กระทรวงวัฒนธรรม มหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคใต้ หนังตะลุง โนรา

วธ. ชวนสัมผัสอัตลักษณ์เมืองใต้ ชมโนรา หนังตะลุง การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน ชิม-ช้อปอาหารท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม 14 จังหวัดในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคใต้ 27 มิ.ย. – 1 ก.ค.นี้ ณ จังหวัดสงขลา

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคใต้ “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” โดยมีนายอำนวย…

Home / PR NEWS / วธ. ชวนสัมผัสอัตลักษณ์เมืองใต้ ชมโนรา หนังตะลุง การแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีพื้นบ้าน ชิม-ช้อปอาหารท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม 14 จังหวัดในงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคใต้ 27 มิ.ย. – 1 ก.ค.นี้ ณ จังหวัดสงขลา

วันที่ 28 มิถุนายน 2567 นางสาวพลอย ธนิกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ภาคใต้ “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” โดยมีนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา นางศศิฑอณร์ สุวรรณมณี หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงวัฒนธรรม ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม ศิลปินแห่งชาติ วัฒนธรรมจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศิลปินพื้นบ้าน เครือข่ายทางวัฒนธรรม แขกผู้มีเกียรติและประชาชน เข้าร่วม ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) มีนโยบายนำวัฒนธรรมไทยมาสืบสาน รักษา และต่อยอดไปสู่มิติใหม่ๆ ให้เกิดการสร้างคุณค่าทางสังคมและมูลค่าทางเศรษฐกิจ และขับเคลื่อน Soft Power การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม โดยมุ่งยกระดับมหกรรมวัฒนธรรมท้องถิ่นให้เป็นระดับชาติเพื่อเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวของคนไทยและชาวต่างชาติทั่วโลก และส่งเสริมการสร้างรายได้ สนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีพื้นที่ในการนำเสนอคุณค่าของงานศิลปวัฒนธรรมของไทย และแสดงออกถึงความจงรักภักดีและเสริมพลังความเข้มแข็งของสถาบันหลักของชาติ สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม รวมทั้งส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก สร้างอาชีพและรายได้สู่ชุมชน ดังนั้น วธ.จึงจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคใต้ วันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2567 ณ สวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ภาคเหนือ วันที่ 16 – 20 สิงหาคม 2567 ณ พระราชวังจันทน์ อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก ภาคกลางและภาคตะวันออก วันที่ 22 – 26 สิงหาคม 2567 ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วันที่ 5 – 9 กันยายน 2567 ณ ลานศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

นางสาวพลอย กล่าวอีกว่า สำหรับงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย “อัตลักษณ์เมืองใต้ หนังตะลุง โนรา” มีกิจกรรมรำโนราถวายพระบรมราชานุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 การแสดงชุด “สืบศิลป์ทักษิณา เทิดจักรา พระวชิรเกล้า” โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ธรรมนิตย์ นิคมรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(โนรา)และคณะนักแสดงและนักดนตรีภาคใต้ การแสดงโขน โนรา หนังตะลุง หนังตะลุงคน การแสดงลีลาศร่วมสมัย การแสดงศิลปวัฒนธรรมจากศิลปินพื้นบ้าน เครือข่ายทางวัฒนธรรม เด็กและเยาวชนกลุ่มจังหวัดภาคใต้ 14 จังหวัด การแสดงดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ชุด“วิถีลุ่มน้ำสงขลา”โดยอาจารย์ควน ทวนยก ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง(ดนตรีพื้นบ้าน)และคณะนักแสดงและนักดนตรีภาคใต้ การแสดงวงดนตรีลูกทุ่ง เสวนาวิชาการโนรา-หนังตะลุง เสวนา “การส่งเสริมสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ จังหวัดสงขลา เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงานสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้านอาหารของยูเนสโก” นิทรรศการมีชีวิต โนราและวิถีชีวิตชุมชนสงขลาในอดีต นิทรรศการสถานภาพโนรา : มรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ นิทรรศการกิจกรรมวาดเส้น ชุด“เรือนพื้นถิ่นรอบลุ่มเลสาบสงขลา” นิทรรศการ Songkhla City of Gastronomy การอบรมร้องกลอนโนราขั้นพื้นฐาน นวดเพื่อสุขภาพ กิจกรรมชมสวนนก เทศบาลนครหาดใหญ่ การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (CPOT) และผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมจากกลุ่มจังหวัดภาคใต้

“กระทรวงวัฒนธรรมดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบเศรษฐกิจฐานราก โดยการนำทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอัตลักษณ์แต่ละพื้นที่มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้แก่ประชาชน กลุ่มศิลปินและผู้ประกอบการด้านอื่นๆ รวมถึงกระตุ้นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์และวิถีชุมชนให้มากขึ้น จึงจัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ในภาคใต้โดยคัดเลือกจังหวัดสงขลาเป็นศูนย์กลางการจัดงาน เพื่อเปิดพื้นที่และเวทีให้พี่น้องภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด ได้ร่วมจัดการแสดง จำหน่ายผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน รวมถึงเปิดโอกาสให้เกิดการแลกเปลี่ยนการแสดงศิลปวัฒนธรรมในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ อันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดต่อไป” ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว