GSP สหรัฐอเมริกา สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร ไทย

สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์ GSP สินค้าไทย – อธิบดีฯ แถลงแจงเหตุ

สหรัฐฯ ประกาศตัด GSP หรือ สิทธิพิเศษทางภาษีศุกากร สินค้าไทยราว 200 รายการ

Home / NEWS / สหรัฐฯ ตัดสิทธิ์ GSP สินค้าไทย – อธิบดีฯ แถลงแจงเหตุ

ประเด็นน่าสนใจ

  • สหรัฐฯ ระงับสิทธิ GSP ของไทย 231 รายการ โดยระบุว่า ไทยไม่ได้เปิดการค้ากับสหรัฐฯ อย่างเท่าเทียม-สมเหตุสมผล
  • อธิบดี ยืนยัน จาก 231 ราย มีสินค้าที่ไทยส่งออกไปเพียง 147 รายเท่านั้น
  • ผลกระทบจึงไม่ได้มากอย่างที่คาด เพราะไทยก็ยังส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้เช่นเดิม เพียงแต่ไม่ได้สิทธิทางภาษีเท่านั้น
  • ทางแก้ได้เตรียมหาตลาดใหม่ให้แล้ว ซึ่งจากการโดนตัดสิทธิ GSP เมื่อเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา ก็พบว่า สินค้าหลายชนิดของไทยที่ถูกตัดสิทธิก็สามารถเปิดตลาดใหม่ ๆ ได้ไม่ยาก และผลกระทบก็ไม่ได้สูงอย่างที่คาดเช่นกัน

ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศตัด GSP หรือ สิทธิพิเศษทางภาษีศุกกากร กับสินค้าไทยบางรายการของไทย รวมแล้วราว 200 รายการ โดยทรัมป์ ระบุว่า ในการเจรจากับไทยเกี่ยวกับการให้สินค้าสหรัฐฯ นำเข้าประเทศไทย พบว่า ไทยไม่ได้เปิดโอกาสให้สหรัฐฯ เข้าถึงตลาดการค้าของไทยอย่างสมเหตุสมผล จึงเป็นสาเหตุให้ต้องมีการดำเนินการระงับสิทธิ GSP ของสินค้าไทยบางรายการ

| ดูรายการสินค้าไทยที่ถูกระงับสิทธิ์ GSP ในครั้งนี้ >>>

โดยการตัดสิทธิในครั้งนี้ มาจากปัญหาการที่ไทยไม่ยอมเปิดตลาดเนื้อหมู และเครื่องในจากสหรัฐฯ ให้มีการนำเข้ามา โดยทางการไทยยืนยันว่า เนื้อหมูในสหรัฐฯ นั้นมีการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่างแรคโตพามีน ซึ่งในประเทศไทยการใช้สารเร่งเนื้อแดงอย่าง แรคโตพามีน นั้นเป็นสารเคมีอันตราย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ในการห้ามไม่ให้มีสารเร่งเนื้อแดงดังกล่าวตกค้างในเนื้อสัตว์ และเครื่องใน และประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

ในการตัดสิทธิ GSP ในครั้งนี้ มีสินค้าไทยราว 200 รายการที่ถูกตัดสิทธิ และก่อนหน้าเมื่อช่วงเดือน เมษายน ที่ผ่านมาก็มีการตัดสิทธิ GSP สินค้าไทยไปแล้วราวกว่า 500 รายการ จึงจะเหลือรายการสินค้าที่ไทย จะส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ไม่ถึง 500 รายการ จากที่ไทยได้มีใช้สิทธิอยู่ 1,100 รายการ ( สหรัฐฯ เปิด GSP สินค้าให้กับหลายประเทศ รวมแล้ว 3,500 รายการ)

ซึ่งเมื่อคิดเป็นมูลค่าภาษีศุลกากรที่จะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ไทยยังคงสามารถส่งออกสินค้าได้ปรกติ

อธิบดี กรมการค้าต่างประเทศแถลง

นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้แถลงถึงประเด็นนี้ว่า ในการตัดสิทธิ GSP ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นการตัดสิทธิแบบรายสินค้า ไม่ได้เป็นการตัดสินประเทศ ซึ่งได้มีการตัดสิทธิจำนวน 231 รายการ

โดยจากสินค้าที่ประเทศไทยส่งออกไป และใช้สิทธิอยู่นั้นราว 1,100 รายการ จากทั้งหมด 3,500 รายการ

