BangkokDesignWeek BKKDW2024 LivableScape

เปิดไอเดียการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ จากธุรกิจชั้นนำ ในงาน Bangkok Design Week 2024

นับว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของ “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” หรือ “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW2024) ซึ่งปีนี้ไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มนักสร้างสรรค์ นักศึกษา และผู้ขับเคลื่อนย่าน ในฐานะ ‘ภาคประชาชน’ ที่ต้องการมีส่วนช่วยให้เมืองดีขึ้นเท่านั้น…

Home / PR NEWS / เปิดไอเดียการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ จากธุรกิจชั้นนำ ในงาน Bangkok Design Week 2024

นับว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของ “เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2567” หรือ “Bangkok Design Week 2024” (BKKDW2024) ซึ่งปีนี้ไม่ได้มีเพียงแต่กลุ่มนักสร้างสรรค์ นักศึกษา และผู้ขับเคลื่อนย่าน ในฐานะ ‘ภาคประชาชน’ ที่ต้องการมีส่วนช่วยให้เมืองดีขึ้นเท่านั้น หากแต่ยังมีส่วนของ ‘ภาคธุรกิจ’ ที่พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ มุ่งแก้ปัญหาเมืองจากโจทย์ที่มีอยู่จริง ภายใต้ธีม ‘Livable Scape คนยิ่งทำ เมืองยิ่งดี’ ไม่ว่าจะเป็น เอพี ไทยแลนด์ (AP Thailand), เซ็นทรัลพัฒนา x เซ็นทรัลเวิลด์ (CPN x centralwOrld), ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (KRUNGSRI), แอล.พี.เอ็น. (LPN), วัน แบงค็อก (One Bangkok), เอสซี แอสเสท (SC ASSET), เอปสัน (ประเทศไทย) (EPSON), ไปรษณีย์ไทย, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล (CENTRAL), ฮาตาริ (HATARI), กลุ่มสยามพิวรรธน์ (SIAM PIWAT), การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (TCEB) และซีแพค กรีน โซลูชั่น (CPAC) ที่มาร่วมแสดงศักยภาพขับเคลื่อนเมืองสร้างสรรค์ผ่านย่านต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ และเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้กรุงเทพฯ เป็นเมือง ที่ ‘น่าอยู่’ มากยิ่งขึ้น

เปิด‘One Bangkok Pavilion’ จุดประกายชีวิตให้ใกล้ชิดศิลปะ

‘One Bangkok’ ยังคงตอกย้ำความมุ่งมั่นของโครงการฯ

ในการนำศิลปะและวัฒนธรรมมาผสานเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ปีนี้มาพร้อมผลงาน ‘One Bangkok Pavilion’ ภายใต้แนวคิด ‘Inspiring Urban Canvas’ โดยร่วมมือกับ Supermachine Studio ดีไซน์สตูดิโอชื่อดังที่ได้รับรางวัลระดับโลก พาวิลเลียนสุดฮิปนี้จัดแสดง ณ ลานหน้าไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง

คุณจรินทร์ทิพย์ ชูหมื่นไวย หัวหน้าภัณฑารักษ์และผู้บริหารฝ่ายศิลปะและวัฒนธรรม และรองผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการสื่อสารและประชาสัมพันธ์แบรนด์เชิงกลยุทธ์ โครงการวัน แบงค็อก บอกเล่าภาพรวมของงานในปีนี้ ว่าสำหรับ‘One Bangkok Pavilion’ เป็นการออกแบบพื้นที่ให้เป็นสถานที่ที่ผู้คนสามารถเข้ามาเพลิดเพลินได้ตลอดเวลา โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากของเล่นตัวต่อหรือบล็อกไม้ (Wooden Block) โดยไอเท็มรูปทรงเรขาคณิตหลากหลายรูปแบบถูกนำมาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปปราสาท เสมือนกับการสร้างเมืองที่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกคน เพียงช่วยกันคนละไม้คนละมือ นำความฝันและแรงบันดาลใจของตัวเองมาเรียงร้อยกัน นั่นก็ช่วยรังสรรค์พาวิลเลียนนี้ให้สมบูรณ์ได้ ‘One Bangkok Pavilion’ จึงสะท้อนถึง ‘ความร่วมมือของผู้คน’ (Collaboration) ที่สามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองได้ อีกทั้งยังได้ร่วมกับ Kids Bloom และ Yimsamer มัลติมีเดียเอเจนซีที่เชี่ยวชาญด้านงานอิมเมอร์ซีฟ (Immersive) จุดประกายความคิดสร้างสรรค์ผ่านเกมกระโดดแบบร่วมสมัยบนจออินเทอร์แอ็กทีฟ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากเกม ‘ตั้งเต’ อีกด้วย

