กูเกิล หัวเว่ย

ปิดดีลหัวเว่ย สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร

โดยในสถานการณ์ล่าสุด สหรัฐฯ ยอมผ่อนปรน ให้หัวเว่ยสั่งสินค้าออกได้ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากทางการจีนส่งสัญญาน จะไม่ส่งแร่ที่ใช้ในการผลิตชิปให้ หากยังคงท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ต่อไป สรุปไทมไลน์เหตุการณ์- ประเด็นสำคัญ สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำหัวเว่ย หลังจากที่มีประเด็นต่อเนื่องในหลายๆ ประเด็น…

Home / NEWS / ปิดดีลหัวเว่ย สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งนับศพทหาร

ประเด็นน่าสนใจ

  • ล่าสุด ( 16.50 น. ) – ผลการผ่อนปรนของ ก.พาณิชย์ ของสหรัฐฯ เปิดช่องให้ กูเกิ้ล ยังสามารถส่งอัปเดตข้อมูลต่างๆ ให้กับหัวเว่ยต่อได้ถึงเดือน ส.ค. 2562 นี้
  • สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ หัวเว่ย ทำให้ กูเกิ้ลต้องดำเนินการยกเลิกการทำธุรกิจกับหัวเว่ย
  • สหรัฐฯ ผ่อนปรน ให้หัวเว่ยสั่งซื้อสินค้าได้ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน
  • ซีอีโอ หัวเว่ยกล่าวว่า “90 วันแทบไม่มีความหมาย”
  • ผู้ใช้งานหัวเว่ยในรุ่นปัจจุบัน ยังคงได้รับการดูแล และใช้ Google Service ต่างๆ ได้ต่อ

โดยในสถานการณ์ล่าสุด สหรัฐฯ ยอมผ่อนปรน ให้หัวเว่ยสั่งสินค้าออกได้ชั่วคราวเป็นเวลา 90 วัน ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากทางการจีนส่งสัญญาน จะไม่ส่งแร่ที่ใช้ในการผลิตชิปให้ หากยังคงท่าทีแข็งกร้าวเช่นนี้ต่อไป

สรุปไทมไลน์เหตุการณ์- ประเด็นสำคัญ

สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำหัวเว่ย หลังจากที่มีประเด็นต่อเนื่องในหลายๆ ประเด็น โดยประเด็นหลัก น่าจะเป็นท่าทีที่สหรัฐฯ มองว่า หัวเว่ยเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ

หลังจากนั้นที่ขึ้นบัญชีดำ กูเกิ้ล จำเป็นต้องทำตามคำสั่ง โดยประกาศยุติการทำธุรกิจกับหัวเว่ย โดย หัวเว่ยยังคงใช้ Android ในเวอร์ชั่น open source ได้ แต่จะโฆษณาโดยใช้ชื่อ Android ไม่ได้, ไม่มี service ของกูเกิ้ล หลังจากนั้นไม่นานทวิตเตอร์บัญชีของ Android ได้ทวีตข้อความ โดยระบุว่า ผู้ใช้ในรุ่นปัจจุบันยังคงใช้งาน Google service ได้

แต่นั่นเป็นเพียงผู้ใช้ที่ใช้หัวเว่ยในรุ่นปัจจุบัน ไม่ควบรวมถึงรุ่นใหม่ๆ แม้ว่า ตัวระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เอง จะเป็นสัญญาใช้แบบ Open Source แต่ตัวโลโก้ของแอนดรอยด์ที่เป็นเครื่องหมายการค้าเป็นของ Google นั่นทำให้แม้หัวเว่ยจะไม่สามารถโฆษณาว่าใช้ระบบแอนดรอยด์ หรือใช้รูปเจ้าหุ่นเขียวได้อีกต่อไป

อีกส่วนหนึ่งคือ ในบริการต่างๆ ของ Google เช่น Google Play, Google Map, Gmail ต่างๆ เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสิทธิของ Google โดยตรง ทำให้หากหัวเว่ยเลือกใช้ระบบแอนดรอยด์ในการพัฒนาต่อยอดใช้งานต่อ หัวเว่ย จำเป็นจะต้องพัฒนาอีโคซิสเต็มของระบบเองแทบทั้งหมด ซึ่งหากหัวเว่ยเลือกที่มองหาพันธมิตร แน่นอนว่า Tencent เอง น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ และดำเนินการได้เร็ว เพราะระบบของ Tencent เองนั้นมีค่อนข้างครบถ้วน

ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่ในจีน ไม่ได้รับผลกระทบนี้อย่างแน่นอน เนื่องจาก Google ไม่สามารถดำเนินการทำธุรกิจในจีนได้อยู่แล้ว ดังนั้นฐานลูกค้าในจีน จึงเรียกได้ว่า ไม่กระทบต่อหัวเว่ยอย่างแน่นอนแล้ว

ในทางกลับกัน ผู้ใช้งานหัวเว่ยที่อยู่นอกประเทศจีนต่างหาก ที่ส่งผลกระทบต่อหัวเว่ยอย่างแท้จริง เพราะผู้ใช้งานเหล่านี้ “เชื่อมั่น” ในระบบของ Google และยังพึ่งพาบริการต่างๆ ของ Google มากกว่า ดังนั้นจึงไม่ง่ายที่หัวเว่ย จะพัฒนา หรือหา พันธมิตรที่สร้างความเชื่อมั่นในบริการได้เท่ากับ Google

อินเทล, ควอนคอมม์, บอร์ดคอม ประสานเสียง งดส่งชิปให้หัวเว่ย

หลังจากที่ Google ประกาศยุติการทำธุรกิจกับหัวเว่ยแล้ว ก็มีกระแสข่าวจากภายในในบริษัทผลิตชิปยักษ์ใหญ่อย่าง Intel, Quancomm และ Broadcom ว่า จะยุติการส่งชิปที่ใช้ในส่วนประกอบสินค้าไอทีให้แก่หัวเว่ย

แน่นอนว่า สิ่งที่เกิดขึ้นดูจะไม่เหนือความคาดหมายของหัวเว่ยแต่อย่างใด แหล่งข่าวรายงานว่า หัวเว่ยเองได้ทำการสั่งซื้อสินค้าต่างๆ จากคู่ค้าในสหรัฐฯ มากขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นปี หลังจากที่สหรัฐฯ ส่งสัญญาณที่แข็งกร้าวต่อหัวเว่ย ซึ่งหัวเว่ยเองก็มีสินค้าที่สั่งไว้ล่วงหน้าที่คาดว่าจะพอใช้ในช่วง 3 เดือนถัดไปเป็นอย่างน้อย

ภาพบูธของหัวเว่ยในงาน Mobile World Congress 2019 ที่โชว์ศักยภาพของเทคโนโลยี 5G ในยุคหน้า

แต่สิ่งที่ดูจะส่งผลกระทบต่อหัวเว่ยมากสุด เห็นจะเป็น “สิทธิบัตร” ต่างๆ ที่ค่ายใหญ่เหล่านั้นถืออยู่ และหัวเว่ยใช้งานอยู่ โดยเฉพาะ Broadcom ซึ่งเป็นหนึ่งผู้ผลิตชิปสำหรับการใช้งานด้านการสื่อสาร และอุปกรณ์เน็ตเวิร์ค โดยสาเหตุที่จะกระทบหนักสุดนั้นมากจากในปัจจุบันนี้ กำลังเป็นจุดเปลี่ยนผ่านไปยังยุค 5G แล้ว ซึ่งหัวเว่ยเอง เรียกได้ว่า สามารถพัฒนาอยู่ในระดับที่มีความพร้อมในการผลิต และขึ้นเป็นเจ้าตลาด 5G แล้วนั่นเอง ซึ่งหากสหรัฐฯ ก้าวไปสู่ยุคถัดไป หัวเว่ยย่อมขึ้นแท่นเบอร์หนึ่งของโลก 5G ได้เหนือกว่า บริษัทในสหรัฐฯ ได้ไม่ยาก

นั่นจึงดูเป็นจุดที่จะกระทบต่อหัวเว่ยไม่น้อยทีเดียว

ทางการจีนโตกลับ “ชิปไม่มา แร่ไม่ไป”

