ข่าวภูมิภาค เม็ดมะขาม เม็ดมะขามติดคอ เม็ดมะขามติดหลอดลม

รพ.พระนั่งเกล้า เผยการรักษาเด็กที่เม็ดมะขามติดหลอดลม เป็นไปตามมาตรฐาน

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แถลงข่าวกรณี น้องทับทิมวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากเม็ดมะขามติดหลอดลม ชี้ขั้นตอนการรักษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานทั้งหมด เผยเป็นเคสที่ยากเพราะหลอดลมเด็ก 2 ขวบมีขนาดเล็ก ไม่สามารถนำอุปกรณ์เข้าไปคีบเม็ดมะขามออกมาได้ เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 15 มี.ค.62…

Home / NEWS / รพ.พระนั่งเกล้า เผยการรักษาเด็กที่เม็ดมะขามติดหลอดลม เป็นไปตามมาตรฐาน

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า แถลงข่าวกรณี น้องทับทิมวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากเม็ดมะขามติดหลอดลม ชี้ขั้นตอนการรักษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานทั้งหมด เผยเป็นเคสที่ยากเพราะหลอดลมเด็ก 2 ขวบมีขนาดเล็ก ไม่สามารถนำอุปกรณ์เข้าไปคีบเม็ดมะขามออกมาได้

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 15 มี.ค.62 ที่ห้องประชุมชั้น 8 โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า อ.เมือง จ.นนทบุรี นพ.สกล สุขพรหม รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ รพ.พระนั่งเกล้า และ พญ.วรียา สุรารักษ์ หัวหน้ากลุ่มงาน หู คอ จมูก รพ.พระนั่งเกล้า ได้แถลงข่าวกรณี น้องทับทิมวัย 2 ขวบเสียชีวิตจากเม็ดมะขามติดหลอดลม ทำให้พ่อและแม่ต้องโรงพยาบาลรักษาช้าจนลูกเสียชีวิต ทางโรงพยาบาลจึงชี้แจงข้อเท็จจริงในขั้นตอนการรักษาว่าเป็นไปตามมาตรฐานทั้งหมด

จากการตรวจสอบในวันแรกที่เด็กมาถึงโรงพยาบาล จากการเอ็กซเรย์ไม่พบว่ามีสิ่งแปลกปลอมในหลอดลม แต่เด็กมีอาการหายใจติดขัด จึงได้นำตัวเข้าห้องผ่าตัดส่องกล้อง พบว่าเม็ดมะขามติดอยูตรงปลายสุดของหลอดลม ซึ่งเป็นทางแยกของหลอดลมไปปอดซ้ายและขวา จึงเกรงว่าถ้าใช้อุปกรณ์คีบออกอาจทำให้เม็ดมะขามที่ลื่นเคลื่อนตัวไปอุดตรงทางแยก เด็กอาจหายใจไม่ออกและอาจเสียชีวิตทันที

จึงได้มีการประสานไปทางโรงพยาบาลศิริราช แต่เนื่องจากเป็นเวลากลางคืน ที่ รพ.ศิริราช มีเฉพาะแพทย์เวร และช่วงระหว่างการเดินทางอาจทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินเป็นอันตรายแก่เด็ก จึงรอให้เช้าก่อนจึงจะทำการส่งตัวแต่เด็กมาเสียชีวิตเสียก่อน เคสนี้เป็นเคสที่ยากเพราะหลอดลมเด็ก 2 ขวบมีขนาดเล็ก ไม่สามารถนำอุปกรณ์เข้าไปคีบเม็ดมะขามออกมาได้


วิธีการปฐมพยาบาล เมื่อสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร

ถ้าเป็นก้างปลาเล็กๆ ให้กลืนน้ำอึกใหญ่ ข้าวเหนียวเป็นก้อน ไม่ต้องเคี้ยว ขนมปังปอนต์ หรือขนมสาลี สิ่งแปลกปลอมอาจจะหลุดไปเองได้

ถ้าไม่ออก อย่าพยายามเขี่ยหรือดึงออก

ถ้าเป็นเด็กเล็กๆ ให้ผู้ปฐมพยาบาลรีบจับลำตัวคว่ำ ห้อยศีรษะลงต่ำแล้วตบกลางหลังแรงๆ เพื่อให้ไอออกมา

ถ้าเป็นเด็กโตหรือผู้ใหญ่ ให้ยืนก้มตัวลงมากๆ ให้ห้อยหัวลง ผู้ปฐมพยาบาลเข้าข้างหลังใช้แขนซ้ายสอดรั้งเอวไว้ ใช้มือขวาตบกลางหลังแรงๆ อาจไอออกมาได้ หรือให้นอนคว่ำหรือตะแคงศีรษะต่ำ ผู้ปฐมพยาบาลตบหลังผู้ป่วยระหว่างไหล่ทั้งสองข้างให้แรงพอสมควร ถ้ายังติดอยู่หรือติดอยู่ลึก ให้รีบพาผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

ถ้ามีการหายใจขัด หรือหยุดหายใจให้ช่วยหายใจก่อน แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

การปฐมพยาบาลก็เพื่อลดความรุนแรงของการบาดเจ็บ ดังนั้นการช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างรวดเร็วและถูกวิธีจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากพบปฐมพยาบาลแล้วผู้ป่วยยังไม่มีอาการที่ดีขึ้น ไม่ควรรีรอ รีบนำส่งแพทย์โดยทันที