สัมผัส ‘ความน่าอยู่’ ผ่านแสงสีตระการตา โดย LPN

เพราะย่านเมืองเก่าเต็มไปด้วยสินทรัพย์ ชุมชน ศิลปะและวัฒนธรรม คุณอภิชาติ เกษมกุลศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ LPN ได้เล็งเห็นความสำคัญในจุดนี้ จึงส่งเสริมให้เกิดความ ‘น่าอยู่’ ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Livable Living Experience’ เพื่อให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่ผสานเทคโนโลยี เพื่อนำมาพัฒนาพื้นที่สาธารณะให้เป็นเมือง ‘น่าอยู่’ อย่างสร้างสรรค์ ผ่านโปรเจ็กต์ ExperienceScape ด้วยการทำ Projection Mapping บนอาคารทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ในย่านพระนคร เพื่อสื่อสารให้บุคคลทั่วไปและคนรุ่นใหม่เข้าใจและเข้าถึงได้ง่าย ตลอดจนยังให้ความสำคัญเรื่องการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีให้ชุมชนโดยรอบอีกด้วย

งานนี้ LPN ได้ร่วมกับศูนย์มิตรเมือง (Urban Ally) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนของย่านพระนคร ภายใต้ชื่อโปรแกรม ‘มิตรบำรุงเมือง LIVE’ ด้วยแนวคิด ‘Everyday-life Festival’  เพื่อนำเสนอความคิดสร้างสรรค์บนพื้นที่จริงของย่านเมืองเก่า ให้เป็นพื้นที่ทางสังคมสำหรับทุกคน ให้ได้รับประสบการณ์ในการอยู่อาศัยที่ดีขึ้น ปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ใหม่ของย่านผ่านเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ LPN มุ่งหวังว่าจะสามารถจุดประกายการพัฒนาพื้นที่เมืองและคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้คนในย่านเมืองเก่าพระนคร ที่จะต่อยอดสู่การพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในย่านพระนครต่อไป

สำหรับโปรเจ็กต์ ‘ExperienceScape’ จัดใน 4 พื้นที่ ได้แก่ ประปาแม้นศรี ซึ่งเป็นจุดจัดงานหลัก (Center Hub), สวนรมณีนาถ, ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (เสาชิงช้า) และป้อมมหากาฬ โดยจะถ่ายทอดเรื่องราว อัตลักษณ์ และนำไปสู่การตีความใหม่ เพื่อให้พื้นที่ต่าง ๆ ของย่านพระนครกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 18.00 – 21.00 น. พร้อมกิจกรรมไฮไลต์ที่น่าสนใจ ตลอด 9 วันเต็ม

จับมือพันธมิตรนักสร้างสรรค์ในย่าน สร้างเมืองน่าอยู่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต โดย SC ASSET