หลังจากสหรัฐฯ ประกาศกร้าวออกมา ทางการจีนก็ได้ตอบโต้กลับด้วยท่าทีที่ค่อนข้างแข็งกร้าวว่า จะปกป้องหัวเว่ยด้วยขั้นตอนทางกฎหมาย ซึ่งไม่นานนัก ปธน. สีจิ้นผิง ของจีนก็ได้ให้สัมภาษณ์ถึงประเด็นนี้ว่า อาจจะไม่ส่งแรร์เอิร์ธ ให้กับสหรัฐฯ หากยังดำเนินมาตรการแบล็คลิสต์สินค้า-บริษัทของจีนเช่นนี้

หลังจากทางการจีนตอบโต้ จะไม่ส่งแรร์เอิร์ธ หรือแร่ที่ใช้ในการผลิตชิปให้ไม่นานนัก สหรัฐฯ ถอยหนึ่งก้าว โดยอนุญาตให้หัวเว่ยสั่งซื้อชิปได้ชั่วคราว 90วัน การถอยครั้งนี้ ดูจะเป็นการดีต่อทั้งสองฝ่าย หัวเว่ยและบ.ในสหรัฐฯ เพราะจะมีเวลาในการจัดการซัพพลายเชนของตัวเองได้ ซึ่งหัวเว่ยมีสต๊อกสินค้าไว้ล่วงหน้าได้ราว 3 เดือนแล้วก็ตาม ก็มีโอกาสทำสต็อกสินค้าเพิ่ม

แต่จริงๆ แล้ว มาตรการดังกล่าวดูเหมือนจะช่วย บริษัทผลิตชิปในสหรัฐฯมากกว่า เนื่องจากซีอีโอของหัวเว่ยได้ให้สัมภาษณ์ว่า การผ่อนปรนดังกล่าวไม่ได้ช่วยอะไรหัวเว่ยมากนัก เพราะมีสต็อกสินค้าไว้แล้ว

บริษัทผลิตชิปรายใหญ่ ในสหรัฐฯ จะเป็นจะต้องเร่งจัดการปัญหา โดยการหาแหล่งแร่ใหม่ ทดแทนการนำเข้าจากจีน ซึ่งแน่นอนว่า แหล่งแร่อย่างในแคนาดามีราคาแพงกว่าการสั่งซื้อจากจีน อยู่มากทีเดียว ดังนั้นระยะเวลา 90 วันดูจะเป็นระยะเวลาให้บริษัทในสหรัฐฯ สามารถวิ่งหาแหล่งแร่ราคาถูกได้ ในประเทศอื่นนั่นเอง

อนาคตจะเกิดอะไรขึ้น หากสหรัฐ-จีน ยังแข็งกร้าวต่อกัน

ผลกระทบในระยะแรก เห็นจะปฏิเสธไม่ได้ว่า หัวเว่ยและอีกหลายบริษัทในจีนอาจจะต้องเสียเงินเพิ่มในการวิจัย ค้นคว้า และสร้างระบบตัวเอง แม้ว่าหัวเว่ยเองจะมีแผนสำรองอยู่แล้วแต่การมาของมาตรการในครั้งนี้เร็วกว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้พอสมควร ซึ่งนั่นทำให้การพัฒนาระบบปฏิบัติการบนมือถือ, ระบบจัดการแอปฯ ต่างๆ ที่มาทดแทน Google Play, Google Service ต่างๆ นั้นต้องทำอย่างเร่งด่วนมากขึ้นเยอะ

หนึ่งในศูนย์ R&D ของหัวเว่ย ใน Shezhen Campus (ภาพจากเว็บไซต์หัวเว่ย)

ซึ่งในแง่ของตัวระบบเอง การพัฒนาหรือสร้างขึ้นใหม่นั้น ไม่ยากเท่ากับการสร้างความน่าเชื่อถือให้ผู้ใช้หันมาใช้งาน ที่ต้องใช้เวลามากทีเดียว ในยุคสังคมไร้เงินสดที่กำลังจะก้าวมาถึงในอนาคตอันใกล้นี้

