ประเด็นน่าสนใจ
- สถานการณ์ของการชุมนุม-ประท้วงขับไล่รัฐบาลไม่ได้มีที่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ในหลายประเทศก็มีการชุมนุมประท้วงเช่นกัน
- เหตุผลของการประท้วงเกิดจากความไม่พอใจในประเด็นที่แตกต่างกันไป
- แนวทางการจัดการของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันออกไป ตั้งแน่เบา ไปจนถึงสถานการณ์นำไปสู่สถานการณ์ที่รุนแรงมาก
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่มีการชุมนุมเกิดขึ้น โดยในแต่ละประเทศมีเหตุผลหรือสาเหตุของการออกมาชุมนุมที่แตกต่างกันออกไป
ในวันนี้ เอ็มไทย จะมาสรุปประเด็นการประท้วงที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ประเทศว่า มีที่มาที่ไปอย่างไร และสถานการณ์เป็นไปอย่างไรแล้วบ้าง
◾️กัวเตมาลา
ที่มา :
หลังจากที่รัฐบาลได้ผ่านกฎหมายงบประมาณ ของประเทศออกมา ซึ่งมีการตัดงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการทางสังคมของประชาชนออกไป แต่กลับมีการขึ้นเงินเดือนให้กลุ่มพวกพ้อง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่พอใจ โดยมองว่า รัฐบาลกำลังเอื้อประโยชน์ให้กับพวกพ้อง กลุ่มทุน-บริษัท มีการคอรัปชั่นเกิดขึ้น ท่ามกลางความอดอยากของประชาชน ที่เผชิญปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ และปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ที่รุมเร้า ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบจากพายุที่พัดถล่ม เมื่อไม่นานมานี้, ปัญหาการระบาดของโควิด-19
จึงได้มีการวมตัวกันประท้วงเพื่อขับไล่ประธานาธิบดี ให้ลาออกจากตำแหน่ง แสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้น
การปฏิบัติงานของตร. :
หลังจากที่การประท้วงเริ่มลุกลาม และรุนแรงมากขึ้น โดยกลุ่มผู้ชุมนุมได้มีการบุกทำลาย และเผาอาคารรัฐสภา เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ได้เข้าควบคุมสถานการณ์ โดยใช้กระบอง แก๊สน้ำตา และมีการจับกุมตัวผู้ประท้วง
| กัวเตมาลาประท้วงลุกลาม ผู้ชุมนุมบุกเผาทำลายอาคารรัฐสภา >>>
◾️ฝรั่งเศส
ที่มา :
หลังจากที่มีการเสนอร่างกฎหมาย เพื่อควบคุมไม่ให้มีการถ่ายภาพเจ้าหน้าที่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ โดยรัฐบาลระบุว่า เพื่อปกป้องเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ให้ถูกถ่ายภาพและนำไปใช้ ส่งต่อ จนนำไปสู่การคุกคามเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานทั้งในและนอกเวลางาน
ซึ่งมีประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วย จึงได้ออกมารวมตัวกันประท้วง โดยระบุว่า กฎหมายเหล่านี้ จะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการละเมิดและคุกคามสื่อมวลชน หรือประชาชนแทน เนื่องจากเป็นข้อกฎหมายที่มีโทษค่อนข้างสูงคือ จำคุก 1 ปี หรือ ปรับ 45,000 ยูโร (ราว 1.6 ล้านบาท)
การปฏิบัติงานของตร. :
มีการเข้าควบคุมการชุมนุม รวมถึงการสลายการชุมนุมในบางจุดด้วย โดยการใช้กำลังเจ้าหน้าที่ ตั้งแนวปิดกั้นพื้นที่ ควบคุม/จับกุม ผู้ประท้วงบางส่วน รวมถึงการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง และแก๊สน้ำตาด้วย หลังจากมีการใช้พลุควัน พลุไฟ และเผาสิ่งของ โดยกลุ่มผู้ประท้วง ซึ่งระบุว่า เป็นการตอบโต้ที่เจ้าหน้าที่มีการใช้ความรุนแรงกับกลุ่มผู้ประท้วง
สถานการณ์ปัจจุบัน :
ยังคงมีการชุมนุมกันอยู่ ซึ่งสถานการณ์ยังคงคุกรุ่น เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวยังคงอยู่ในการพิจารณา ซึ่งจะมีการลงมติในการผ่านร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวในวันอังคารที่จะถึงนี้ รวมถึงการใช้มาตรการที่เกิดขึ้นของทางเจ้าหน้าที่ ที่กลุ่มผู้ประท้วงระบุว่า เป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ
◾️สหรัฐฯ
สาเหตุ :
ประเด็นสำคัญของการประท้วงในสหรัฐฯ นั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเด็นใหญ่ คือ Black live matter, Covid-19 และ การเลือกตั้งสหรัฐฯ ส่วนในสถานการณ์หลัก ๆ ในขณะนี้เป็นประเด็นของ การเลือกตั้งสหรัฐฯ
โดยในการชุมนุม ประท้วง เดินขบวน เกิดขึ้นทั้งสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้สนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ โดยได้เรียกร้องให้มีการนับคะแนนใหม่ เนื่องจากเชื่อว่า การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการโกงการเลือกตั้ง
ส่วนเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ก็มีการประท้วงที่เรียกว่า Black lives matter หลังจากมีเหตุการณ์เสียชีวิตของจอร์จ ฟอร์ยด์ จากการกระทำรุนแรงของเจ้าหน้าที่ ทำให้การเคลื่อนไหวในประเด็นนี้ลุกลามนำไปสู่การประท้วงอีกครั้ง และในครั้งนี้ ลุกลามไปทั่วสหรัฐฯ และมีกลุ่มผู้ออกมาร่วมชุมนุมเป็นจำนวนมาก
สถานการณ์ในขณะนี้ :
สำหรับการประท้วงยังคงมีอยู่ โดยเฉพาะในปมของการเลือกตั้ง แต่การประท้วงส่วนใหญ่ยังคงเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
◾️ชิลี
สาเหตุ :
สำหรับในชิลีนั้น มีการประท้วงมาตั้งแต่ช่วราวปี 2019 เช่นกัน เนื่องจากปัญหาสภาะเศรษฐกิจตกต่ำ สภาพความเป็นอยู่ต่าง ๆ โดยต้องการให้ประธานาธิบดี เซบาสเตียน ปิเญรา ลาออกจากตำแหน่ง และสถานการณ์ก็ลุกลามบานปลายมากขึ้น มีการปล้นสะดม เผาทำลายโบสถ์ สำนักงานตำรวจ นำไปสู่การปลดคณะรัฐมนตรีหลายคน และมีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ใหม่
โดยเชื่อว่า เป็นหนึ่งในการปลดล็อกปัญหาที่เกิดขึ้น ภายใต้ รธน. ฉบับเผด็จการที่ร่างขึ้นมาตั้งแต่ปี 1980
หลังจากได้รัฐธรรมนูญใหม่ ประชาชนได้ออกมาร่วมฉลองแสดงความยินดีกันเป็นจำนวนมาก แต่สถานการณ์กลับไม่สงบลง เนื่องจาก ปธน. ปิเญรา ไม่ยอมลาออกจากตำแหน่ง สร้างความไม่พอใจและนำไปสู่การประท้วงรอบใหม่อีกครั้ง
สถานการณ์ปัจจุบัน :
ยังคงมีการประท้วงกันอย่างต่อเนื่องจนถึงขณะนี้ ( 21 พ.ย.) และส่อแววลุกลามใหญ่มากขึ้น
มาตรการของเจ้าหน้าที่ :
มีการใช้กำลังสลายการชุมนุม มีการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา เพื่อสลายการชุมนุมเช่นเดียวกัน
◾️เปรู
ที่มา :
ปัญหารการคอรัปชั่น และสินบน นำไปสู่การประท้วงครั้งใหญ่ และมีการเลือกตั้งในประเทศชิลี แต่กลับกลายเป็นว่า ปัญหาไม่ได้ยุติลงที่การเลือกตั้งเมื่อ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน พ่ายแพ้ให้กับ มาร์ติน วิซคาร์รา ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีของชิลี แต่พรรคฝ่ายค้านกลับมีที่นั่งในสภาฯ มากกว่ารัฐบาล
หลังจากนั้นก็มีข้อครหาว่า ว่ามาร์ติน วิซคาร์รา ประธานาธิบดี มีปัญหาในเรื่องของการคอรัปชั่น ในโครงการต่าง ๆ นำไปสู่การที่สภาฯ มีมติให้ มาร์ติน วิซคาร์รา พ้นจากตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งนายวิซคาร์รา ก็ยอมรับมติดังกล่าว แต่ยังคงยืนยันว่า ตนเองไม่ผิด และให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน
การพ้นจากตำแหน่งของ ปธน. มาร์ติน วิซคาร์รา ถูกมองว่าเป็นการเปิดทางให้ผู้นำฝ่ายค้านผู้ที่พ่ายแพ้ในการเลือกตั้ง ปธน. ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งแทน ทำให้ประชาชนจำนวนมาก ไม่พอใจและออกมาประท้วง
จนกระทั่งวันที่ 14 พ.ย. ที่ผ่านมา มีเหตุการปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุม และ ตำรวจ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และกลายเป็นการประท้วงใหญ่ลุกลามมากยิ่งขึ้นไปอีก
สถานการณ์ปัจจุบัน :
ยังคงมีการประท้วงอยู่ ท่ามกลางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่เข้ามาควบคุม ดูแลสถานการณ์