คุณโฉมชฎา กุลดิลก หัวหน้าสายงานกลยุทธ์แบรนด์และสื่อสารองค์กร SC ASSET ได้บอกเล่าถึงเบื้องหลังแนวคิดการจัดเทศกาลในครั้งนี้ว่า SC Asset เล็งเห็นว่าเราควรสร้างความสัมพันธ์ร่วมกับชุมชนโดยรอบ ในพื้นที่ที่บริษัทของเราเข้าไปพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และคิดว่าเทศกาลนี้ควรเป็นของคนทั้งกรุงเทพฯ ไม่ควรจำกัดขอบเขตอยู่แค่รอบย่านเจริญกรุง ปีนี้เราเลยลองย้ายมาทำโปรเจกต์นอกโซนที่เป็นพื้นที่หลัก จึงเปลี่ยนพื้นที่มาที่ย่าน ‘เกษตรฯ – บางบัว’ โดยมีการทำงานร่วมกันของนักสร้างสรรค์ในย่าน ร่วมกับมหาวิทยาลัย นักวิชาการ นักออกแบบ ศิลปิน และชุมชน อีกทั้งมีหลายกิจกรรมเป็นงานทดลองจากนักศึกษาด้วย เพราะเรา

อยากเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีพื้นที่แสดงออกถึงศักยภาพและอยากให้คนมาเห็นงานของพวกเขาเยอะๆ ซึ่งย่านนี้มีกิจกรรมที่หลากหลาย เปิดให้คนทั่วไปได้มาทำความรู้จักอีกแง่มุมหนึ่งของเมืองใหญ่ ที่มีเรื่องราวดี ๆ ซุกซ่อนอยู่มากมาย

สำหรับย่าน ‘เกษตรฯ – บางบัว’ มีกิจกรรมที่ขับเคลื่อนเมืองอยู่ 3 ส่วน หลัก ๆ ได้แก่

1. กิจกรรมสร้างความบันเทิงผ่อนคลาย เช่น การแสดงดนตรี การฉายภาพยนตร์ ซึ่งเป็นทางเลือกในการใช้เวลาว่างกับเพื่อนฝูง มีกิจกรรมที่สร้างบทสนทนาและปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา ผ่านพาวิลเลียนที่เปรียบเสมือนเป็นโอเอซิสให้มาพักผ่อน โดยมีการเปิดพื้นที่ Sale Gallery โครงการ COBE Kaset-Sripatum โดย SC ASSET ให้นักศึกษาได้มาจัดแสดงผลงาน นับเป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อความคิดสร้างสรรค์และให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้แสดงศักยภาพ ได้แก่ สวนเสมือน แห่งบางบัวโดยนำเอาBamboo Pavilion หรือ พาวิลเลียนไม้ไผ่รักษ์โลก มาทดลองออกแบบให้ตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลาย ทั้งพื้นที่เล่น นั่งพักผ่อน และชมคอนเสิร์ตได้แบบรอบทิศทาง นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่สังสรรค์ของทุกคนยามค่ำคืน

2. การนำงานออกแบบของ City Lab เกี่ยวกับความปลอดภัยของคนเดินเท้าบนท้องถนนมาขยายผล กับโปรเจ็กต์ต้นแบบ LiVELY STREET FURNITURE 01 การจัดการพื้นที่ทางเท้าสาธารณะและการให้บริการรถสาธารณะ โดยทำจุดรอวินมอเตอร์ไซค์ที่อำนวยความสะดวกกับผู้ใช้งานมากขึ้น มีมินิบัสที่รับส่งตามจุดต่าง ๆ เพื่อเป็นการเชื่อมต่อกับเมือง

3. การเชิญชวนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยรอบย่านมาร่วมกันสร้างสรรค์โปรเจ็กต์ใหม่ ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้พวกเขาได้มีพื้นที่แสดงออกและมีส่วนร่วมกับเทศกาลฯ ผลงานของนักศึกษามีหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่โชว์เคสงานดีไซน์ ดนตรี ภาพยนตร์ ไปจนถึงการเสนอโมเดลธุรกิจ อย่างงาน ‘AR สตรีตอาร์ต บางบัว’ เป็นงาน Graffiti AR ที่คณะดิจิทัลมีเดีย มหาวิทยาลัยศรีปทุม ร่วมกับศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย โดยจัดแสดงทั้งภาพจริงและภาพเสมือนของตัวการ์ตูนต่าง ๆ ทั้งยังนำเสนอกิมมิกด้วยการนำเทคโนโลยี AR มาผสมผสาน เพียงสแกน QR Code ที่ติดอยู่ข้าง ๆ ผลงาน แล้วส่องไปที่งานกราฟฟิตี้นั้น ๆ ก็จะพบกับงาน AR น่ารัก ๆ ที่โผล่ออกมาจากกำแพงราวกับมีชีวิต  

