เป็นทางเลือกสุขภาพสำหรับผู้ชายที่วางแผนมีบุตรและกังวลเรื่องคุณภาพของสเปิร์ม โดยสามารถศึกษาความรู้และรายงานวิจัยเกี่ยวกับสารสกัดที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพของสเปิร์ม รวมถึงโภชนาการเสริมภาวะเจริญพันธุ์ตามหลักวิทยาศาสตร์สำหรับผู้มีบุตรยากได้ที่เว็บไซต์ หรือเฟซบุ๊กเพจ BabyAndMom.co.th ครูก้อย นัชชา กล่าว