กระทรวงวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรม โคราช โบราณสถาน

“รมว.สุดาวรรณ” ลุยตรวจเยี่ยมวัด โบราณสถานในโคราช ชูพัฒนา“วัดธรรมจักรเสมาราม” ศาสนสถานเก่าแก่ยุคทวารวดี เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

เร่งปรับปรุงไฟประดับ-ภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถานปราสาทหินพิมายให้โดดเด่น งดงาม รองรับนักท่องเที่ยว สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนและจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม…

Home / PR NEWS / “รมว.สุดาวรรณ” ลุยตรวจเยี่ยมวัด โบราณสถานในโคราช ชูพัฒนา“วัดธรรมจักรเสมาราม” ศาสนสถานเก่าแก่ยุคทวารวดี เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์

เร่งปรับปรุงไฟประดับ-ภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถานปราสาทหินพิมายให้โดดเด่น งดงาม รองรับนักท่องเที่ยว สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนและจังหวัดนครราชสีมา

วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วย นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการ ณ จังหวัดนครราชสีมา เพื่อเยี่ยมชมการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ตามนโยบายรัฐบาลด้านการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว โดยสนับสนุน Soft Power และพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม และตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม

นางสาวสุดาวรรณ เปิดเผยว่า ในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดจัดการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 4/2567 และติดตามการตรวจราชการกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์) ระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2567 ซึ่งในส่วนของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนเชิงวัฒนธรรม พร้อมปลุกกระแสการท่องเที่ยววิถีชุมชน สร้างโอกาส สร้างรายได้ เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน จึงลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม และเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่นของจังหวัดนครราชสีมา อาทิ แหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย วัดหน้าพระธาตุ รวมถึงวัดธรรมจักรเสมาราม (วัดพระนอนคลองขวาง) ซึ่งภายในวัดมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์หรือพระนอนในวัดธรรมจักเสมาราม เป็นพระนอนหินทรายที่มีขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย สร้างขึ้นจากหินทรายแดงขนาดใหญ่ และมีธรรมจักรศิลาชนิดเดียวกับพระปฐมเจดีย์ เป็นศิลปะยุคทวารวดีอีกด้วย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวอีกว่า ในภาพรวม วธ.จะบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆพัฒนาแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พิมาย วัดหน้าพระธาตุ รวมถึงวัดธรรมจักรเสมารามและส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั้งในส่วนของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมากขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชนและจังหวัดนครราชสีมา โดยเฉพาะวัดธรรมจักรเสมารามเป็นวัดที่มีความสำคัญมากแห่งหนึ่งของอำเภอสูงเนินและจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากวัดแห่งนี้มีความเก่าแก่และคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างมากสร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2295 และเป็นศูนย์กลางศาสนาของชุมชนเสมา และเมืองเสมายังเป็นเมืองโบราณที่อยู่คู่กับเมืองโคราฆปุระ ชุมชนโบราณแห่งแรกของโคราชอีกด้วย ซึ่งการลงพื้นที่ในครั้งนี้วธ.มีนโยบายหลักในพัฒนาและสร้างคุณค่าโบราณสถานพระนอน วัดธรรมจักรเสมาราม เพื่อให้ชุมชนสามารถนำไปต่อยอดและสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเป็นศูนย์รวมจิตใจ และสร้างสังคมคุณธรรมวิถีพุทธให้กับคนในชุมชน รวมทั้งสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรรม โดยที่ผ่านมาวธ. โดยกรมศิลปากร ได้ดำเนินการอนุรักษ์และศึกษา สำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2524 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการบูรณะและพัฒนาวัดธรรมจักรเสมารามมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สถานที่แห่งนี้มีความสวยงามและคงความเป็นประวัติศาสตร์ของไทย มุ่งผลักดันให้เป็นอีกหนึ่งหมุดหมายท่องเที่ยวทางโบราณสถานที่สวยงามของไทย และเร็วๆนี้จะมีเทศกาลไหว้พระนอนที่อำเภอสูงเนิน ซึ่งวธ.ร่วมจัดงานต่อเนื่อง โดยในปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 12-14 กรกฎาคม 2567 จึงขอเชิญชวนประชาชนเข้ากราบไหว้เสริมสิริมงคล

นางสาวสุดาวรรณ กล่าวต่อไปว่า ขณะเดียวกันวธ.ได้มุ่งขับเคลื่อนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) ของรัฐบาล โดยส่งเสริมการท่องเที่ยวภายใต้กิจกรรม “เที่ยวโบราณสถานยามราตรี” ในพื้นที่โบราณสถานสำคัญในความดูแลของวธ.โดยกรมศิลปากร เช่น ที่อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กรมศิลปากร ได้ดำเนินโครงการปรับปรุงไฟส่องสว่างโบราณสถานปราสาทหินพิมายให้มีความสวยงาม เหมาะสมกับการท่องเที่ยวในเวลากลางคืน รวมทั้งปรับปรุง พัฒนาภูมิทัศน์พื้นที่บริการอุทยานประวัติศาสตร์พิมายให้มีความสง่างาม โดดเด่น มีเอกลักษณ์และเข้าสู่มาตรฐานอารยสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นโบราณสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาตร์และวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน และใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมและส่งเสริมการท่องเที่ยว ช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและชาวต่างชาติมาเที่ยวชม

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมยังได้ตรวจเยี่ยมการพัฒนาศักยภาพแหล่งผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ได้แก่ “ผ้าไหมลายช่อดอกดงเค็ง” ณ ปราสาทนางรำ ซึ่งลายผ้าดังกล่าวได้ยกให้เป็นลายอัตลักษณ์ ประจำอำเภอประทาย เนื่องจากในอดีต “ต้นเค็ง” เป็นต้นไม้ประจำถิ่นที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ณ บริเวณที่ตั้งชุมชนอำเภอประทาย ซึ่งลวดลายของผ้าประกอบด้วย ลายช่อดอกเค็ง ลายธารน้ำบึงกระโดน (ปลาซิว) ลายช่อสน และลายกำแพงป้อมปราการ และช่วงเย็น ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรี รับชมการแสดง Soft Power มวยโคราชชุด “นาฏยุทธ” ต้อนรับนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการแสดงที่สื่อถึงศิลปะการไหว้ครูแบบโบราณท่าแม่ไม้มวยโบราณสายโคราชที่กำลังจะสูญหายจากตำราพระเหมสมาหารเจ้าเมืองโคราชสมัยก่อน ซึ่งประกอบด้วยท่าหมัดเหวี่ยงควาย ล้มพลอยอาย ทัศมาลา ท่าฝึกอยู่กับที่ ท่าทุ่มทับ จับหัก
ท่าหนุมานถวายแหวน ท่าฤาษีบดยา ท่าเตะคอขาด ท่าพระรามเดินดง เป็นต้น