เมื่อปี 2562 นั้นประเทศไทยโดนตัดสิทธิ์ไป 573 รายการ แต่เป็นสินค้าที่ไทยได้ส่งออกไปสหรัฐฯ จริง ๆ ไทยใช้อยู่ราว 350 กว่ารายการเท่านั้น ซึ่งโดนตัดสิทธิไปเมื่อเมษายน 2563 ที่ผ่านมา สาเหตุมาจากเรื่องของสิทธิแรงงาน

ส่วนในครั้งนี้เราโดนตัดสิทธิ์ 231 รายการ ซึ่งที่ประเทศไทยมีการใช้สิทธิจริง ๆ นั้นมีเพียง 147 รายการ ซึ่งมูลค่าความเสียหาย จึงต้องประมาณการจาก 147 รายการ ซึ่งนับมูลค่าผลกระทบที่เกิดขึ้นราว 19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราวเกือบ ๆ 600 ล้านบาทเท่านั้น

ส่วนสินค้าที่ถูกตัดสิทธินั้น ก็ยังส่งไปยังสหรัฐฯ ได้ตามปรกติ แต่จะไม่ได้สิทธิทางภาษีแล้ว โดยมีกลุ่มสินค้าเช่น อะไหล่ยานยนต์, กรอบแว่นตา, เคมีภัณฑ์, ที่นอน-ฟูกต่าง ๆ เป็นต้น

สำหรับผลกระทบในส่วนหนึ่งเมื่อไทยไม่ได้สิทธิทางการภาษี ก็จะทำให้ต้นทุนสินค้าของไทย ที่ขายในสหรัฐฯ มีราคาสูงขึ้น แพงขึ้น ดังนั้นสินค้าไทยที่มีคุณภาพสูงอยู่แล้ว ก็ยังคงสามารถจำหน่ายได้ แต่ทางกรมการค้าต่างประเทศ ก็ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้แล้ว คือ

  • เตรียมเงินกู้ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน
  • เร่งเปิดตลาดใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เช่น Visual Trade show, Online matching การค้าใหม่ ๆ
  • อำนวยความสะดวกทางการค้า ค่าธรรมเนียมนำเข้า-ส่งออกเพิ่มเติม
  • ในระยะวางแผนในการพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าของไทย ให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ เพื่อไม่ต้องพึ่งพาสิทธิทางภาษี

โดยก่อนหน้านี้ ที่โดนตัดสิทธิไปเมื่อช่วงเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา จำนวน 300 กว่ารายการ มีผลกระทบให้อัตราการส่งไปยังสหรัฐฯ ลดลงราว 10% แต่ต้องเข้าใจว่า ในขณะนี้สหรัฐฯ มีปัญหาของโควิด-19 อยู่ด้วย ดังนั้นผลกระทบจึงไม่ได้เยอะอย่างที่คาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ สินค้าในกลุ่มสินค้าสูงออกไปสหรัฐฯ สูงสุด 20 อันแรก มีจำนวน 10 ประเภท สามารถขายได้เพิ่มขึ้น ส่วนที่เหลือ 10กว่ารายการ ก็สามารถส่งออกไปที่ประเทศอื่นได้เพิ่มขึ้นแทน

ส่วนที่โดนตัดใหม่ในวันนี้นั้น บางส่วนเป็นที่โดนตัดเช่น ผลไม้แช่แข็ง ซึ่งไทยก็ส่งผลไม้สดเป็นหลักอยู่แล้ว ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้น จึงไม่ต้องอยากให้ตกใจ ซึ่งทางกรมการค้าต่างประเทศได้ดูแลในส่วนนี้อยู่


เกี่ยวกับสารแรคโตพามีน

สำหรับสารเร่งเนื้อแดง สารแรคโตพามีน พบว่า การบริโภคเนื้อสัตว์ หรือเครื่องในใช้สารดังกล่าว จะมีสารบางส่วนตกค้างอยู่ในเนื้อสัตว์ ในเครืองในและเลือด

โดยหากได้รับสารนี้ในปริมาณมาก จะทำให้มีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกลุ่มเสี่ยงเช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคเลือด และโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนทั่วไป

นอกจากนี้ คนไทยมีอันตราการบริโภคเครื่องใน ค่อนข้างสูง ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในกลุ่มนี้อีกด้วย