คุณแม่ยังจำความรู้สึกช่วงใกล้คลอดได้ไหม? ความกังวลใจที่เกิดขึ้นมากมาย หลายคนกลัวการเจ็บปวดทำให้กลัวการคลอดลูกแบบธรรมชาติตามไปด้วย คุณแม่จึงเลือกที่จะผ่าคลอดเพื่อเลี่ยงการต้องเผชิญกับความเจ็บปวดดังกล่าว ทำให้หลายปีที่ผ่านมามีอัตราการผ่าตัดคลอดที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ 1
การผ่าตัดคลอด นอกจากช่วยให้ความเจ็บปวดของคุณแม่แล้ว ยังช่วยลดการเสียชีวิต การเจ็บป่วย และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างคลอด เช่น การตกเลือด แต่การผ่าคลอดอาจก็ต้องแลกมาด้วยผลกระทบด้านสุขภาพของลูกน้อย เช่น โรคอ้วน ภูมิแพ้ หอบหืด อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันที่มีจุลินทรีย์สุขภาพมาเกี่ยวข้อง และยังส่งผลต่อการพัฒนาสมองของเด็กผ่าคลอดในระยะแรกด้วย1เด็กผ่าคลอดจะสูญเสียโอกาสได้รับจุลินทรีย์สุขภาพผ่านทางช่องคลอด รวมถึงบริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนล่างของคุณแม่ในระหว่างคลอด ทำให้ทารกพลาดการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายในช่วงแรกคลอดไป2 ดังนั้น คุณแม่ควรเริ่มสร้างสมองและเสริมสร้างภูมิต้านให้ไว เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่ไวกว่าเดิม
สมองของเด็กผ่าคลอดนั้นสำคัญ ต้องเริ่มสร้างให้ไว
- สมองส่งผลต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของเป็นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรกของชีวิตที่มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมากที่สุด ซึ่งจากการศึกษาพัฒนาสมองในสหรัฐอเมริกาของ Deoni ผ่านภาพสแกนทางสมอง พบว่า การทำงานด้านการเชื่อมโยงของเซลล์ประสาทในสมอง (Brain connectivity) ระหว่างเด็กที่คลอดธรรมชาติ กับเด็กผ่าคลอดเมื่ออายุ 2 สัปดาห์มีความแตกต่างกัน โดยพบว่า สมองของเด็กผ่าคลอดมีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองน้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ3
- ในเด็กผ่าคลอดอายุ 3 เดือน – 3 ปี จะมีพัฒนาการของสมองส่วนคอร์ปัส คาโลซัม (Corpus Callosum) ที่คอยเชื่อมการทำงานระหว่างสมองซีกซ้ายกับซีกขวามีการสร้างปริมาณไมอีลินที่น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ3 โดยที่ 1 ใน 7 ของเด็กผ่าคลอดอายุ 4-9 ปีอาจมีความเสี่ยวต่อพัฒนาการการเรียนรู้ใรช่วงแรกเริ่มเข้าโรงเรียน ทำให้เด็กสามารถทำคะแนนได้น้อยกว่าเด็กที่คลอดธรรมชาติ4,5
อย่างไรก็ตาม สมองของลูกน้อยยังคงพัฒนาไปเรื่อย ๆ แต่จะมีพัฒนาการเร็วที่สุดในช่วงแรกของชีวิต คุณแม่สามารถเริ่มสร้างสมองให้ลูกได้ทันทีหลังคลอด ด้วยการให้ลูกได้รับสารอาหารที่สำคัญจากนมแม่ เพื่อให้ลูกน้อยมีพัฒนาการทางการเรียนรู้และพัฒนาการที่ดีที่สามารถต่อยอดไปสู่ความสำเร็จในอนาคตได้
สฟิงโกไมอีลิน สารอาหารในนมแม่ ช่วยสร้างสมองและการเรียนรู้ที่ไวกว่า
- สมองจะเรียนรู้ไวได้ต้องมีการเชื่อมต่อเร็ว ซึ่งช่วงเวลาที่เหมาะสมในพัฒนาสมองในการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ของเด็กผ่าคลอดคือช่วงขวบปีแรก คุณแม่ต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องอาหารและโภชนาการของลูกน้อยที่ส่งผลต่อสมองและระบบประสาท ซึ่งโภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อยคือนมแม่
- ในนมแม่มีสารอาหารมากมายหลายชนิด โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลิน หนึ่งในสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างไมอีลินในสมอง ทำให้สมองสามารถส่งสัญญาณประสาทได้อย่างรวดเร็ว มีพัฒนาการเรียนรู้อย่างก้าวกระโดด และยังทำให้สมองเกิดการประมวลผล คิดวิเคราะห์ และจดจำได้ไว
