กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ พายุฤดูร้อน

อุตุฯ ชี้ไทยตอนบนร้อน เหนือตอนล่าง-กลาง รับมือพายุฤดูร้อน 18-19 มี.ค.นี้

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนเหนือตอนล่างและกลาง เตรียมรับมือฤดูร้อน 18-19 มี.ค.นี้ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฟ้าคะนอง 10% วันนี้(17 มี.ค.…

Home / NEWS / อุตุฯ ชี้ไทยตอนบนร้อน เหนือตอนล่าง-กลาง รับมือพายุฤดูร้อน 18-19 มี.ค.นี้

กรมอุตุฯ เผยไทยตอนบนอากาศร้อน เตือนเหนือตอนล่างและกลาง เตรียมรับมือฤดูร้อน 18-19 มี.ค.นี้ โดยมีลักษณะพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ฟ้าคะนอง 10%

วันนี้(17 มี.ค. 62) กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน โดยจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ควรอยู่ห่างจากต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้าง ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง สำหรับเกษตรกรควรระวังและป้องกันความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย

ทั้งนี้ ในช่วงวันที่ 18-19 มีนาคม 2562 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพื้นที่เกิดพายุฤดูร้อนเพิ่มมากขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส

พยากรณ์อากาศวันนี้ ถึง 06:00 วันพรุ่งนี้.

ภาคเหนือ

มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงกับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์  อุณหภูมิต่ำสุด 18-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ และลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

มีเมฆบางส่วน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

มีเมฆบางส่วน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดกระบี่ ตรัง และสตูล
อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

สำหรับพายุฤดูร้อน

พายุฤดูร้อนเป็นพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดในช่วงการเปลี่ยนฤดูจากฤดูหนาวไปสู่ฤดูร้อน และช่วงก่อนเริ่มต้นฤดูฝน พายุนี้ เป็นพายุประจำถิ่น ที่มักเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน เมื่ออากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู มีความชื้นสูงและร้อน ในขณะที่ความกดอากาศสูงก็ยังคงแผ่ลงมาเป็นครั้งคราว นำอากาศที่แห้งและเย็นกว่ามาผสมผสาน ทำให้เกิดมวลอากาศ ที่อเสถียรภาพ มีการแลกเปลี่ยนมวลกันในแนวดิ่ง เกิดการยกตัวของมวลอากาศอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ในบางครั้งทำให้เกิดลูกเห็บตก ทำความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ๆ ได้

พายุฤดูร้อนมักเกิดในเดือนมีนาคม เมษายน และต้นเดือนพฤษภาคม ก่อนเริ่มต้นฤดูฝน แผ่นดินได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี ทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น กระแสลมในช่วงนี้ พัดเข้าสู่ประเทศไทยจากทางตอนใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ คือ จากทางด้านอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ หากในเวลาเดียวกัน มีลมฝ่ายเหนือพัดผ่านมาจากประเทศจีน ทำให้กระแสลมซึ่งมีมวลอากาศที่มีคุณสมบัติต่างกัน คือ กระแสลมใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอากาศร้อนและชื้นพัดผ่านทะเลมา และกระแสลมเหนือเป็นอากาศแห้งและเย็นพัดผ่านพื้นทวีปมา จะทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงได้เป็นแห่งๆ บางโอกาสจะมีลมพัดแรงเป็นเวลา ๑๐ – ๑๕ นาที หรืออาจนานกว่านั้นก็ได้ และมีลมกระโชกเป็นครั้งคราว โดยอาจมีกำลังแรงถึง ๔๐ นอต หรือ ๗๕ กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้เกิดความเสียหายได้ แต่เกิดในบริเวณไม่กว้างนัก คือ ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ ๒๐ – ๓๐ ตารางกิโลเมตร พายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ประมาณ ๓๐ – ๔๐ นาที ถึง ๒ – ๓ ชั่วโมง