ตอบชัด วิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขา ต้องผ่าตัดหรือไม่?

ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะโพกร้าวลงขา อย่าปล่อยไว้! เพราะอาการปวดเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ใช่แค่ฝากไว้แค่อาการปวด ชา ทรมานจนกระทบชีวิตประจำวัน แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีแบบทันท่วงที อาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาตได้ และนี่คือวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขาที่แพทย์นิยมใช้กันในปัจจุบัน ใครที่ยังสงสัยว่าวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขาสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ต้องผ่าตัดหรือไม่ เลื่อนลงไปหาคำตอบได้เลย!…

Home / PR NEWS / ตอบชัด วิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขา ต้องผ่าตัดหรือไม่?

ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดสะโพกร้าวลงขา อย่าปล่อยไว้! เพราะอาการปวดเหล่านี้อาจเป็นอาการของโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ใช่แค่ฝากไว้แค่อาการปวด ชา ทรมานจนกระทบชีวิตประจำวัน แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีแบบทันท่วงที อาจร้ายแรงจนกลายเป็นอัมพาตได้ และนี่คือวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขาที่แพทย์นิยมใช้กันในปัจจุบัน ใครที่ยังสงสัยว่าวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขาสามารถทำอย่างไรได้บ้าง ต้องผ่าตัดหรือไม่ เลื่อนลงไปหาคำตอบได้เลย!

วิธีตรวจวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ก่อนจะไปรู้จักวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขา เราลองมาดูกันดีกว่าว่าการตรวจวินิจฉัยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะสามารถทำได้อย่างไรบ้าง โดยนอกเหนือจากการซักประวัติและประเมินอาการเบื้องต้นแล้ว แพทย์จะตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยวิธีการเหล่านี้

  • การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
  • การตรวจเอกซ์เรย์

วิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขาที่ควรรู้

สำหรับวิธีรักษาปวดสะโพกร้าวลงขา ปัจจุบันสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยสามารถแบ่งวิธีรักษาได้เป็น 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ แบบผ่าตัดและแบบไม่ผ่าตัด ซึ่งจะรักษาด้วยวิธีใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละคนและการวินิจฉัยของแพทย์ผู้ทำการรักษานั่นเอง

1.การรักษาแบบไม่ผ่าตัด แบ่งออกเป็น 4 วิธีย่อยด้วยกัน ได้แก่

  • การให้ยาลดอาการปวด เป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาท
  • การรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด มีทั้งการออกกำลังกายเพื่อยืดเหยียดและเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการทำกายภาพโดยการใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ร่วมด้วย เช่น การประคบแผ่นร้อน การฝังเข็ม เป็นต้น
  • การฉีดยาที่มีส่วนผสมของคอร์ติโคสเตียรอยด์และยาชาเข้าไปในโพรงกระดูกสันหลัง ช่วยลดอาการปวดจากการอักเสบ และช่วยวินิจฉัยตำแหน่งที่ปวดได้
  • การใช้คลื่นความถี่วิทยุ Radiofrequency Ablation (RFA) จี้เส้นประสาท ลดการอักเสบและบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดี

2. การรักษาแบบผ่าตัด

สำหรับการรักษาอาการปวดสะโพกร้าวลงขาและหมอนรองกระดูกทับเส้นแบบผ่าตัดนั้น จะใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรัง รักษาแบบประคับประคองแล้วไม่ได้ผล และอาการรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการขับถ่าย โดยจะใช้การผ่าตัดด้วยกล้อง Endoscope ซึ่งเป็นกล้องขนาดเล็ก ทำให้แผลผ่าตัดมีขนาดเพียง 8 มิลลิเมตรเท่านั้น

ในขั้นตอนการผ่าตัดนั้น แพทย์จะทำการสอดกล้องเข้าไปแล้วตรวจดูความผิดปกติจากเลนส์ที่ติดอยู่ที่ปลายกล้อง ทำให้มองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจน และทำการผ่าตัดรักษาได้อย่างแม่นยำ ใช้เวลาเพียง 45 นาทีเท่านั้น ซึ่งหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถฟื้นตัวได้ค่อนข้างเร็วและกลับบ้านได้ภายใน 24 ชั่วโมง

สำหรับใครที่กำลังมีอาการผิดปกติ หรือเริ่มปวดสะโพกร้าวลงขา อย่าลืมไปพบแพทย์เพื่อตรวจอาการอย่างละเอียด ป้องกันอาการลุกลามจนเป็นอันตรายในอนาคต