สรุปสถานการณ์ไวรัสโคโรน่า 2019
📍 สถานการณ์ในประเทศไทย
- เพิ่ม ผู้ป่วยยืนยันวันนี้ 2 ราย เป็นผู้ป่วยยืนยัน (รายที่ 3,041 – 3,042 ราย)
- ประเทศไทย อยู่อันดับที่ 76 ของโลก +1 อันดับ
🔵 ผู้ป่วยหายกลับบ้าน 7 ราย
⚫️ ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย
▪️ ผู้เสียชีวิตเป็นหญิงไทย อายุ 68 ปี มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้
- วันที่ 29 มี.ค. 2563 เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ชุมพร มีอาการไข้หอบเหนื่อย จะย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤติห้องความดันลบ พร้อมเก็บตัวอย่างส่งตัวหาเชื้อไวรัสโควิด-19
- วันที่ 14 เม.ย. 2563 ยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อมาอาการแย่ลงใส่เครื่องช่วยหายใจ อาการไม่ดีขึ้น
- วันที่ 24 พ.ค. 2563 เสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
📍 ผู้ป่วยยืนยันวันนี้ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
🔸 กลุ่มที่ 1 ผู้สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้านี้ (จำนวน 1 ราย)
- เป็นผู้ป่วยหญิง สัญชาติจีน อายุ 46 ปี เป็นภรรยาของผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า สัญชาติอิตาลี
- วันที่ 9 มี.ค. 2563 ได้เข้ามาใน จ.ภูเก็ต พร้อมครอบครัว 5 คน เพื่อพาลูกเรียนว่ายน้ำ
- วันที่ 30 มี.ค. 2563 ย้ายมาพักที่ ต.เชิงทะเล เนื่องจากกลับประเทศไม่ได้
- วันที่ 24 พ.ค. 2563 ตรวจพบเชื้อ (ไม่มีอาการ)
🔸 กลุ่มที่ 2 ผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ เข้าสถานกักกันของรัฐ (จำนวน 1 ราย)
- เป็นผู้ป่วยหญิง อายุ 55 ปี อาชีพพนักงานนวด
- วันที่ 20 พ.ค. 2563 เดินทางกลับมาจากประเทศรัสเซีย และเข้าพักสถานกักกันที่ จ.ชลบุรี
- วันที่ 24 พ.ค. 2563 ตรวจพบเชื้อ (ไม่มีอาการ)
🔹 รวมผู้ป่วยหายกลับบ้าน 2,928 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 57 ราย
🔹 รวมผู้ป่วยเสียชีวิต 57 ราย
🔹 ผู้ป่วยสะสม 3,042 ราย
🔹 อยู่ในศูนย์กักกัน 65 ราย
🔹 อยู่ในสถานกักกันของรัฐ State Quarantine 105 ราย
📍 ไทม์ไลน์! ผู้ป่วยชายไทย อายุ 72 ปี สวมหน้ากากตลอด (เคสร้านตัดผม)
โอกาสรับเชื้อแล้วป่วย ระยะฟักตัว 2-14 วัน
ข้อมูล : ทีมสอบสวนโรค กรมควบคุมโรค สธ.
- ** วันที่ 30 เม.ย. 63 : ไปรับยาเคมีบำบัดที่ รพ.รัฐแห่งที่ 1
- วันที่ 7 พ.ค. 63 : ไปทำ Bone Scan รพ.รัฐแห่งที่ 2
- วันที่ 8 พ.ค. 63 : ไปรับผล Bone Scan รพ.รัฐแห่งที่ 2 นำผลไปให้แพทย์ที่รพ.รัฐแห่งหนึ่ง (ใช้เวลา 5 นาที)
- วันที่ 12 พ.ค. 63 : ไปเจาะเลือดที่ รพ.รัฐแห่งหนึ่ง (ใช้เวลา 10 นาที)
- ** วันที่ 14 พ.ค. 63 : ไปทำ CT ที่รพ.รัฐแห่งที่ 1 แผนกไอแมค ใช้เวลา 1 ชั่วโมง (สวมหน้ากาก ยกเว้นช่วงดื่ม Contrast ประมาณ 5 นาที)
- วันที่ 15 พ.ค. 63 : ไปตลาดแห่งหนึ่งใน จ.นนทบุรี (ทางโฆษกศบค.ไม่ได้บอกชื่อตลาด)
- วันที่ 16 พ.ค. 63 : ไปตรวจที่ รพ.เอกชนแห่งที่ 1 ช่วงเช้า
