9 ขั้นตอนเขียนบทความภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพ

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษเป็นสกิลที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดานักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเจอกับการเขียนบทความ การทำรายงานหรือพรีเซนต์งาน รวมไปถึงเรียนจบแล้วก็ยังต้องเจอกับการเขียนอีเมล และประสานงานต่างๆ ที่จะต้องใช้ทักษะการเขียนบทความหรือข้อความภาษาอังกฤษต่างๆ มากมาย ใครที่อยากพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น อ่านแล้วเข้าใจง่ายและครอบคลุม ลองทำตาม 12 ขั้นตอนต่อไปนี้ รับรองเลยว่าเขียนบทความภาษาอังกฤษแบบมือโปรจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป  1. กำหนดโครงร่างเนื้อหา…

Home / PR NEWS / 9 ขั้นตอนเขียนบทความภาษาอังกฤษแบบมืออาชีพ

ปัจจุบันต้องยอมรับว่าภาษาอังกฤษเป็นสกิลที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะบรรดานักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเจอกับการเขียนบทความ การทำรายงานหรือพรีเซนต์งาน รวมไปถึงเรียนจบแล้วก็ยังต้องเจอกับการเขียนอีเมล และประสานงานต่างๆ ที่จะต้องใช้ทักษะการเขียนบทความหรือข้อความภาษาอังกฤษต่างๆ มากมาย ใครที่อยากพัฒนาทักษะการเขียนภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น อ่านแล้วเข้าใจง่ายและครอบคลุม ลองทำตาม 12 ขั้นตอนต่อไปนี้ รับรองเลยว่าเขียนบทความภาษาอังกฤษแบบมือโปรจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป 

1. กำหนดโครงร่างเนื้อหา

เริ่มที่หลักการเบื้องต้นนั่นคือการออกแบบโครงร่าง (Outline) ออกมาก่อนว่าในบทความจะมีบทนำ เนื้อหาหัวข้อต่างๆ และบทสรุปอย่างไรบ้าง ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยจัดระเบียบความคิดและทำให้ใจความเนื้อหาโดยรวมของบทความมีความไหลลื่นและสมเหตุสมผล 

2. ชื่อหัวข้อและบทนำที่ดึงดูดความสนใจ

การเริ่มต้นด้วยท่อนฮุคที่น่าสนใจเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้อ่านที่ดีที่สุด ดังนั้น ชื่อบทความและเนื้อหาบทนำควรมีความน่าสนใจ อาจจะใช้ข้อเท็จจริงที่น่าประหลาดใจ การตั้งคำถามที่กระตุ้นความคิด หรือเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อ รวมไปถึงการระบุจุดประสงค์และแนวคิดหลักของบทความให้ชัดเจน ก็จะยิ่งทำให้โดยภาพรวมของบทนำมีความครอบคลุมและคาดการณ์ถึงเนื้อหาที่กำลังจะได้รับได้ง่ายยิ่งขึ้น

3. มีใจความสำคัญชัดเจนในแต่ละหัวข้อ

ในแต่ละหัวข้อควรมีความชัดเจนและเข้าใจง่าย โดยกำหนดและเริ่มต้นด้วยใจความสำคัญ (Main Idea) เพื่อให้รับทราบถึงสิ่งที่เราพยายามจะนำเสนอ หลังจากนั้นเป็นการเสริมด้วยรายละเอียดต่างๆ แยกย่อยลงมา เพื่อสนับสนุนใจความสำคัญข้างต้น ก็จะช่วยให้เราสามารถเขียนเนื้อหาที่มีใจความสอดคล้อง ไม่หลงออกนอกประเด็น หรือเขียนประเด็นอื่นที่ขัดแย้งกันออกมา เนื้อหาโดยรวมก็จะมีความน่าเชื่อถือและสมเหตุสมผลยิ่งขึ้นด้วย

4. ควบคุมโทนและอารมณ์การเขียนให้ชัดเจนและกระชับ

การเขียนบทความที่ดีควรถ่ายทอดด้วยภาษาที่กระชับ ชัดเจน เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงศัพท์เฉพาะหรือศัพท์ทางเทคนิคที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ อารมณ์และโทนการเขียนก็เป็นปัจจัยสำคัญเช่นเดียวกัน จะสังเกตว่าบทความที่น่าสนใจหรือโดดเด่นมักจะมีน้ำเสียงหรือการเล่าที่เหมาะสมกับเรื่องที่พูด การเลือกคำที่เป็นทางการหรือเป็นกันเองให้เข้ากับหัวข้อ และพยายามรักษาระดับให้คงที่ตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ ก็จะทำให้การเขียนดูมีพลังและเป็นมืออาชีพ ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับบทความและอ่านต่อได้นานไม่เบื่อ