นอกจากตลาดมือถือแล้ว ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว การขึ้นแท่นเป็นเจ้าตลาด 5G ของหัวเว่ยดูจะเป็นอีกหนึ่งอย่างที่จะได้รับผลกระทบอย่างยิ่ง ในยุคที่กำลังจะเปลี่ยนผ่านจาก 3G – 4G ไปสู่ยุคหน้า ที่หัวเว่ยนั้นสามารถพัฒนา ค้นคว้า และนำหน้าบริษัทในสหรัฐฯ อยู่ก้าวหนึ่ง การสะดุดในครั้งนี้ ไม่ใช่แค่การสะดุดในแง่ของการไม่ได้รับชิป-การพัฒนาชิป แต่ยังพ่วงไปถึงสิทธิบัตรที่หัวเว่ยใช้อยู่อีกด้วยนั่นเอง ซึ่งงานนี้ ก็ไม่ใช่งานง่ายแต่อย่างใด

ภาพจากเว็บไซต์ หัวเว่ยในงาน Mobile World Congress 2019 ที่หัวเว่ยได้เปิดบูธโชว์ศักยภาพเทคโนโลยี 5G

แต่แม้ว่า บริษัทไอทีของจีน ใช้สิทธิบัตรเทคโนโลยีของสหรัฐฯ อยู่ไม่น้อย แต่ในระยะยาว หากบริษัทในจีนสามารถพัฒนา คิด-ต่อยอดจากสิ่งที่เป็นอยู่ได้ และมีเทคโนโลยีเป็นของตัวเองเมื่อไหร่ นั่นย่อมจะเป็นจุดได้เปรียบอย่างมาก เพราะปัจจุบันจีนพัฒนาด้านไอทีพัฒนาล้ำหน้าสหรัฐฯ ไปแล้วในหลายๆ เรื่องทีเดียว

ในแง่ตลาดไอที กระทบราคา เช่น สินค้าของแอปเปิ้ล ที่มีสายการผลิตในจีน เพราะการย้ายสายพานการผลิตไปยังสหรัฐฯ ไม่ง่าย และค่าแรงก็สูงกว่ามาก เราจึงอาจจะได้เห็นไอโฟนรุ่นถูกที่สุด ราคาเกินครึ่งแสน หรือชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่แพงขึ้นนั่นเอง

ดังนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ อาจจะเรียกได้ว่า ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น จึงคงต้องกล่าวทิ้งท้ายเหมือนตอนต้นว่า “#สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร”

…………..

รู้จัก Android Open Source Project

ระบบปฏิบัติการมือถือแอนดรอยด์ที่หลายคนคุ้นเคยและรู้จักกันนั้น ตัวของระบบปฏิบัติการเองเป็นระบบเปิด หรือที่เรียกว่า Open source โดยเปิดให้ใครก็ได้สามารถนำซอร์สโค้ดของระบบแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อยอด ใช้งานเองได้ โดยอิสระ

ผู้ให้กำเนิดระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ คือ Andy Rubin ได้พัฒนาระบบปฏิบัติการบนมือถือขึ้นมาโดยแต่เดิมนั้น ระบบจะมีระบบปฏิบัติการ Symbian ที่กินส่วนแบ่งตลาดใหญ่อยู่แล้ว ซึ่งหลายคนจะคุ้นเคยกับซิมเบี้ยนผ่านมือถือของดังอย่าง ค่ายโนเกีย อีริคสัน เป็นต้น ส่วนระบบปฏิบัติการอีกตัวหนึ่งคือ Windows Mobile ที่เป็นของไมโครซอฟท์

ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่างบนระบบของซิมเบี้ยน และวินโดว์โมบาย ทำให้ระบบแอนดรอยด์ได้รับความสนใจอย่างมาก ในความสามารถที่จะพัฒนาต่อยอดได้อีกมากมาย ทำให้ปี 2005 กูเกิ้ลได้ตัดสินใจเข้าซื้อกิจการ Android Inc.