สมองจะเรียนรู้ได้เร็ว เมื่อมีปริมาณไมอีลินมาก เพราะเซลล์สมองที่มีปลอกไมอีลินหุ้มจะสามารถส่งสัญญาณประสาทได้เร็วถึง 100 เท่า3 ทำให้เด็กผ่าคลอดมีสมองไว้ เรียนรู้ได้เร็ว ซึ่งเปรียบได้กับถนนที่ขรุขระแต่ได้รับการดูแลโดยการลาดยางทำให้ถนนเรียบ รถจึงแล่นได้เร็วและไกลมากขึ้น เมื่อใช้ระยะเวลาในการเดินทางเท่ากัน เมื่อถนนทุกสายสามารถสัญจรได้เร็ว ทำให้รถสามารถถึงเป้าหมายได้ไวมากขึ้น
เด็กผ่าคลอดยังต้องได้รับการดูแลเพิ่มมากขึ้นไม่ใช่แค่สมอง แต่ต้องเริ่มเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับลูกลูกตั้งแต่แรกคลอดด้วย เพื่อให้ลูกน้อยเติบโตอย่างแข็งแรงและมีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
เริ่มสร้างเกราะคุ้มกันแรกของชีวิตให้เหนือกว่า ด้วยบี แล็กทิสในนมแม่
- ร่างกายของคนเราจะมีการสร้างกลไกของภูมิคุ้มกันมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันนี้ส่วนหนึ่งต้องมาจากจุลินทรีย์สุขภาพช่วยสร้างขึ้นมาด้วย ปกติแล้วทารกจะได้รับจุลินทรีย์สุขภาพผ่านช่องคลอดของคุณแม่ แต่เด็กผ่าคลอดเสียโอกาสที่ได้รับจุลินทรีย์เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันตรงส่วนนี้ไป คุณแม่จึงควรเริ่มกระตุ้นการเสริมสร้างจุลินทรีย์ที่ขาดหายไปให้ลูกน้อยด้วยบีแล็กทิส (B. lactis) จุลินทรีย์ที่เป็นโพรไบโอติกกลุ่มบิฟิโดแบคทีเรียม (Bifidobacterium) ที่พบได้ในนมแม่6 และลำไส้ของเด็กที่คลอดธรรมชาติ7
- ซึ่งบี แล็กทิส เป็นจุลินทรีย์ในลำไส้ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันตั้งต้น และเสริมสร้างภูมิต้านทานในระบบทางเดินอาหาร8 ช่วยลดอาการท้องผูก อาการลำไส้แปรปรวน ลดการอักเสบที่ตอบสนองการติดเชื้อ ป้องกันอาการท้องเสียฉับพลันในทารก และปรับสมดุลในลำไส้ได้ดี9 จึงช่วยต่อต้านจุลินทรีย์ก่อโรค และสามารถป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ เด็กผ่าคลอดจึงมีภูมิคุ้มกันที่ดี
ช่วงแรกของชีวิตของเด็กผ่าคลอด เป็นโอกาสทองของพัฒนาการการเรียนรู้ที่คุณแม่ควรเริ่มสร้างสมองไว และพัฒนาการที่รวดเร็วให้กับลูกน้อย ด้วยสารอาหารในนมแม่ โดยเฉพาะสฟิงโกไมอีลิน และบีแล็กทิส สารอาหารที่สำคัญต่อการพัฒนาสมองและภูมิคุ้มกันที่เด็กผ่าคลอดเริ่มต้นได้ช้า เพราะการเริ่มต้นที่ไวย่อมเกิดผลลัพธ์ที่ไวกว่า นอกจากนี้ การเสริมสร้างสมองและภูมิคุ้มกันที่ถูกเวลา ผ่านการได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อจะต่อการพัฒนาระบบต่าง ๆ ของร่างกายในทุก ๆ ด้าน พร้อมกับการกระตุ้นพัฒนาการตามวัย จะยิ่งช่วยให้เด็กผ่าคลอดมีพัฒนาการที่ไวกว่า และช่วยให้การทำงานของระบบต่าง ๆ ศักยภาพได้ไวกว่า
อ่านเคล็ดลับคุณแม่ พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับคุณแม่ตั้งแต่เตรียมตัวผ่าตลอด ไปจนถึงการดูแลตัวเอง และลูกผ่าคลอด ได้เลยที่ S-mom club
References
- Zhang, et al., 2019 JAMA Netw Open;2(8):
- วิทยา. 2553 https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=737
- Deoni S.C., et al. AJNR Am J Neuroradiol. 2019 Jan;40(1): 169–177.
- Bentley J, et al. Pediatrics. 2016; 138:1-9.
- Polidano C, et al. Sci Rep. 2017; 7: 11483.
- Chevalier et al. PLos ONE 2015.
- Deoni S, et al. Neuroimage. 2018 Sep;178: 649-659.
- Susuki K. Nature Education. 2010;3(9):59.
- ศิริวุฒิ, เชียงใหม่เวชสาร (ฉบับเสริม 1): 75-84.