5. จัดรูปแบบและแบ่งสัดส่วนเนื้อหาแบบพอดี

แม้ว่าบทความจะดีแค่ไหน แต่ถ้ามีเนื้อหายาวติดกันเป็นพรืด ขาดเว้นวรรค หรือการเว้นช่วงเนื้อหาที่พอดี ก็จะทำให้อ่านยากและไม่สามารถจัดระเบียบความคิดให้กับผู้อ่านได้ การใช้หัวเรื่องย่อยเพื่อแบ่งบทความออกเป็นส่วนๆ จะทำให้สแกนและเลื่อนดูเนื้อหาทั้งหมดได้ง่ายขึ้น โดยอาจจะใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อย ลำดับเลข หรือข้อความตัวหนาเพื่อเน้นจุดสำคัญ ก็จะช่วยดึงความสนใจและลำดับเนื้อหาให้ผู้อ่านเข้าใจได้เป็นอย่างดี

6. ยกหลักฐานและตัวอย่างประกอบ

หากเนื้อหามีความซับซ้อนหรือการอธิบายลำพังอย่างเดียวอาจจะยังไม่เห็นภาพหรือมีน้ำหนักมากพอ การเสริมด้วยหลักฐาน สถิติ ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงการยกตัวอย่างหรือกล่าวถึงกรณีศึกษาที่มีเนื้อหาผลการทดลองสอดคล้องกับเรื่องที่เขียน จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจและเชื่อถือข้อมูลที่กล่าวมากขึ้น 

7. เชื่อมเนื้อหาและใจความอย่างราบรื่น

เพื่อให้อ่านบทความได้อย่างไหลลื่น ในระหว่างประโยคหรือย่อหน้าควรใช้คำกริยาวิเศษณ์เชื่อมใจความ (Conjunctive Adverbs) เช่น Therefore, Moreover, Ferthermore, However, etc. เพื่อเป็นการเชื่อมใจความและระบุจุดประสงค์ของแต่ละประโยคให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าสิ่งที่จะบอกต่อไปนี้เห็นการแสดงเหตุผล แสดงความขัดแย้ง หรือแสดงการสรุปนั่นเอง

8. สรุปประเด็นตบท้าย

ในบทสรุปหรือข้อความส่งท้าย มักเป็นการสรุปประเด็นหลักที่กล่าวมาทั้งหมด อาจเป็นการพูดย้ำแนวคิดหลักให้แง่คิดดีๆ ปิดท้าย หรือข้อความที่ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจกับผู้อ่าน ซึ่งจะช่วยให้เนื้อหาดูครอบคลุมและเข้าใจง่าย ซึ่งจะช่วยจับกลุ่มรวมความคิดที่สั้น กระชับ และชัดเจน 

9. ตรวจทานและแก้ไข

แน่นอนว่าหลังจากเขียนบทความเสร็จแล้ว ควรตรวจทานเนื้อหาทั้งหมดอีกครั้งอย่างละเอียด เพื่อหาข้อผิดพลาดเล็กน้อยอย่างการสะกดคำผิด คำเกิน การเว้นวรรค ไปจนถึงการตรวจแกรมมาร์ และแก้ไขเนื้อหาส่วนต่างๆ ที่อาจจะยังไม่มีน้ำหนักหรือสมเหตุสมผลมากพอ ทำให้บทความมีเนื้อหาและภาพรวมที่สมบูรณ์แบบมากที่นั่นเอง

หวังว่า 9 ขั้นตอนที่แนะนำไปจะช่วยให้หลายๆ คนสามารถเขียนบทความภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น ส่วนใครที่อยากอ่านเคล็ดลับดีๆ เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ สามารถเข้าไปดูเนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Xchange English สถาบันสอนที่มีคอร์สเรียนภาษาอังกฤษน่าสนใจมากมาย เหมาะสำหรับน้องๆ นักเรียนนักศึกษาไปจนถึงวัยทำงานทั่วไปที่อยากพัฒนาภาษาอังกฤษ เนื้อหาและหลักสูตรทันสมัย นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันและต่อยอดอนาคตให้สดใสได้แน่นอน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 
Website | Facebook: Xchange English
โทร. 02-736-3626