◾️แอฟริกาใต้
ที่มา :
เป็นปัญหาในเรื่องของการเหยียดผิว หลังจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในเมืองเคปทาวน์ ได้จัดปาร์ตี้จบการศึกษาให้กับนักเรียน “เฉพาะนักเรียนผิวขาว” เท่านั้น ทำให้ผู้ปกครองของเด็กจำนวนมากไม่พอใจ และมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการเหยียดผิว จึงได้ไปรวมตัวกันบริเวณด้านนอกโรงเรียนดังกล่าว เพื่อแสดงความไม่พอใจในสิ่งที่เกิดขึ้น
มาตรการของเจ้าหน้าที่ :
ทางตำรวจได้ใช้มาตรการขั้นเด็ดขาดในการสลายการชุมนุม โดยใช้แก๊สน้ำตา รถฉีดน้ำแรงดันสูง ทำให้มีผู้บาดเจ็บหลายราย
สถานการณ์ในปัจจุบัน :
ยังคงมีการนัดรวมตัวกันเพื่อจัดการชุมนุมประท้วงกันอยู่
◾️ยูกันดา
ที่มา :
ในขณะนี้ ในประเทศยูกันดา กำลังอยู่ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ของยูกันดา ซึ่ง โบบี ไวน์ หนึ่งในผู้สมัครรับเลือกตั้งในครั้งนี้ ถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจยูกันดาในระหว่างการหาเสียง โดยระบุว่า โบบี ไวน์ ทำผิดกฎห้ามรวมกลุ่มเกิน 200 คน
ซึ่งกฎดังกล่าวมีการประกาศไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้าที่โบบี จะถูกจับ ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนมองว่า เป็นการกลั่นแกล้งทางการเมือง จึงได้ออกมารวมตัวประท้วง เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว โบบี และนำไปสู่ปัญหาที่ลุกลามมากขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ/ทหารเข้าสลายการชุมนุมของกลุ่มผู้ประท้วง
ซึ่งจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้มีผู้เสียชีวิต 37 ราย และบาดเจ็บอีกหลายราย
มาตรการของเจ้าหน้าที่ :
ในส่วนของเจ้าหน้าที่มีการใช้แก๊สน้ำตา กระสุนยาง ในการสลายการชุมนุม แต่มีเจ้าหน้าที่อีกบางส่วนที่ไม่ได้ระบุว่าเป็นหน่วยใด เข้ามาร่วมในปฏิบัติการครั้งนี้ และมีการใช้กระสุนจริง ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก
◾️เยอรมนี
ที่มา :
รัฐบาลเยอรมัน ได้มีการยกระดับของการควบคุมโควิด-19 โดยมีการลงคะแนนเสียงผ่านกฎหมายให้รัฐบาลสามารถจำกัดสิทธิต่าง ๆ เช่น การจำกัดจำนวนกมาร่วมกลุ่ม การสวมหน้ากา การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในที่สาธารณะ การปิดสถานที่สาธารณะต่าง ๆ
โดยกลุ่มผู้ประท้วงจำนวนมาก ได้ออกมารวมตัวกันในกรุงเบอริน เพื่อแสดงความไม่พอใจ เนื่องจากมองว่า กฎหมายดังกล่าวละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐาน รวมถึงเปิดทางให้มีการใช้อำนาจมากเกินไป
มาตรการของตำรวจ :
มีการเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณการชุมนุม ใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง
◾️ฮ่องกง
สาเหตุ/ที่มา :
สำหรับฮ่องกงนั้นมีการประท้วงกันอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 จนถึงปัจจุบัน โดยสาเหตุเริ่มต้นจากการเรียกร้องให้มีการถอนร่างกฎหมายการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ซึ่งถูกระบุว่าเป็นกฎหมายที่จะทำให้ชาวฮ่องกงตกอยู่ภายใต้กฎหมายของเจีนแผ่นดินใหญ่
สถานการณ์ในปัจจุบัน :
นับตั้งแต่กลางปี 2019 ถึงปัจจุบัน ยังประท้วงดำเนินต่อเนื่องมาเป็นระยะ ๆ จนถึงปัจจุบัน ที่สถานการณ์ยังคุกรุ่นอยู่ โดยข้อเรียกร้องได้ขยับเพิ่มขึ้นถูกยกระดับขึ้น จากเพียงแค่การยกเลิกกฎหมาย นำไปสู่การแยกตัวจากระบบ 1 ประเทศ 2 ระบบของจีน
มาตรการของเจ้าหน้าที่ :
ที่ผ่านมามีทั้งการบังคับใช้กฎหมาย สลายการชุมนุม มีการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูง แก๊สน้ำตา กระบอง กระสุนยาง ซึ่งตั้งแต่ กลางปี 2019 – 31 ต.ค. 2020 มีผูู้ดำเนินคดีแล้วกว่า 1 หมื่นคน ตั้งแต่อายุ 11 – 84 ปี