ตำแหน่งงานว่างไม่สอดคล้องกับทักษะ-ค่านิยม ทั้งธุรกิจต่าง ๆ ถูก Disruption ตลาดแรงงานมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น และด้วยสถานการณ์โควิด เหล่านี้ทำให้เยาวชนคนจบใหม่ต้องการทักษะ เร่ง Upskill ติดอาวุธ เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานอย่างมีเป้าหมาย
วันที่ 15 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันพัฒนาทักษะเยาวชนสากล” (World Youth Skills Day) และมูลนิธิเด็กโสสะแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ มีหนึ่งหมุดหมายสำคัญคือการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเยาวชนให้พร้อมรับแนวทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ เรียกว่าเตรียมพร้อมเยาวชนให้มีทักษะสอดรับกับการจ้างงาน หรือการเป็นผู้ประกอบการ ภายใต้โครงการ YoutCan! “เยาวชน เราทำได้” เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการสร้างโอกาสให้เยาวชนครอบครัวโสสะ ได้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มทักษะกับบริษัทชั้นนำที่มีการดำเนินงานระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับทางมูลนิธิฯ ถือเป็นโอกาสดีที่เยาวชนครอบครัวโสสะจะได้ทราบความเป็นไปของตลาดแรงงานจากผู้ว่าจ้างที่เป็นบริษัทชั้นนำ
เมื่ออัตราการว่างงานเยาวชนในประเทศไทยอยู่ในระดับสูง
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ประเมินตลาดแรงงาน ถึงอัตราการว่างงานของเยาวชนผู้มีอายุ 15-24 ปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ามีการจ้างแรงงานเยาวชนวัยหนุ่มสาวลดลงร้อยละ 7 ในไตรมาสแรกของปี 2564 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่สี่ของปี 2562 โดยการจ้างงานกลุ่มเยาวชนได้รับผลกระทบอย่างมากในสถานประกอบการขนาดเล็กที่มีการจ้างงานน้อยกว่า 50 คนในองค์กร ซึ่งมีอัตราการจ้างงานลดลงร้อยละ 18 สำหรับแรงงานเยาวชนชาย และร้อยละ 24 สำหรับแรงงานเยาวชนหญิง ทั้งนี้บางส่วนเกิดจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด 19 รวมทั้งตำแหน่งงานที่ว่างไม่สอดคล้องกับทักษะของเยาวชนเอง รวมถึงการถูก Disruption ของบางธุรกิจจนทำให้ต้องตั้งหลักประเมินสถานการณ์และบุกตลาดด้วยวิธีการที่เปลี่ยนไป ส่งผลให้ต้องการแรงงานที่มีทักษะประสบการณ์ที่เข้มข้นเพื่อแข่งขัน เยาวชนจึงยังไม่ใช่ตัวเลือกแรก ๆ ดังนั้นเยาวชนต้อง Upskill
ต้องติดอาวุธสร้างสกิลให้เยาวชน เพื่อลดช่องว่างการขาดแคลนแรงงาน
ปัจจุบันสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บางอย่างหายไป และมีบางอย่างเข้ามาแทนที่ บางครั้งแทบปรับตัวไม่ทัน ทักษะหนึ่งที่มูลนิธิฯ มุ่งหวังให้เยาวชนตระหนักไว้เสมอคือ เรียนรู้ที่จะอยู่บนความไม่แน่นอน ดังนั้นการติดอาวุธเพื่อสร้างสกิลให้พร้อมที่จะปรับตัว และก้าวตามโลกให้ทันนี่คือแก่นของเรื่องที่คาดหวังให้เยาวชนในครอบครัวโสสะได้รับจากการพัฒนาเพิ่มศักยภาพ
“4 Skills” หลักที่มูลนิธิฯ มุ่งสร้างทักษะให้เยาวชนต้องมี
• Upskill – Reskill อัพสกิล คือการเพิ่มทักษะ หรือองค์ความรู้ที่จะส่งผลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รีสกิล คือการสร้างทักษะขึ้นมาใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
• Data Skill ข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ นอกเหนือจากการนำมาวิเคราะห์ ยังมีเรื่องการเข้าถึงข้อมูล และการเลือกข้อมูลมาใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในยุคที่แค่กดเสิร์ชข้อมูลก็หลั่งไหลเข้ามา
• Digital Skill ปัจจุบันเราใช้เทคโนโลยีในการทำงานในหลายระดับ ต้องใช้งานอุปกรณ์เครื่องมือดิจิตอล หากมีความเข้าใจจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้
• Soft Skill – Hard Skill ซอฟสกิล คือการเน้นพัฒนาคุณสมบัติภายใน ความเห็นอกเห็นใจ ความช่วยเหลือ การทำงานร่วมกันเป็นทีม และฮาร์ดสกิล คือทักษะหรือความสามารถที่ใช้ในการทำงานในแต่ละสายอาชีพ
สิ่งที่มูลนิธิเด็กโสสะฯ ตระหนักเสมอเรื่องการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเยาวชนคือ ต้องพัฒนาทักษะที่สอดคล้องตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานและสถานการณ์โลก เพราะนี่อาจเป็นอีกทางออกในการลดจำนวนการขาดแคลนแรงงานลงได้บ้าง และที่สำคัญการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเยาวชนคือโอกาสที่น้อง ๆ ครอบครัวโสสะจะได้รับความรู้มีทักษะ จนนำไปประกอบหน้าที่การงาน มีอาชีพที่มั่นคงสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพและคุณธรรม ของสังคมไทยต่อไป
ร่วมสนับสนุน ในการมอบโอกาสที่สองให้เด็กได้เติบโตในครอบครัวอีกครั้ง
https://www.sosthailand.org/donate-now
#worldyouthskillsday #YoutCan #SkillYouth #มูลนิธิเด็กโสสะ #sosthailand #เติมรักที่ขาดด้วยครอบครัวทดแทน