โควิด-19

โควิด-19 วันนี้ ( 12 ก.ค.) พบเพิ่ม 8,656 – เสียชีวิต 80 / เปิด 4 จุดตรวจใหม่

พบผู้ป่วยเพิ่ม 8,656 ราย / เปิดจุดตรวจ Rapid Test ในกทม. ให้ได้ 12,000 ราย/วัน เริ่มนำร่องวันนี้ 3 จุด

Home / โควิด-19 / โควิด-19 วันนี้ ( 12 ก.ค.) พบเพิ่ม 8,656 – เสียชีวิต 80 / เปิด 4 จุดตรวจใหม่

ศูนย์ข้อมูโควิด-19 ได้รายงานสถานการณ์โควิด19 ประจำวันที่ 12 ก.ค. เมื่อช่วง 08.00 น. โดยสถานการณ์ในประเทศไทย

  • พบผู้ป่วยเพิ่ม 8,656 ราย รวมสะสม 345,027 ราย
    เป็นการประชาชนทั่วไป 8,583 ราย และเป็นผู้ต้องขัง 73 ราย
  • หายป่วยเพิ่ม 3,687 ราย รวมหายแล้ว 251,658 ราย
  • เสียชีวิตเพิ่ม 80 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 2,791 ราย

จากการพบผู้ติดเชื้อในขณะนี้ พบว่า เป็นการติดเชื้อในครอบครัว กลุ่มเพื่อน ที่ทำงาน เพิ่มขึ้น ในหลายจังหวัดโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล

เร่งลุยตรวจ Rapid Test 12,000 คน/วัน

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก ทำให้จำเป็นต้องมีการเร่งค้นหาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว ทาง สปสช. ร่วมกับ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมีการเปิดบริการตรวจโควิด-19 ในการค้นหาเชิงรุกในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยจะเริ่มในวันนี้ ( 12 ก.ค. ) เป็นวันแรก โดยมีเป้าหมายที่จะตรวจให้ได้ 1-1.2 หมื่นรายต่อวัน ในช่วงเวลา 1-2 สัปดาห์นี้ ซึ่งจะมีการตั้งจุดตรวจ 4 จุดด้วยกัน

วันที่ 12 ก.ค.

  • สนามกีฬาธูปะเตมีย์ กองทัพอากาศ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี จำนวน 3,000 คน/วัน
  • สนามราชมังคลากีฬาสถาน (หัวหมาก) เขตบางกะปิ กทม. จำนวน 3,000 คน/วัน
  • ลานจอดรถชั้น 5 อาคารบี ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ถ.แจ้งวัฒนะ โดยทดลองระบบวันแรก 500 คน และจะเพิ่มจำนวนให้ได้ 3,000 คน/วัน

ซึ่งใน 2 จุดแรกจะรับผิดชอบโดย สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง และจุดที่ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ จะดูแลโดยคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

วันที่ 14 ก.ค.

  • สนามฟุตบอลกองพล ปตอ. เกียกกาย เขตดุสิต กทม. จำนวน 3,000 คน/วัน

โดยในจุดนี้ จะดูแลโดยสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง

แนวทางแยกกักตัวที่บ้าน / ชุมชน

ในแนวทางของกรมการแพทย์ล่าสุด เมื่อมีการตรวจค้นหาผู้ป่วยด้วยชุดตรวจ Rapid Test แบบ Antigen ในจุดตรวจเชิงรุกแลว หากพบติดเชื้อจะมีการประเมินอาการ หากเป็นผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรืออาการเบา ก็จะให้เข้าสู่ระบบการดูแลที่บ้าน/ชุมชน โดยมีคลินิกชุมชน-รพ.พี่เลี้ยงในพื้นที่ เป็นผู้ประสานงานดูแลผู้ป่วยและติดตามอาการต่าง ๆ

โดยในการรักษาตัวที่บ้านนั้น จะมีการส่งเครื่องวัดไข้, เครื่องวัดระดับออกซิเจนในเลือด, ยาฟ้าทะลายโจร พร้อมจัดส่งอาหารไปให้ผู้ป่วย ร่วมกับการทำ Telehealth ให้แพทย์ติดตามอาการผ่านวิดีโอคอลวันละ 2 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่า ผู้ป่วยได้รับการดูแลอยู่ที่บ้าน

กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง ก็จะมีการส่งตัวต่อไปรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งหากยังหา รพ./เตียงไม่ได้ จะมีการจัดส่งยากฟาวิพิราเวียร์ไปให้ที่บ้าน เพื่อรับประทาน ประคองอาการไว้ก่อน