หนึ่งในเป้าหมายของ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล หรือ ซีเอ็มเอ็มยู (CMMU) ในฐานะสถาบันการศึกษาคือมุ่งหวังสร้างผู้นำองค์กรที่สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคม ผ่านการผลักดันพัฒนานักศึกษา ในหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปริญญาโท หลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ รวมทั้งระดับปริญญาเอก หลักสูตรนานาชาติ ในหลากหลายสาขาแขนง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่ง ครบถ้วนความรู้และทักษะที่ทันสมัย ตอบโจทย์โลกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น การจัดการด้านกลยุทธ์ การเงิน การตลาด ทรัพยากรมนุษย์ ตลอดจนการจัดการธุรกิจอาหารและสุขภาพ เพื่อปรับเปลี่ยนให้ทันโลกปัจจุบัน และเป็นส่วนสำคัญในการช่วยผลักดันอุตสาหกรรมต่างๆ ในสังคมให้เติบโตและประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
การขับเคลื่อนภาคธุรกิจต่างๆ ในแต่ละแขนงให้เติบโตได้นั้น ย่อมอาศัย “แรงกาย” และ “พละกำลังสมอง” จากการระดมไอเดียใหม่ๆ และแตกศาสตร์ความรู้จากการแก้ปัญหากับเหตุการณ์จริง ผ่านการผสมผสานแนวคิด และการวางแผนการพัฒนาระหว่างคนรุ่นเก๋าผู้มากประสบการณ์ผนวกกับคนรุ่นใหม่ ซึ่งการปั้นผู้มีความสามารถ คับคั่งคุณภาพสู่สังคมนั้น สภาพแวดล้อมย่อมสำคัญด้วยเช่นกัน วันนี้เราจึงพา 3 นักบริหารรุ่นใหม่ ศิษย์เก่าใต้หลังคาของรั้ว ซีเอ็มเอ็มยู ในแต่ละสาขาวิชา พาย้อนไปยังสมัยเป็นนักศึกษาว่าเป็นอย่างไรบ้าง และได้ต่อยอดสิ่งที่เรียนไปพัฒนาธุรกิจสู่สังคมอย่างไร
ศิษย์เก่า สาขาการจัดการธุรกิจอาหาร ผู้สนใจด้านผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร สู่การปั้นบริษัทสตาร์ทอัพตนเองขณะเป็นนักศึกษา และคว้าตำแหน่งผู้ชนะเลิศโครงการ Space-F จาก 20 บริษัทสตาร์ทอัพทั่วโลก
สาขาวิชา การจัดการธุรกิจอาหาร (Food Business Management) ที่ ซีเอ็มเอ็มยู เพราะผมต้องการทำผลิตภัณฑ์ยา และเห็นว่าสมุนไพรไทยมีส่วนประกอบสำคัญค่อนข้างมากแต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาสู่ท้องตลาด อาทิ ด้านเกษตรกร วิธีการสกัด ซึ่งสาขานี้ไม่ใช่แค่จัดการในธุรกิจอาหารเท่านั้น แต่ยังจัดการในธุรกิจเกษตร ปศุสัตว์ รวมถึงสร้างแนวคิดกระบวนการจัดการ และการประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียนไปต่อยอดทางธุรกิจให้เป็นจริงได้ ในช่วงที่เรียนนอกจากหลักสูตรที่เข้มข้นแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษามากๆ คือ การพิชชิ่งและการทำเคสจริงจำนวนมาก ทำให้ผมและเพื่อนๆ ได้ใช้สรรพกำลังในการคิดกลั่นกรองวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ผ่านการใช้หลักการวิชาการตอบโจทย์ และได้เตรียมตัวพรีเซนต์ผลงานชิงทุนต่างๆ จนทำให้ผมเปิดบริษัทของตนเองร่วมกับเพื่อนๆ ได้ในขณะที่ยังเป็นนักศึกษาปี 3 ในนามบริษัท จีพีเจ ไบโอเทคโนโลยี จำกัด นำความถนัดเรื่องชีววิทยาและการเกษตร ชู 3 จุดแข็ง ด้านเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) ด้านเกษตรสมัยใหม่ (Modern Agriculture) และนวัตกรรมชีวภาพ (Biological innovation) ซึ่งมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยช่วยแนะนำอย่างใกล้ชิด รวมถึงอาจารย์จากสาขาอื่นๆ หรือข้ามวิทยาเขต และพาร์ทเนอร์ของมหาวิทยาลัยทั้งหน่วยงานธนาคาร บริษัทห้างร้าน ก็มาร่วมผลักดันส่งเสริมผมในการสร้างบริษัทและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ทำให้ผมรู้สึกไม่โดดเดี่ยว อบอุ่นใจอย่างมาก
ในขณะที่เรียนผมยังได้รับทุนจากทาง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และโครงการ WEDO ของเอสซีจี ในการทำโร้ดแมฟอาหารอินทรีย์ของประเทศ รวมถึงการสื่อสารในเรื่องผลิตภัณฑ์ GI ในภูมิภาคต่างๆ รวมทั้งได้นำบริษัทสตาร์ทอัพตนเองเข้าร่วมแข่งขันในโครงการ SPACE-F ซึ่งเป็นการแข่งขัน Global Food Tech innovation คัดเลือกทีมบริษัทสตาร์ทอัพจากทั่วโลก 20 ทีมมาแข่งขัน และเราก็เป็นหนึ่งในผู้ชนะประเภท Health and Wellness ซึ่งต้องขอบคุณทาง ซีเอ็มเอ็มยู ที่บ่มเพาะความรู้ที่ทันสมัย ประสบการณ์จริง แนวคิดด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี และวิธีการคิดให้รู้จักคอลแลปกับศาสตร์อื่นๆ แบบกึ่งอนาคต ทำให้เรามีมุมมองที่ก้าวไกล ซึ่งรู้สึกคิดไม่ผิดเลยที่ตัดสินใจเลือกมาเรียนที่นี่ เพราะทุกวันนี้อาจารย์และมหาวิทยาลัยก็ยังคงมอบพลังให้ผมและทุกคนในการพัฒนาธุรกิจต่อเนื่องตอบโจทย์ผู้คนและสังคม รวมทั้งการวางแผนขยายธุรกิจไปทั่วโลกด้วยครับ
ศิษย์เก่า สาขาภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม ผู้ต้องการฉีกกรอบการบริหารธุรกิจครอบครัวแบบเดิมๆ สู่แนวคิดการเพิ่ม “คุณค่า” ให้สินค้าด้วยมุมมองใหม่และตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง
แพรววลิน ธรรมสุริยะ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ที ที แอนด์ เค โปรโมชั่น จำกัด กล่าวว่า ย้อนไปสมัยที่เลือกสาขาเรียน แพรวเป็นทายาทธุรกิจซึ่งอยู่ในระหว่างรับช่วงต่อกิจการ (การ์เมนท์ ตัดเย็บเสื้อผ้า) จากคุณพ่อคุณแม่ แต่เนื่องจากคลุกคลีกับกิจการมาตั้งแต่เด็ก ทำให้แพรวติดภาพการบริหารจัดการแบบเก่าๆ และไม่สามารถคิดนอกกรอบได้ แพรวต้องการทำให้กิจการเติบโตมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร และไม่ต้องการเสียเวลาลองผิดลองถูก จึงตัดสินใจมองหาหลักสูตรการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ข้อนี้ได้ ซึ่งสาขา ภาวะผู้ประกอบการและนวัตกรรม (Entrepreneurship and Innovation) ที่ซีเอ็มเอ็มยู เป็นคำตอบที่ชัดเจนที่สุดค่ะ คณาจารย์ที่มาสอนแต่ละท่านไม่ได้สอนตามแต่ทฤษฎี แต่นำเคสจริงมาสอนทำให้เราเห็นภาพและเข้าใจอย่างถ่องแท้ ทั้งได้ความรู้ ความสนุก และสังคมเพื่อนร่วมเรียนก็น่ารัก ช่วยกันระดมความคิดและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ต่างๆ ทำให้ไม่เคยเหนื่อยกับงานกลุ่มเลย โดยเฉพาะการทำ Business Plan จะมีกรรมการจากนอกมหาวิทยาลัยและอยู่ในวงการธุรกิจนั้นๆ มาเป็นกรรมการ ติชมและแนะนำจากมุมมองการทำธุรกิจจริง เช่น แบบนี้เจ๊ง แบบนี้ทำได้จริง แบบนี้เพ้อฝัน รวมถึงได้ไปนำเสนอผลงานวิจัยที่ต่างประเทศด้วย สุดท้ายสิ่งที่ติดตัวออกมาด้วยหลังจากจบหลักสูตรคือ “จิตวิญญาณของการเป็นผู้ประกอบการ” ที่หล่อหลอมเรามาอย่างมีระบบตลอดการเรียน และทำให้เราสามารถพัฒนาธุรกิจให้เติบโตได้