แม้ว่า กูเกิ้ลจะเข้าซื้อกิจการของแอนดรอยด์แล้ว แต่ด้วยระบบนั้นถูกพัฒนาจากพื้นฐานของ Linux และ Open source อื่นๆ ทำให้ระบบหลักของแอนดรอยด์ ยังคงอยู่ในรูปแบบของ Open Source อยู่ตาม Apache License และเป็นที่รู้จักกันในเชื่อ Android Open Source Project (AOSP)

ด้วยความเป็น Open Source จึงทำให้ที่ผ่านมานั้นมีหลายค่ายที่เลือกใช้ระบบแอนดรอยด์ไปใช้งานอยู่แล้ว เช่น Amazon ที่เลือกใช้ระบบของแอนดรอยด์เป็นพื้นฐาน นำไปพัฒนาต่อยอดเป็น Fire OS เพื่อใช้ใน Fire Phone, Kindle Fire หรือแม้แต่ใน Fire TV ของ Amazon เอง

Nokia X Plaform จากค่ายเก่าแก่อย่างโนเกียเอง ก็มีพื้นฐานมาจาก Andorid เช่นกันโดยพัฒนาร่วมกับระบบของโนเกีย และไมโครซอฟท์ ออกมาเป็นระบบของตัวเองด้วยนั่นเอง หรืออย่างค่าย Cyanogen Mod ที่ใช้ระบบพื้นฐานของแอนดรอยด์มาพัฒนาต่อยอด จากเป็น Rom ยอดนิยม ที่ถูกพัฒนา-โมดิฟอย และเปิดโหลดไปลงในมือถือใช้กันได้อย่างเสรี ก่อนแตกทีมกันไปทำ LineageOS ก็ล้วนแล้วแต่มาจากพื้นฐานของ AOSP ทั้งสิ้น

ยังไม่นับอุปกรณ์อื่นๆ ที่เราคุ้นเคยกันอย่างเช่น แอนดรอยด์บ็อกต่างๆ ล้วนแล้วแต่ใช้พื้นฐานจากระบบปฏิบัติการนี้แทบทั้งสิ้น

แล้วกูเกิ้ลได้อะไรจากแอนดรอยด์?

ซึ่งจากการที่แอนดรอยด์ เป็นระบบเปิดตาม apache license ตัวของกูเกิ้ลเองนั้นหารายได้จากการขายสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้า โลโก้ของ android รูปหุ่นเขียว และรวมไปถึง Google service ที่พ่วงกันมาเช่น Gmail, Google map, Youtube เป็นต้น

17 แรร์เอิร์ธ – กลุ่มแร่ที่มีค่ามากกว่าทอง!

สำหรับหลายคนอาจจะมองว่า แร่ทองคำ เป็นสิ่งที่มีค่าที่ใกล้ตัวมากที่สุด ที่จับต้องได้ แต่ในกลุ่มธุรกิจไอที เทคโนโลยี กลุ่มแร่แรร์เอิร์ธ คือสิ่งที่มีค่ามากกว่าทอง เพราะถูกใช้ผลิตกันในสินค้าไอทีรอบตัวเราแทบทั้งสิ้น กลุ่มผู้ส่งออกแรร์เอิร์ธรายใหญ่ๆ จะเป็น จีนและกลุ่มประเทศในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกลุ่มนี้กินส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 70% ของทั้งโลก

โดยมีอยู่ 17 ธาตุด้วยกันคือ

  1. Scandium (Sc) – ใช้ในสินค้าทั่วไปอย่างทีวี, หลอดฟลูออเรสเซนต์, หรือโคมไฟ พบมากในแถบสแกนดิเนเวีย และมาดากัสการ์
  2. Yttrium (Y) – ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเซมิคอนดักเตอร, เลเซอร์
  3. Lanthanum (La) – ใช้ในการสร้างชิ้นเลนส์ต่างๆ
  4. Cerium (Ce) – ถูกใช้ในหลายอุตสาหกรรม นิยมใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์
  5. Praseodymium (Pr) –
  6. Neodymium (Nd)
  7. Promethium (Pm)
  8. Samarium (Sm)
  9. Europium (Eu)
  10. Gadolinium (Gd)
  11. Terbium (Tb)
  12. Dysprosium (Dy)
  13. Holmium (Ho)
  14. Erbium (Er)
  15. Thulium (Tm)
  16. Ytterbium (Yb)
  17. Lutetium (Lu)