ขุมพลังเศรษฐกิจสร้างสรรค์สู่ความยั่งยืน กับ สยามพิวรรธน์        

คุณชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด นำชมนิทรรศการ CREATIVE POWERHOUSE โดย SIAM PIWAT  ที่จัดแสดงบริเวณโถงไปรษณีย์ อาคารไปรษณีย์กลาง ย่านเจริญกรุง นิทรรศการนี้เป็นการร่วมงานของสยามพิวรรธน์ ร่วมกับศิลปิน นักออกแบบ นักสร้างสรรค์หลากหลายสาขาที่่เนรมิตผลงานเพื่อส่งต่อแรงบันดาลใจให้กับผู้คน โดยนำเสนอหัวใจของการทำธุรกิจผ่านทรงกลมสีสันแบบ Experimental Design ให้ผู้ชมนิทรรศการได้ทดลองตั้งค่าไฟทรงกลมด้วยตัวเอง และกระจกเพื่อสร้างมิติ สื่อถึงขุมพลังความคิดสร้างสรรค์ที่ต่อยอดไปได้อย่างไม่สิ้นสุด สะท้อนภาพของการเป็นแพลตฟอร์มที่ร่วมสร้างสรรค์ให้กับผู้คนและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

การออกแบบนิทรรศการนี้ยังคำนึงถึงการนำวัสดุกลับมาใช้ได้ใหม่ เช่น อะคริลิกที่นำมาครอบโคมไฟนำไปใช้เป็นของตกแต่งในร้านค้าแบรนด์รักษ์โลก การใช้หลอดไฟแบบประหยัดพลังงาน รวมถึงการถ่ายทอดเรื่องราวการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อให้ทุกจุดนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ สร้างการเติบโตร่วมกันให้กับผู้คน ชุมชน สังคม เมือง และโลกอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ยังมีนิทรรศการและกิจกรรมอื่น ๆ ในพื้นที่ศูนย์การค้าของกลุ่มสยามพิวรรธน์ ทั้งสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิฟคัฟเวอรี่ ย่านสยาม และไอคอนสยาม ย่านคลองสาน ที่ทุกคนจะได้สัมผัสไอเดียสร้างสรรค์ที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น นับเป็นการตอกย้ำให้เห็นคุณค่าของแพลตฟอร์มแห่งโอกาสสำหรับศิลปินนักสร้างสรรค์ (Well-growing Platform) และการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของสยามพิวรรธน์ได้อย่างชัดเจน

 เปิดบ้าน Hatari กับงาน ‘DESIGNING THE WIND’ โดย Hatari

เป็นที่รู้กันว่า พัดลมฮาตาริ ให้ลมเย็น ๆ กับคนไทยมานานกว่า 30 ปี แต่เมื่อสายลมมีการเปลี่ยนแปลง แบรนด์จึงต้องมีการปรับตัว ในวันที่ดีไซน์เข้ามามีผลต่อคนยุคใหม่ ฮาตาริจึงได้ร่วมมือกับ Habits Design Studio สตูดิโอออกแบบที่เชี่ยวชาญด้านเครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศอิตาลี ทำให้ฮาตาริพลิกโฉมไปเป็น ‘นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์’ ที่สรรสร้างพัดลมในรูปแบบที่แตกต่าง และทั้งสองยังได้ร่วมงานกันจัดแสดงผลงานผ่านงาน ‘DESIGNING THE WIND’ ใน Bangkok Design Week 2024 ซึ่งจัดแสดงที่บ้านตรอกถั่วงอก ย่านเยาวราช