สาขานี้ให้ความรู้และเปิดมุมมองได้กว้างมาก หากแจ้งเป็นข้อๆ คงตอบได้ยาก แต่ประโยคที่จำขึ้นใจจากอาจารย์ธนพล คือ คำว่า “คุณค่า” สิ่งที่เราทำหรือสินค้า/บริการของเรา มี “คุณค่า” กับตัวผู้ซื้อไหม ถ้ามี “คุณค่า” กับเขา เท่าไหร่เขาก็ยอมจ่าย แต่ถ้าไม่มีคุณค่า ให้ฟรีเขาก็ไม่เอา ซึ่งปัจจุบันแพรวทำงานเป็นผู้จัดการทั่วไป บริษัท ที ที แอนด์ เค โปรโมชั่น จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายกระดาษชำระ กระดาษเช็ดมือ และกระดาษทิชชู่ทุกรูปแบบ ให้กับองค์กรและแบรนด์ต่างๆ ด้วย ซึ่งสินค้าผลิตจากโรงงานเราเอง แม้ผลิตกระดาษชำระที่คนภายนอกอาจมองว่าเป็นกระดาษชำระที่ไม่มีความแตกต่าง แต่เราใส่ใจในทุกรายละเอียด โดยหยิบสินค้าชิ้นเดิมมาพิจารณาด้วยมุมมองใหม่ และใส่คุณค่าด้านวัตถุดิบ การผลิต การเพิ่มลวดลายเข้าไป ก็สามารถทำให้ลูกค้าประทับใจและไว้วางใจใช้บริการเราอย่างต่อเนื่องค่ะ
ศิษย์เก่า สาขาการจัดการความเป็นผู้ประกอบการ และนักเรียนแลกเปลี่ยนที่เยอรมันนี กับการนำความรู้ พลิกธุรกิจค้าปลีกของครอบครัว ให้เป็นสังคมที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้แก่ลูกค้า
นักศึกษาศิษย์เก่า ปริญญาโท หลักสูตรนานาชาติ สาขาวิชาการจัดการความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship Management) และเข้าร่วมโครงการนักเรียนแลกเปลี่ยน (Student Exchange) ที่มิวนิก ประเทศเยอรมันนี จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ปัจจุบันเป็นผู้บริหารทายาทรุ่น 2 ของธุรกิจครอบครัว J&C หรือ บริษัท จอย แอนด์ คอยน์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นธุรกิจค้าปลีกรูปแบบร้านสะดวกซื้อที่มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ ส่วนใหญ่จะอยู่ที่เมืองรอง โดยสมัยเรียนเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ธุรกิจค้าปลีกมีการแข่งขันสูงมากๆ และมีเรื่องของ New Normal, E-Commerce, Social Network เข้ามา ในตอนนั้นธุรกิจ J&C ยังเป็นรูปแบบออฟไลน์เป็นหลัก รวมทั้งมีคู่แข่งจากต่างชาติเข้ามามากขึ้นในไทย ทำให้เราต้องขยายเพิ่มช่องทางออนไลน์ และดูทรัพยากรของเราว่ามีอะไรที่เหนือจากคู่แข่ง เช่น การบริการหลังการขาย
โชคดีที่มาเรียนที่ ซีเอ็มเอ็มยู ทำให้ได้เรียนรู้ด้านค้าปลีก (Retail) และระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) ว่าเราต้องใช้ดาต้า ความรู้ภูมิปัญญา ผสมผสานองค์ประกอบที่มีอยู่วิเคราะห์ตลาดต่างๆ เป็น ห่วงโซ่คุณค่าในการตลาด (Value Chain) สมัยใหม่ และมีผู้เชี่ยวชาญมาให้แนวคิด แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานโดยตรง รวมทั้งเพื่อนๆ ที่มาเรียนด้วยกันมีทั้งคนไทยและคนต่างชาติ เช่น เยอรมัน นอร์เวย์ เวียดนาม ญี่ปุ่น ที่ทำธุรกิจหลากหลาย และต่างวัยกับเรา ทำให้ช่วยขยายมุมมองและคอนเนคชั่นกว้างขึ้น ทำให้สามารถปรับธุรกิจรับกับทุกๆ สถานการณ์ปัจจุบันได้เป็นต้นมา รวมทั้งได้นำความรู้ด้าน Sharing Economy และแพลตฟอร์มต่างๆ ตอนไปแลกเปลี่ยนที่เยอรมันนี มาต่อยอดไอเดียเรื่อง Sharing Economy ที่ธุรกิจ J&C ทำร่วมกับชุมชนอยู่แล้ว ในการทำ Business format เปลี่ยนบ้านให้เป็นร้านค้า ดึงคนในชุมชนจากผู้มาซื้อสินค้าเรา โดยเฉพาะผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาซื้อสินค้า และไม่ค่อยมีเงินเก็บ ให้มาเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน สร้างอาชีพ เสริมรายได้ด้วยกัน ผ่านเทคโนโลยีที่เราแนะนำสอนเขา ซึ่งตอบโจทย์สังคมไทยที่ก้าวเข้าสู่ยุคสังคมผู้อายุในปัจจุบันด้วย ดังนั้น ซีเอ็มเอ็มยู จึงเปรียบเสมือนเกตเวย์ที่เปิดโลกทัศน์ผม และสอนให้เป็นคน Active learning ว่าการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุดโดยแท้จริงครับ
ติดตามข้อมูลหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-206-2000 หรือเฟซบุ๊กแฟนเพจ “CMMU Mahidol”