ข่าวสดวันนี้ ฮิโนกิแลนด์

สวธ. แจงยก’ฮิโนกิแลนด์’เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เตรียมนำข้อท้วงติงมาทบทวน

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจงเกณฑ์ยก’ฮิโนกิแลนด์’เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เตรียมนำข้อท้วงติงมาทบทวน นายชัยพล สุขเอี่ยม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ชี้แจงว่า ตามที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลการคัดเลือกแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแหล่งวัฒนธรรม ที่มีการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดและสร้างสรรค์ ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน และเครือข่ายทางวัฒนธรรม…

Home / NEWS / สวธ. แจงยก’ฮิโนกิแลนด์’เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เตรียมนำข้อท้วงติงมาทบทวน

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม แจงเกณฑ์ยก’ฮิโนกิแลนด์’เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เตรียมนำข้อท้วงติงมาทบทวน

นายชัยพล สุขเอี่ยม รองอธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ชี้แจงว่า ตามที่ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ประกาศผลการคัดเลือกแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติแหล่งวัฒนธรรม ที่มีการนำทุนทางวัฒนธรรมมาต่อยอดและสร้างสรรค์ ที่ดำเนินการโดยภาคเอกชน และเครือข่ายทางวัฒนธรรม โดยมีสื่อมวลชนและสื่อโซเชี่ยลมีเดีย ได้นำเสนอข้อคิดเห็นของประชาชน ในการประกาศให้ ฮิโนกิแลนด์ เป็นแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไปนั้น

สวธ.ขอเรียนชี้แจงว่า การคัดเลือกครั้งนี้ ได้จัดทำแบบสำรวจแหล่งวัฒนธรรม โดยให้สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรม และหน่วยงานต่างๆ รวบรวมข้อมูลแหล่งวัฒนธรรมที่ดำเนินการโดยภาคเอกชนและเครือข่ายทางวัฒนธรรม เสนอให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิและกรรมการพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากเห็นว่า ฮิโนกิแลนด์ มีความโดดเด่นทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ที่ท้าทาย มีอาคารสถาปัตยกรรมที่สร้างจากไม้หอมฮิโนกิ ตกแต่งด้วยโคมแดง เป็นแหล่งเรียนรู้และแลกเปลี่ยนวิถีชีวิตของญี่ปุ่น หากผู้สนใจก็สามารถเดินทางไปเยี่ยมชมแทนการเดินทางไปประเทศญี่ปุ่นได้ และมีศักยภาพสามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

สำหรับเกณฑ์การคัดเลือก มีดังนี้

  1. มีสถานที่ตั้งและที่อยู่ชัดเจน มีตัวอาคารมั่นคงถาวร โดยเป็นสถานที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่มีการประยุกต์ ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบทสังคมอยู่เสมอ
  2. เป็นสถานที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา องค์กรการกุศล ชุมชน หรือบุคคลทั่วไป
  3. เป็นสถานที่ให้ความรู้ทางด้านศิลปวัฒนธรรมสร้างสรรค์ มีพื้นที่ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับบุคคลทั่วไปได้ และมีการนำเสนอแนวทางการดำเนินการแบบวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Economy)
  4. มีการบูรณาการการจัดกิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน
  5. เปิดให้บริการเป็นประจำแก่เด็ก เยาวชน และผู้สนใจทั่วไปให้เข้าไปศึกษา หาความรู้
  6. มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวไทย และชาวต่างชาติ

ทั้งนี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จะนำข้อท้วงติงและความคิดเห็นต่างๆของประชาชนจากสื่อมวลชนและสื่อโซเชียลมีเดีย ในการคัดเลือกแหล่งวัฒนธรรมที่ต้องไป เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาทบทวนอีกครั้ง