- วันที่ 17 พ.ค. 63 : เริ่มมีอาการหนาวสั่น อ่อนเพลีย
- วันที่ 18 พ.ค. 63 : เข้าตรวจรับยา รพ.เอกชนแห่งที่ 1 แล้วรับประทานอาหารร้านแห่งหนึ่ง ไปร้านตัดผม ช่วงบ่ายเข้าตรวจที่ รพ.เอกชนแห่งที่ 1 ต่อมาเวลา 23.30 น. เริ่มมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอ เรียกรถพยาบาล รพ.เอกชนแห่งที่ 2 รับที่บ้าน
- วันที่ 20 พ.ค. 63 : ย้ายไปรับการรักษาที่ศูนย์การแพทย์จักรีนฤบดินทร์
▪️ ไทม์ไลน์! ร้านตัดผม ย่านประชาชื่น ที่ผู้ป่วยไปตัดในวันที่ 18 พ.ค. 2563
- ร้านเป็นห้องแอร์มีพนักงานให้บริการ จำนวน 8 คน
- ก่อนตัดผมมีการคัดกรองลูกค้าเข้าร้าน “วัดอุณหภูมิร่างกาย” “ล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล” “จดบันทึกชื่อและเบอร์โทร”
- ภายในร้านมีตั้งจุดเจลล้างมือ
- พนักงานสวมหน้ากากอนามัย และ Face Shield ตลอดเวลา
- จัดเก้าอี้ตัดผมห่างกัน 1.5 เมตร
- ลูกค้าเข้ารับบริการได้มากที่สุด 3 คน (ไม่มีลูกค้านั่งรอภายในร้าน)
▪️ ไทม์ไลน์! ร้านอาหาร ที่ผู้ป่วยไปในวันที่ 18 พ.ค. 2563
- ร้านอาหารเปิดแอร์ มีการจัดโต๊ะห่างกันมากกว่า 1 เมตร
- ภายในร้านมีจุดบริการล้างมือ
- มีการทำความสะอาดพื้น โต๊ะ ก่อนและหลังให้บริการลูกค้า
- พนักงาน สวมหน้ากากอนามัย
📍 เที่ยวบินนำคนไทยที่ตกค้างกลับไทย
▪️ วันที่ 25 พ.ค. 2563
- ศรีลังกา / มัลดีฟส์ Q2-9350 สุวรรณภูมิ เวลา 15.15 น. คนทำงาน แรงงาน จำนวน 78 คน
- ญี่ปุ่น (โตเกียว) NH847 สุวรรณภูมิ เวลา 15.30 น. ผู้ป่วย คนไทยตกค้าง จำนวน 50 คน
- ญี่ปุ่น (โตเกียว) JL031 สุวรรณภูมิ เวลา 15.40 น. ผู้ป่วย คนไทยตกค้าง จำนวน 88 คน
- ญี่ปุ่น (โตเกียว) TG643 สุวรรณภูมิ เวลา 16.30 น. นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน จำนวน 29 คน
- เกาหลีใต้ (โซล) KE651 สุวรรณภูมิ เวลา 21.45 น. คนหมดวีซ่า หมดสัญญาจ้าง จำนวน 150 คน
▪️ วันที่ 26 พ.ค. 2563
- อิตาลี (โรม) TG8083 สุวรรณภูมิ เวลา 07.35 น. คนไทยตกค้าง จำนวน 50 คน
- มาเลเซีย (กัวลาลัมเปอร์) WE8104 สุวรรณภูมิ เวลา 13.40 น. คนไทยตกค้าง จำนวน 150 คน
- ญี่ปุ่น (โตเกียว) JL031 สุวรรณภูมิ เวลา 15.40 น. คนไทยตกค้าง จำนวน 35 คน
- ไต้หวัน (ไทเป) WE8095 สุวรรณภูมิ เวลา 17.05 น. คนไทยตกค้าง คนทำงาน จำนวน 165 คน
🌍 สถานการณ์ทั่วโลก
▪️ ผู้ป่วยสะสมทั่วโลก : 5,498,577 ราย +94,598 ราย
▪️ ผู้ป่วยอาการหนักทั่วโลก : 53,223 ราย -339 ราย
▪️ รักษาหายทั่วโลก : 2,301,410 ราย +54,774 ราย
▪️ เสียชีวิตทั่วโลก : 346,688 ราย +2,713 ราย
🌍 10 อันดับ ประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยสะสม
- สหรัฐอเมริกา : 1,686,436 ราย
- บราซิล 363,618 ราย
- รัสเซีย 344,481 ราย
- สเปน 282,852 ราย
- อังกฤษ 259,559 ราย
- อิตาลี 229,858 ราย
- ฝรั่งเศส 182,584 ราย
- เยอรมนี 180,328 ราย
- ตุรกี 156,827 ราย
- อิหร่าน 138,536 ราย
** อันดับที่ 76 ประเทศไทย 3,042 ราย