นิทรรศการนี้พิสูจน์ให้เห็นว่าศิลปะแห่งการออกแบบจากประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมสมัย สามารถผสานดีไซน์เข้ากับฟังก์ชันการใช้งานได้อย่างลงตัว นอกจากผู้ชมจะได้เห็นดีไซน์ใหม่ ๆ แล้ว ยังได้รับรู้เรื่องราวจากอดีตจนถึงปัจจุบันของฮาตาริ แบรนด์พัดลมอันเป็นตำนานผ่านโซนต่าง ๆ ตั้งแต่ WIND EMOTION (บริเวณชั้น 1) ที่เปิดให้สัมผัสและรู้จักศิลปะในแบบฉบับฮาตาริ ที่สร้างสรรค์ร่วมกับ Habits Design Studio ต่อมากับ TECHNOLOGICAL HEART (บริเวณชั้น 2) ที่เล่าถึงกระบวนการผลิตพัดลมฮาตาริ พร้อมชิ้นส่วนต่าง ๆ ในพัดลม ถัดไปเป็น PERFORMING WIND (บริเวณชั้น 3) ซึ่งมี Interactive Art จากพัดลมที่ถูกติดตั้งเป็นวงกลม เปรียบเสมือนโคลอสเซียม (Colosseum) สนามกีฬากลางแจ้งโบราณขนาดใหญ่เปี่ยมมนต์ขลังในกรุงโรมของอิตาลี และเปิดพัดลมทิ้งไว้เพื่อสร้างผลงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวและไม่เหมือนใคร และจุดสุดท้ายคือ DESIGN FOR MODERN LIVING (บริเวณชั้น 4) ในส่วนนี้ ผู้ชมจะได้รับชมคอลเล็กชันต่าง ๆ ไปพร้อมกับการเข้าใจวิธีคิด และการออกแบบพัดลมในคอลเล็กชันต่าง ๆ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาของฮาตาริ

ใครแพลนไปจุดไหน เข้าถึงทุกโปรแกรมได้สะดวกและสนุกยิ่งขึ้นไปกับ happining.city แพลตฟอร์มแผนที่แบบอินเทอร์แอ็กทีฟได้ที่ https://www.bangkokdesignweek.com/…/guide/venues-bkkdw

สามารถติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Website: www.bangkokdesignweek.com, Facebook/Instagram: bangkokdesignweek, Twitter: @BKKDesignWeek, Line: @bangkokdesignweek #BKKDW2024 #BangkokDesignWeek #LivableScape

#BKKDW2024 #BangkokDesignWeek #LivableScape

เกี่ยวกับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ หรือ Bangkok Design Week จัดขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 โดยเป็นเทศกาลสำคัญที่ได้รับการบรรจุไว้ในปฏิทินกิจกรรมของกรุงเทพมหานคร และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ รวมทั้งร่วมผลักดันกรุงเทพมหานครให้เติบโตและโดดเด่นในฐานะเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก (UNESCO Creative City Network: UCCN) สาขาการออกแบบ (Bangkok City of Design) อีกด้วย

เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ดำเนินการโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับผู้ร่วมจัดเทศกาลฯ ทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา และองค์กรระหว่างประเทศกว่า 60 หน่วยงาน รวมถึงนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์กว่า 2,000 ราย โดยมียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างประเทศรวมแล้วมากกว่า 400,000 คนในแต่ละปี โดยตลอด 6 ปีของการจัดงาน (พ.ศ. 2561 – 2566) เทศกาลฯ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่า 1,948 ล้านบาท เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ ไม่เพียงส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ทั้งในแง่ของการเป็นเวทีแสดงผลงานของนักออกแบบและธุรกิจสร้างสรรค์ การกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังส่งผลกระทบเชิงบวกที่ขยายผลสู่ธุรกิจแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การตลาด การพิมพ์ สื่อออนไลน์ แกลเลอรี ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ธุรกิจของฝาก-ของที่ระลึก โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ที่พักโรงแรม บริการขนส่งมวลชน ฯลฯ

เกี่ยวกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน): สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization): CEA เป็นหน่วยงานเฉพาะด้านที่ทำหน้าที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ให้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาต่าง ๆ ให้เติบโต และส่งเสริมให้ภาคการผลิตนำความคิดสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ นำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันของธุรกิจและประเทศในระดับสากล