10 สรุปใจความสำคัญ จาก อ.ชัชชาติ ถึงการสร้างสรรค์นวัตกรรมให้กับชุมชนเมือง
ในงาน Startup X Innovation Thailand Expo 2022 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565
1. ผมว่าความท้าทายของงานนวัตกรรมในเมือง คือการแก้โจทย์เรื่องความไม่เท่าเทียมกัน นวัตกรรมต้องไม่ทำให้คนห่างชนชั้นกันมากขึ้น ไม่เอื้อประโยชน์ให้มีแค่คนรวยนั้นรวยขึ้น แต่ต้องช่วยคนรายได้น้อยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นด้วย
2. กรุงเทพถูกแบ่งด้วยพื้นที่ทางกายภาพเยอะมาก ทั้งๆที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันแต่ชุมชนของคนรายได้น้อยกับหมู่บ้านหรือคอนโดที่มีความหรูหรา ก็ถูกแบ่งแยกกันด้วยกำแพงกั้นแค่อันเดียว
3. ในความเป็นจริง Social Distancing กำแพงกั้นระหว่างคนรวยกับคนรายได้น้อยมีมาก่อนโควิดซะอีก แต่คำถามคือ นวัตกรรมจะมาเข้ามาช่วยทลายกำแพงนี้ แล้วสร้างสังคมที่ดีให้ชีวิตคนในเมืองอยู่ร่วมกันอย่างสบายใจได้อย่างไร
4. เมืองต้องไม่เป็นภาระของคนรุ่นใหม่ ไม่สร้างภาระให้กับคนในอนาคต เช่น เรื่องการจัดการปัญหาขยะ ถ้าเราไม่ใช้นวัตกรรมเข้ามาแก้ไขในวันนี้ คนรุ่นถัดไปก็ยังต้องเผชิญเรื่องนี้ ถ้าหากเราสร้างนวัตกรรมที่ตอบโจทย์ ปัญหาที่มีอยู่จะถูกคลี่คลาย ทำให้คนรุ่นใหม่ได้ใช้ความคิดไปต่อยอดไอเดียในการยกระดับเมืองแทน
5. นวัตกรรมต้องไม่ตอบโจทย์เฉพาะคนบางกลุ่ม แต่ต้องตอบโจทย์คนทุกกลุ่มในสังคมเดียวกัน
6. นวัตกรรม คือการเอาไอเดียไปเป็นคำตอบให้กับ Stakeholders ซึ่งทุกคนก็สามารถมีส่วนร่วมได้ เพียงแค่เริ่มปรับกระบวนการอะไรบางอย่างให้ดีขึ้น
7. นวัตกรรมอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ต้องไฮเทคมาก เพียงแค่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับคนที่เกี่ยวข้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง หลักการก็คือ เปลี่ยนไอเดียให้เกิดเป็นโซลูชั่น ที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นมาได้
8. ไอเดียการปลูกต้นไม้ของกทม.คือการใช้แพลตฟอร์มที่เป็นนวัตกรรมเข้ามาช่วยตอบโจทย์ จากเดิมที่ปลูกต้นไม้เท่าไหร่ในประเทศ ส่วนมากก็จะตายหมด เราเพียงแค่ปรับนิดหน่อย ให้ต้นไม้ต้นนั้นขึ้นมาอยู่บนแอพพลิเคชั่น ปลูกแล้วก็ถ่ายรูปอัพเดทกันทุกปี เราก็จะได้รู้ว่าต้นไม้นั้นเป็นอย่างไร ใครเป็นคนปลูก ปลูกต้นอะไรไปบ้าง เป้าหมายแต่ละเขตมีจำนวนกี่ต้น ก็เป็นนวัตกรรมง่ายๆแต่สร้างคุณค่าในกระบวนการ
9. Open Bangkok คือการเอางบประมาณของกรุงเทพมหานครทั้งหมดขึ้นเว็บไซต์เป็นครั้งแรก ไม่ได้ใช้เงินเพิ่ม แต่ใช้แค่ไอเดีย ทำให้ประชาชนสามารถตวรจสอบได้อย่างโปร่งใส ว่ากทม. เอางบไปใช้ทำอะไรบ้าง เขตละเท่าไหร่ และประชาชนยังเอาข้อมูลไปใช้ต่อได้ รวมถึงนโยบายต่างๆ ของกทม.ทั้ง 214ข้อ ที่ประชาชนก็สามารถมาช่วยกันออกความคิดเห็นได้ เพื่อให้นำไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม เพียงแค่นี้ก็จะทำให้เมืองน่าอยู่ขึ้น
10. ในสมัยก่อนระบบราชการเป็น Pipeline เวลามีปัญหาเรื่องร้องเรียนก็ต้องไปแบบเป็นที่ละจุด ใครเส้นใหญ่หน่อยก็ท่อกว้าง ใครเส้นเล็กก็ท่อตีบ แต่พอเราเปลี่ยนระบบของกทม.เป็นแพลตฟอร์มอย่าง Traffy Fondue ทำให้ทางกทม.ทำงานได้รวดเร็วขึ้น แต่ละเขตก็เข้ามาดูข้อมูลแล้วรีบไปจัดการปัญหานั้นได้โดยตรง ช่วยลดเวลาและขั้นตอนต่างๆลง ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมมาทลายกำแพง Pipeline อย่างตอบโจทย์เมือง และยังต่อยอดไปดูผลการทำงานของแต่ละเขต เพื่อประเมินผลงานของข้าราชการได้อีกด้วย ทำให้การบริหารจัดการเมืองนั้นมีความกระตือรือร้นและแก้ไขปัญหาได้รวดเร็ว
11. People Centric เอาคนเป็นที่ตั้งแล้วใช้เทคโนโลยีมาตอบโจทย์ อย่างเอาเทคโนโลยีเป็นที่ตั้งแล้วให้คนต้องมาอยู่ในโจทย์นั้น
12. ผมไม่ได้เก่งนะครับ ผมเชื่อว่าทาง NIA มีข้อมูลที่ดีมากกว่าผมเยอะ และทางกทม.พร้อมที่จะทำงานร่วมกัน เพื่อใช้นวัตกรรมในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ไปด้วยกัน
13. ภาครัฐกับภาคเอกชนต้องร่วมกันในการสร้างสรรค์เมืองที่น่าอยู่ โดยที่ภาครัฐเป็นควรฝ่ายอำนวยความสะดวก แล้วให้เอกชนเป็นแกนนำในการคิดโซลูชั่นที่ตอบโจทย์กับประชาชน เพราะทางเอกชนมีหลากหลายไอเดียและบุคคลากรที่ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี การร่วมมือกันสร้างนวัตกรรมเพื่อให้เมืองของเราดีขึ้นถึงจะเกิดผล